รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในโครงการ Krungsri ESG Awards 2023 ซึ่งเป็นรางวัลเพื่อส่งเสริมและยกย่องลูกค้าธุรกิจของธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่ดำเนินธุรกิจโดยนำแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG มาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการพิจารณารางวัล สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ เป็นผู้กำหนดเกณฑ์การพิจารณา รวบรวมข้อมูล และการประมวลผลในครั้งนี้
นอกจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ แล้ว ยังมีองค์กรพันธมิตรอื่นๆ ที่มีวิสัยทัศน์และพันธกิจด้าน ESG ที่ร่วมมือในโครงการนี้ ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม กรมธุรกิจการค้า องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะร่วมกันแนะนำแนวทางในการปรับตัวให้กับธุรกิจ รวมทั้งร่วมเป็นคณะกรรมการคัดสรรกิจการที่มีความโดดเด่น เพื่อมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้เป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนในการขับเคลื่อนด้าน ESG ของธุรกิจของไทยต่อไป
รางวัล Krungsri ESG Awards 2023 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SME ตระหนักถึงความสำคัญและนำแนวคิด ESG ไปปรับใช้และต่อยอดเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจในทุกมิติด้วยความชำนาญในด้าน ESG Finance ผ่านความร่วมมือกับ MUFG กรุงศรี โดยเฉพาะธุรกิจขนาดย่อมและขนาดกลางที่เป็นเป้าหมายหลักของปีนี้เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนไปด้วยกัน ทั้งนี้รางวัลจะแบ่งออกเป็น 2 อันดับ ได้แก่
– Excellence: เป็นรางวัลที่มอบให้กิจการที่มีความเป็นเลิศ ครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านสิ่งแวดล้อมสังคม และธรรมาภิบาล
– Highly commended: เป็นรางวัลเพื่อเชิดชูกิจการที่ริเริ่มและดำเนินการตามแนวปฎิบัติที่ดีทั้ง 3 ด้าน
โดยกิจการที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกมีทั้งกลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME กลุ่มลูกค้าธุรกิจญี่ปุ่น และสมาชิกของสมาคมธุรกิจเพื่อสังคม (SE Thailand)
นายนิกม์ พิศลยบุตร รองผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาฯ กล่าวว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดในการปรับแผนการดำเนินธุรกิจเข้าหาแนวทางความยั่งยืนคือการที่ผู้ประกอบการมี “จิตสำนึกเพื่อความยั่งยืน” หรือ Sustainability Mindset มีการตั้งคำถามว่าการกระทำขององค์กรส่งผลกระทบทางด้านลบต่อใครบ้าง และเราจะสามารถแก้ไขผลกระทบนั้นได้อย่างไร เช่น การผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ พนักงานได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบด้านหรือไม่ รวมไปถึงพิจารณาการดำเนินกิจการของบริษัทว่ามีนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อต้านการทุจริต ดำเนินงานอย่างโปร่งใส และคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ การดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ไม่เพียงแต่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายผ่านการลดต้นทุนในการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยังช่วยดึงดูดผู้บริโภคและนักลงทุนที่มีความสนใจในด้านความยั่งยืน สร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรและรักษาพนักงานที่มีคุณค่ากับบริษัทไว้ในระยะยาว ผู้ประกอบการจะต้องระลึกไว้เสมอว่าการเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่กิจกรรมที่จะทำเพียงแค่หนึ่งครั้ง แต่เป็นการหมั่นทำกิจกรรมที่จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน การวางแผนธุรกิจด้าน ESG จึงควรให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน (Environmental, Social, Governance) อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ใช่เน้นการพัฒนา แค่ด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น” ทั้งนี้ โครงการ Krungsri ESG Awards ยังมีการถ่ายทอดความรู้ด้าน ESG ให้แก่ผู้ประกอบการผ่านกิจกรรมในครั้งนี้ พร้อมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาการดำเนินธุรกิจในแต่ละด้านให้ดียิ่งขึ้น โดยธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับคำแนะนำโดยตรงแบบเจาะลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้าน ESG และคณะกรรมการผู้ทรงเกียรติจากองค์กรระดับประเทศ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาธุรกิจทั้ง 3 มิติอย่างยั่งยืนต่อไป
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดสัมมนาผู้บริหาร ระดมความคิดเห็นเชิงนโยบาย เพื่อทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย ปี 2568
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Australian Academic Institutions เยี่ยมชมจุฬาฯ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
ขอเชิญร่วมงาน CU x MU Sustainability Fest 2025
23 มี.ค. 2568 เวลา 15.00 - 21.00 น.
อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เปิดรับสมัครหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ International Education & Development Fieldwork ให้นักศึกษา Tohoku University และ Tsinghua University
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกิจกรรมทางศิลปะ ณ ประเทศสิงคโปร์ ภายใต้ความร่วมมือกับ Nanyang Polytechnic โครงการปฏิบัติการด้านการออกแบบอย่างยั่งยืน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้