ข่าวสารและความเคลื่อนไหว

Highlights

เพิ่มมูลค่าเยื่อยูคาลิปตัส วัสดุทดแทนพลาสติก ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม

นิสิตปริญญาโท วิศวฯ จุฬาฯ วิจัยแปรเซลลูโลสเยื่อยูคาลิปตัสเป็นวัสดุทดแทนพลาสติก ลดต้นทุน เพิ่มคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อ หวังต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2565 ไขรหัสพันธุกรรมเชื้อดื้อยาในสัตว์ สู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

อาจารย์สัตวแพทย์ จุฬาฯ “นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 2565” เผยรหัสพันธุกรรม เชื้อดื้อยาในสัตว์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม  แนะวิธีแก้ปัญหาอย่างครอบคลุมภายใต้แนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว”

ศิลป์สนุกกับ “History of Art การเดินทางของศิลปะ” สื่อการสอน รางวัลนวัตกรรมดีเด่น ผลงานอาจารย์สาธิตจุฬาฯ

อาจารย์สาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม สร้างสรรค์ “History of Art การเดินทางของศิลปะ” นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ศิลป์ สำหรับนักเรียนระดับประถม ตอบโจทย์ทุกแนวการเรียนรู้ ทั้งอ่าน ฟัง ทำ เล่น ให้เด็กสนุกเต็มที่ในโลกของศิลปะ

ศูนย์ฝึกทักษะการแพทย์เสมือนจริง จุฬาฯ ความภูมิใจของไทย คว้ามาตรฐานระดับโลก

จุฬาฯ นำร่องเปิดศูนย์ฝึกทักษะเสมือนจริงทางการแพทย์ เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกของประเทศที่ได้การรับรองมาตรฐานทัดเทียมศูนย์ฝึกฯ ในโรงเรียนแพทย์ชั้นนำของโลก เตรียมนิสิตและบุคลากรทางการแพทย์ให้เชี่ยวชาญในการรักษาและดูแลสุขภาพคนไข้อย่างมั่นใจ

จุฬาฯ จ้างงานชุมชนสู้พิษเศรษฐกิจ ปลุกสำนึกรักท้องถิ่น สร้างอาชีพและโอกาสวิสาหกิจชุมชน

ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ ภูมิใจโครงการจ้างงานฯ สร้างรายได้ให้บัณฑิตจบใหม่ นักศึกษาและผู้ขาดรายได้จากวิกฤตโควิด-19 ปลุกสำนึกรักบ้านเกิด เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคู่พัฒนาความรู้สมัยใหม่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ หวังสร้างวิสาหกิจชุมชนและอาชีพอย่างยั่งยืนในอนาคต

อนาคตความสุขของผู้สูงวัย สังคมไทยพร้อมหรือยัง?

อาจารย์เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เผยแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เตรียมผู้สูงวัยไทยในอนาคตให้พร้อมเป็นพลเมืองแอคทีฟ พึ่งพาตนเอง รักษาสุขภาพให้แข็งแรง มั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญคือมีส่วนร่วมทางสังคม รัฐและเอกชนต้องพร้อมหนุนทุกมิติ

ช้อป ชิม แชร์ กับ “ภูษาพาจร” 3 เส้นทางท่องเที่ยว สานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จ. น่าน

ทีมอาจารย์นักออกแบบรุ่นใหม่จากจุฬาฯ รวมพลังสร้างแบรนด์ผ้าทอเมืองน่านยึดหลักเก่าผสานใหม่ออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ส่งเสริมช่องทางตลาดพร้อมปักหมุดเส้นทางการท่องเที่ยวผ่านวัฒนธรรมผ้าทอ

“กรีน บับเบิล” สครับผิวใส ห่วงใยสิ่งแวดล้อม

นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนา “กรีน บับเบิล” ต้นแบบสครับเซลลูโลสจากพืช ย่อยสลายได้ในธรรมชาติ หวังส่งต่อผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ที่ดีต่อผิวหน้าและสิ่งแวดล้อม

นิสิต BASCii และ ISE ทีม “Perm” คว้ารางวัลที่ 3 การแข่งขัน Startup Thailand League 2021

นิสิตจุฬาฯ ทีม “Perm” ประกอบด้วยนิสิตสาขาวิชานวัตกรรมบูรณาการ(BASCii) และนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมอากาศยาน (ISE) คว้ารางวัลที่ 3 การแข่งขัน Startup Thailand League 2021 จากนวัตกรรม Deep Tech Solution เทคนิคการเข้ารหัสรูปแบบพิเศษ “Perm’s Encrypted Data Management Tools”

“เนื้อหมูเพาะเลี้ยง” จากห้องแล็บสู่จาน นักวิจัยจุฬาฯ หวังสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคต

อาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ วิจัยผลิตเนื้อหมูจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รสชาติและคุณค่าโภชนาการใกล้เคียงเนื้อหมูที่บริโภค เตรียมผลักสู่กระบวนการผลิตเพื่อจำหน่าย ตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหารในอนาค

หน้ากากอนามัยใช้แล้ว การกำจัดขยะติดเชื้อที่ต้องจัดการให้ถูกวิธี จุฬาฯ วอนทุกฝ่ายร่วมมือ

อาจารย์วิศวฯ จุฬาฯ เสนอการจัดการหน้ากากอนามัยและชุดตรวจ ATK ที่ใช้แล้ว ลดและเลือกใช้หน้ากากแบบใช้ซ้ำได้ แยกขยะติดเชื้อให้เหมาะสมก่อนนำส่งสู่ระบบการกำจัดที่ไม่สร้างมลพิษ ลดปัญหาขยะติดเชื้อล้นโลก 

รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ปี 2564 ดร.สุดเขต ไชโย เจ้าของผลงาน “เซนเซอร์” รูปแบบใหม่ สำหรับประเมินความปลอดภัยทางอาหารและการวินิจฉัยทางการแพทย์

ดร.สุดเขต ไชโย นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ปี 2564 จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพฯ จุฬาฯ ด้วยผลงานการพัฒนา “เซนเซอร์” รูปแบบใหม่ ประเมินความปลอดภัยทางอาหารและการเกษตรได้อย่างแม่นยำ ตรวจวัดง่าย พร้อมประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ในการเฝ้าระวังโรคและตรวจวัดภูมิคุ้มกันที่มีความไวต่อเชื้อโควิด-19

แพทย์จุฬาฯ วิจัยสำเร็จ! โมเลกุลมณีแดง ย้อนวัย ต้านเซลล์ชรา

แพทย์จุฬาฯ วิจัยสำเร็จใช้โมเลกุลมณีแดง (REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules (RED-GEMs)) เปลี่ยนเซลล์ชราในสัตว์ทดลองให้อ่อนเยาว์ขึ้น เล็งทดสอบในมนุษย์อีก 2 ปีข้างหน้า รักษาโรคต่างๆ ที่เกิดจากเซลล์ชราและคืนความอ่อนเยาว์ ตอบโจทย์สังคมสูงวัย

อินนูลินจากแก่นตะวัน สู่อาหารฟังก์ชันลดโรคอ้วน โดยทีมวิจัย จุฬาฯ

“อินนูลินจากแก่นตะวัน” นวัตกรรมของทีมวิจัยคณะแพทย์ฯ และเภสัชฯ จุฬาฯ สร้างสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ลดโรคอ้วน จ่อพัฒนาเป็นอาหารฟังก์ชันพรีไบโอติกส์ เสริมสุขภาพผู้บริโภคทุกวัย

เปิดตัว “หุ่นฝึกตรวจจอตา” ฝีมือนักวิจัย จุฬาฯ ฝึกนิสิตแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจโรค

สุดยอดฝีมือคนไทย! หุ่นฝึกตรวจจอตา “Oph-Sim” โดยทีมวิจัยคณะแพทย์และวิศวฯ จุฬาฯ ฝึกนิสิตและแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจจอตา ประหยัดงบนำเข้าหุ่นฝึกตรวจจากต่างประเทศถึงหลายเท่า!

สนุกเสพศิลป์ @ CU Art4C Gallery พื้นที่สนุกกับศิลปะสร้างจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม

จากความสำเร็จของ “Plastic Sea”: Art Exhibition on Plastic Marine Pollution” ผลงานศิลปะจัดวางที่สะท้อนปัญหาขยะพลาสติกในท้องทะเลของอาจารย์ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ Art4c Gallery จุฬาฯ เล็งก้าวต่อไปในปีหน้าเน้นศิลปะสร้างการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมและความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม

สเปรย์ฆ่าเชื้อโควิด สูตรถนอมมือ ไร้แอลกอฮอล์ นวัตกรรมเพื่อสุขภาพจากจุฬาฯ

นักวิจัยจุฬาฯ เปิดตัวนวัตกรรมน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ทดแทนสเปรย์แอลกอฮอล์ ฆ่าเชื้อโควิดรวดเร็ว ถนอมผิว รับรองคุณภาพด้วยสิทธิบัตรระดับชาติ พร้อมได้รับคัดเลือกเป็นนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ ของที่ระลึกในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564

3 เทคนิคเพิ่มยอดขาย แปลงคุณค่าใหม่ให้สินค้าเดิม

การตลาดในปัจจุบันแข่งขันกันดุเดือดด้วยสินค้าบริการหลากหลาย อาจารย์ภาควิชาการตลาด จุฬาฯ แนะแนวทางง่ายๆ 3 วิธี ทำสินค้าและบริการให้โดดเด่น โดนใจผู้บริโภค เพิ่มมูลค่าและยอดขาย

ก้าวใหม่การรักษาด้วยจุลินทรีย์ ผ่านเครื่องสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกเฉพาะบุคคล เพื่อปรับสมดุลร่างกาย เสริมภูมิและต้านโรค

เครื่องสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์โพรไบโอติกเฉพาะบุคคล นำส่งจุลินทรีย์สายพันธุ์ดีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้ตรงความต้องการของร่างกาย แพทย์จุฬาฯ คิดค้นเพื่อรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการที่หาสาเหตุของโรคไม่เจอและผู้มีภาวะความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ (dysbiosis)

จุฬาฯ พัฒนาชุดตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-LAMP แบบ 3 ยีนครั้งแรกในไทย แม่นยำ ย่อมเยา ใช้ง่ายในชุมชน

การตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสแบบ 3 ยีนซึ่งครอบคลุมวงจรชีวิตของไวรัส ทำให้มีความไวในการตรวจสูง ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการตรวจที่ยุ่งยาก ไม่มีราคาแพงเหมือน Real Time PCR  สามารถตรวจเชื้อโควิด-19 ได้ทั้งจากโพรงจมูก ลำคอ รวมถึงน้ำลายและวัตถุต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 จึงเหมาะสำหรับการลงพื้นที่ไปตรวจกลุ่มเสี่ยงในชุมชน โรงเรียน รวมถึงสถานประกอบการต่างๆ

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า