ข่าวสารจุฬาฯ

รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 สาขาปรัชญา ผู้เชี่ยวชาญพัฒนางานวิจัยด้านคลังข้อมูลภาษาและงานประมวลผลภาษาไทย

              รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทยสิรินธร จุฬาฯ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 สาขาปรัชญา จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านคลังข้อมูลภาษาและงานประมวลผลภาษาไทย โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลภาษาไทยให้ได้ปริมาณมากพอสำหรับค้นหาตัวอย่างการใช้ภาษาไทยและได้เปิดให้บริการค้นผ่านทางเว็บไซต์ Thai Concordance รวมทั้งได้เข้าร่วมในโครงการพัฒนาครั้งข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ โดยออกแบบคลังข้อมูลและพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการตัดคำกำกับข้อมูลตัวบทและจัดเก็บคลังข้อมูล

Assoc. Prof. Dr. Wirote Aroonmanakun
รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล
ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

              นอกจากคลังข้อมูลภาษาไทยแล้ว รศ.ดร.วิโรจน์ ยังได้ร่วมกับอาจารย์สาขาภาษาอังกฤษในการพัฒนาและสร้างคลังข้อมูลเทียบบทภาษาอังกฤษ-ไทย เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาการแปลสามารถเข้าถึงและค้นหาตัวอย่างการแปลได้ คลังข้อมูลภาษาเหล่านี้ได้เปิดให้บริการแก่สาธารณะเพื่อให้มีแหล่งข้อมูลกลางสำหรับนักวิจัยและนักศึกษาได้ใช้สำหรับการศึกษาวิจัย  นอกจากจะเผยแพร่ในรูปของการตีพิมพ์บทความและหนังสือแล้ว ยังเผยแพร่เป็นเครื่องมือสาธารณะ เช่น โปรแกรมถอดอักษรไทยเป็นโรมันโปรแกรมตัดคำภาษาไทย โปรแกรมถ่ายเสียงภาษาไทยเป็นสัทอักษร (Thai to IPA)โปรแกรมกำกับหมวดคำโปรแกรมแบ่งหน่วยปริจเฉทพื้นฐานและโปรแกรมเว็กเตอร์คำไทย (Thai word2vec) ปัจจุบันโปรแกรมต่างๆได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของ Python Package TLTK (Thai Language Toolkit) ที่คนทั่วไปสามารถติดตั้งและเลือกใช้งานโมดูลที่ต้องการได้ และยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมโมดูลการประมวลผลภาษาไทยต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

Assoc. Prof. Dr. Wirote Aroonmanakun

              รศ.ดร.วิโรจน์เผยถึงคลังข้อมูลภาษาต่างๆ ที่สร้างขึ้นว่าจะเป็นประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นแหล่งข้อมูลกลางที่นักวิจัยและนักศึกษาสามารถใช้สืบค้นข้อมูลที่ต้องการในงานวิจัยของตนเองได้ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่เผยแพร่มีบริษัทเอกชนและหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนนักพัฒนาระบบได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและเครื่องมือเหล่านี้มานานกว่า 10 ปี

               “ความสำเร็จในการทำงานวิจัยเกิดจากการอาศัยทีมงานที่ดี ทุกฝ่ายต้องทำหน้าที่ร่วมกันเป็นทีมเวิร์ค การทำงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จควรทำวิจัยในสิ่งที่เราสนใจจริงๆ จะทำให้เราอยู่กับงานวิจัยนั้นๆ ไปได้ตลอด เมื่อลงมือทำแล้วจะมองเห็นปัญหาให้เราได้ศึกษาต่อเนื่อง การทำวิจัยเป็นเหมือนการตอบโจทย์ความต้องการของตนเองว่าเราสนใจอยากจะรู้อะไร ทำให้เรามีความสุขที่จะค้นคว้าเรื่องนั้นๆ มากกว่าเป็นการทำแล้วหวังที่ผลลัพธ์” รศ.ดร.วิโรจน์ ฝากข้อคิดทิ้งท้ายแก่นักวิจัยรุ่นใหม่

              ผู้สนใจสามารถเข้าสืบค้นคลังข้อมูลภาษาและงานประมวลผลภาษาไทยได้ที่ https://www.arts.chula.ac.th/ling/tnc3/

คลังข้อมูลภาษาไทย
คลังข้อมูลภาษาไทย

             

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า