ข่าวสารจุฬาฯ

วิศวฯ จุฬาฯ จับมือภาคเอกชน ผลิตคนดิจิทัล แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่แตกต่างจากการเรียนตามหลักสูตรทั่วไป มุ่งเน้นการผลิตกำลังคนดิจิทัลคุณภาพสูงจำนวน 300 คนต่อรุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่ ขาดแคลนกำลังคนด้านนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของวงการศึกษาไทย ที่ต้องปรับตัวให้เกิดความแตกต่าง และตอบโจทย์ของโลกยุคใหม่ที่ต้องการบุคลากรที่มีทักษะตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม

เมื่อวันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำภาคเอกชนกว่า 30 บริษัท เพื่อให้การจัดการศึกษาหลักสูตร Sandbox ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้การเรียนในหลักสูตรตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง โดยการทำหลักสูตรแบบ Co-Creation ที่บริษัทเอกชนจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรอย่างใกล้ชิดใน 5 ด้าน ได้แก่

  1. การฝึกงานในทุกช่วงชั้นปี ตั้งแต่ปีที่ 1 จนถึงปีที่ 4
  2. การเสนอหัวข้อและร่วมพัฒนาโครงงาน เพื่อให้นิสิตได้ฝึกประสบการณ์จากปัญหาจริงในภาคอุตสาหกรรม และได้รับคำแนะนำจากภาคอุตสาหกรรมโดยตรง
  3. การเปิดสอนวิชาเลือกที่ทันสมัย และจำเป็นต่อการทำงานจริงในภาคเอกชน โดยบริษัทร่วมเป็นวิทยากรและพี่เลี้ยง
  4. การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ
  5. การให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงหลักสูตรอย่างรวดเร็วและก้าวทันต่อเทคโนโลยีในแต่ละปีการศึกษา
    ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

    ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นรากฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน สถานประกอบการต้องการกำลังคนด้านดิจิทัลจำนวนมากที่มีความรู้หลากหลาย และสามารถผสมผสานทักษะการทำงานและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและก้าวทันกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลจึงได้เกิดขึ้นตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้รับการอนุมัติหลักสูตรภายใต้กรอบนโยบายการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher education sandbox) และเชื่อมั่นว่าจะสามารถผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตามความต้องการของประเทศจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ความร่วมมือครั้งนี้ในส่วนของภาคเอกชนทุกบริษัทมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมลงนามความร่วมมือนี้ เนื่องจากในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมยังขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวนมากและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน หลักสูตรใหม่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นนี้สามารถตอบโจทย์และช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมได้จริง โดยภาคเอกชนที่เข้าร่วมในโครงการความร่วมมือครั้งนี้เชื่อว่าจะสามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพสูงจำนวนมากและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว บัณฑิตเหล่านี้จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อองค์กรภาคเอกชนต่อไป

    ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ วิเคราะห์ และสร้างโปรแกรมประยุกต์ของระบบซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายกลุ่มเมฆ รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ และสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

    สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

    เว็บไซต์: https://www.cp.eng.chula.ac.th/cedt

    facebook: www.facebook.com/cedtengchula

    จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

    คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

    ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

    ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

    อนุญาตทั้งหมด
    จัดการความเป็นส่วนตัว
    • คุกกี้ที่จำเป็น
      เปิดใช้งานตลอด

      ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

    • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

      คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
      รายละเอียดคุกกี้

    บันทึกการตั้งค่า