รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 เมษายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง “งานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง : ปูทางวัฒนธรรมไทยด้วยสื่อบันเทิง” เมื่อวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุม Social Innovation Hub ชั้น 1 อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ และภาคประชาชนในการนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยไปสร้างสรรค์ต่อยอด ผลิตและเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างกว้างขวางทั้งในเชิง “คุณค่า” และ “มูลค่า” จากการที่ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม ได้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมละครโทรทัศน์เพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทย 4.0” ซึ่งได้มีการสร้างสรรค์เป็นผลงานละครสั้น 3 เรื่องเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
(ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.chula.ac.th/news/107907/)
พิธีเปิดการเสวนาโดย ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ และกล่าวรายงานโดย รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ จากนั้นเป็นการปาฐกถาเรื่อง “ทุนทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริมนโยบายแห่งชาติในยุคดิจิทัล” โดย น.ส.เพชรรัตน์ สายทอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม การเสวนาเรื่อง ”วิชาการ – วิชาชีพ : เปิดมิติการสร้างสรรค์และสื่อสารวัฒนธรรมไทยแนวใหม่” โดย ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ คุณ สมยศ เกียรติอร่ามกุล ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส คุณสวนีย์ อุทุมมา ผู้กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง “หน้ากาก” คุณจีรภา ระวังการณ์ ผู้กำกับละครโทรทัศน์เรื่อง “Letter from the Sun…ครั้งนั้น ไม่เคยลืม” และ ดร.สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ นักวิชาการอิสระ และผู้ประพันธ์บทละครโทรทัศน์เรื่อง “หน้ากาก” และเรื่อง “ผัดไทย : สูตรลับลิขิตฝัน”
ในภาคบ่าย เป็นการเสวนาเรื่อง “มองวัฒนธรรมไทยผ่านสื่อบันเทิงในเวทีสากล : คุณค่า และ มูลค่า” โดย คุณณัฐพล ณ สงขลา ผู้อำนวยการกองทูตวัฒนธรรม กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ คุณสุพัฒนา ศักดิ์ปิยะพันธ์ นักพัฒนาการท่องเที่ยวชำนาญการพิเศษ กองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คุณจริมา ทองสวัสดิ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มเลขานุการคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ สำนักปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินรายการโดย คุณสืบสกุล พันธุ์ดี ผู้ประกาศข่าวไทยรัฐทีวี และการเสวนาเรื่อง “ความท้าทายของสื่อบันเทิงในการนำวัฒนธรรมไทยสู่นานาชาติ” โดย คุณศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ ผู้เขียนบทและผู้อำนวยการผลิตละคร บริษัทเดอะวันเอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด คุณเพ็ญสิริ เศวตวิหารี นักเขียนบทละครโทรทัศน์ บริษัท เป่าจินจง จำกัด และคุณกาญจนพันธุ์ มีสุวรรณ ผู้กำกับ ผู้จัดละคร และครีเอทีฟ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ปอรรัชม์ ยอดเณร อาจารย์ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
การเปิด – ปิดประตูจุฬาฯ และการจัดการจราจรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565
อบรม “การเพิ่มศักยภาพของผู้มีส่วนได้เสียในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ”
16 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
“ประติมากรรมเสียงสวรรค์” ศิลปะผสานเทคโนโลยีที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากสถาบันหลักของโลก 2 แห่ง Times Higher Education 2024 และ QS World University Rankings 2024
ไหว้พระจันทร์ปีนี้ ขอพรเจ้าแม่ทับทิม ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ เสริมสิริมงคลชีวิตรุ่งเรือง
29 ก.ย. 66 19.00 น.
อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ
Workshop TCAS 1 สืบสานสถาปัตยกรรมไทย
วันที่ 8 - 22 ตุลาคม 2566
ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้