รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดการประชุม Chula Global Innovation Club (CGIC) in USA มุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน และ Global Innovation Club พร้อมกับองค์กรพันธมิตร เพื่อร่วมสร้างแนวทางสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยในสหรัฐฯให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด (Scaleup)
การประชุม Chula Global Innovation Club (CGIC) จัดขึ้นในรูปแบบ Virtual Event เมื่อวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 20.00 – 23.00 น. เวลาประเทศไทย (09.00 – 12.00น. เวลา กรุงวอชิงตันดีซี) เพื่อหารือแนวทางสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยในสหรัฐฯให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด (Scaleup) โดยมีนายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ร่วมเป็นประธานการประชุม
พร้อมกันนี้มีองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมการประชุม อาทิ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน สำนักงานที่ปรึกษาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จํากัด สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย(Thai Startup Association) บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด และหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ
ในการประชุม รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย Global Chief Innovation Officer ในฐานะผู้ดำเนินการบริหารโครงการ Chula Global Innovation Club (CGIC) กล่าวรายงานความคืบหน้าของโครงการตั้งแต่ช่วงการก่อตั้งโครงการ ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม 2565 – 31 มกราคม 2566 ซึ่งปัจจุบันสามารถสร้างเครือข่ายส่งเสริมการเร่งสร้างบริษัทสตาร์ทอัพ แบ่งเป็นธุรกิจร่วมลงทุน (VC) และนักลงทุน จำนวน 652 ราย ที่ปรึกษาธุรกิจฐานนวัตกรรม จำนวน 55 ราย องค์กรร่วมสนับสนุนการเติบโตของบริษัทสตาร์ทอัพ จำนวน 40 ราย และแพลตฟอร์มธุรกิจร่วมลงทุนในสหรัฐฯ จำนวน 10 ราย ผลจากการร่วมมือดังกล่าวก่อให้เกิดกิจกรรมสำคัญภายใต้การดำเนินการของ CGIC จะมุ่งเน้นการสนับสนุนกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพผ่านกิจกรรมแบบเต็มรูปแบบ ทั้งกิจกรรมนำเสนอแผนธุรกิจและระดมทุน (Pitching & Fund Raising) จากนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อเร่งการเติบโตให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพจากงานวิจัยของจุฬาฯ กิจกรรมการจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจ (Partnership Matching) เพื่อให้สตาร์ทอัพสามารถขยายตลาดออกสู่สากลและเกิดคู่ค้าทางธุรกิจ กิจกรรม Roadshow เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เพิ่มมากขึ้น ประชาสัมพันธ์และสร้างแบรนด์ และกิจกรรม Hackathon เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และ Mentor ซึ่งในที่ประชุมมีการหารือเพื่อพิจารณาแผนการเร่งสร้างบริษัทสตาร์ทอัพจากงานวิจัยเชิงลึก (Deep-Tech Startup) และการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน และ Global Innovation Club ด้วย โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมความรู้และการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาการส่งเสริมความรู้และการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ นิสิต อาจารย์ระหว่างประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพไทยขยายธุรกิจในตลาดสหรัฐอเมริกาหรือเข้าถึงผู้ร่วมทุนและนักลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกาเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพไทยขยายธุรกิจในตลาดสหรัฐอเมริกาหรือเข้าถึงผู้ร่วมทุนและนักลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา
จากผลการดำเนินการในระยะที่ผ่านมาเพื่อขับเคลื่อนการการพัฒนานวัตกรรมและส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยในสหรัฐฯให้สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด (Scaleup) ผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆตลอดปี 2566 ทั้งการส่งเสริมโอกาสในการนำเสนอแผนธุรกิจ (pitching) การหาเงินทุนจาก venture capital สหรัฐฯ และการส่งเสริมสตาร์ทอัพไทยในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบนิเวศด้านนวัตกรรมและสตาร์ทอัพพร้อมและแข็งแกร่งมากที่สุดในโลก และการหาเงินทุนสำหรับสตาร์ทอัพในระยะแรก (early-stage seed funding) และการ ส่งเสริมการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของสตาร์ทอัพที่ประเมินแล้วมีความพร้อมและจุดเด่นในการออกสู่ตลาดภูมิภาคและตลาดโลก เพื่อตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมต่อไป
ข้อมูลอ้างอิงของโครงการ Chula Global Innovation Club (CGIC)
https://www.linkedin.com/pulse/chula-global-innovation-club-thailand-board-of-investment-north/?utm_source=share&utm_medium=member_ios&utm_campaign=share_via
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000080194
https://thaiembdc.org/2023/02/14/global-innovation-club-meeting/
จุฬาฯ เปิดตัวหลักสูตร ZEN หลักสูตรอบรมที่ผสานหลักการปรัชญาแบบญี่ปุ่นกับแนวทางการตลาดสมัยใหม่
เรียนรู้เสริมทักษะกับ CUVIP เดือนธันวาคม “Gifts from Heart ส่งความห่วงใยให้ชีวิตปลอดภัย”
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ประชาคมจุฬาฯ และพุทธศาสนิกชนร่วมตักบาตรพระสงฆ์ในกิจกรรม “บุญสุนทาน” ณ เรือนไทยจุฬาฯ
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมแถลงข่าวงาน “เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้