ข่าวสารจุฬาฯ

ทรัพย์สินทางปัญญา : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สร้างแนวคิดในการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและผลิตภัณฑ์

ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยทรัพย์สินทางปัญญา : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” เมื่อเร็วๆนี้ ณ ห้องประชุม 103 อาคารวิชชาคาม 2 สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีผาสิงห์ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เพื่อสร้างแนวคิดในการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและผลิตภัณฑ์ในจังหวัดน่าน มีผู้เข้าอบรมจากสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดน่าน ได้แก่ สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่าน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาน่าน วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน วิทยาลัยชุมชนน่าน สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวนทั้งสิ้น 37 คน ในการนี้ ผศ.ดร.ชัชวาล ใจซื่อกุล รองผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ โดยมี รศ.ดร.ดวงหทัย เพ็ญตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ (CUIP) เป็นวิทยากร กิจกรรมในช่วงเช้าประกอบด้วยการบรรยายเรื่องภาพรวมทรัพย์สินทางปัญญา และเรื่องสิ่งบ่งชื้ทางภูมิศาสตร์ และภาคบ่ายเป็นภาคปฏิบัติในหัวข้อ ความเป็นไปได้และแนวทางของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากน่าน

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หรือ Thai Geographical Indication (GI) หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว (อ้างอิงจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th) ปัจจุบันจังหวัดน่านมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI แล้วจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ส้มสีทองน่าน (ขึ้นทะเบียนวันที่ 4 มีนาคม 2553) ญอกมละบริน่าน (ขึ้นทะเบียนวันที่ 23 ธันวาคม 2553) และข้าวก่ำล้านนา (ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551) นอกจากสิ้นค้า GI ทั้งสามชนิดแล้ว จังหวัดน่านยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีศักยภาพ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม หรือเป็นสินค้าที่บริโภคกันเป็นประจำภายในชุมชน แต่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกหลายชนิด เช่น ผ้าลายน้ำไหล เครื่องเงินภูคา เกลือภูเขา อำเภอบ่อเกลือ และสาหร่ายไก อำเภอท่าวังผา ตลอดจนพืชผักผลไม้ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในตลาดและจานอาหารในครัวเรือน เช่น มะแขว่น มะไฟจีน เงาะ งาขี้ม้อน      เป็นต้น

    

ในสถานการณ์ปัจจุบัน จังหวัดน่านกำลังเผชิญกับปัญหาด้านความเสื่อมโทรมและการลดลงของพื้นที่ป่า โดยมีสาเหตุมาจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายประการ เช่น การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ การพังทลายของหน้าดิน ปัญหาการตกค้างและการปนเปื้อนของสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่ได้ฝังตัวให้บริการวิชาการและบริการวิจัยในจังหวัดน่านมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมอาชีพทางเลือกให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โดยสนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่มากขึ้น หรือการใช้    องค์ความรู้และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นให้มีศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มเติมให้เกษตรกรมีรายได้มากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อลดความต้องการพื้นที่ป่าสำหรับใช้ในการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งดำเนินการภายใต้แนวทางการทำงานของโครงการนวัตกรรมการปลูกป่าโดยใช้ 3 เทคโนโลยีและโครงการรักษ์ป่าน่าน ภายใต้พันธกิจ 3 ประการ คือ การสร้างป่า การสร้างอาชีพ และการปลูกจิตสำนึก รวมทั้งเพื่อเป็นการตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม และการสร้างสรรค์สังคมไทย ตลอดจนตอบสนองต่อการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในการใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ

 

 

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า