รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 เมษายน 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน คณาจารย์ศศินทร์ จุฬาฯ
ในปัจจุบันนี้หากพูดถึงคำว่า “ควอนตัม” (“Quantum”) หลายคนน่าที่จะคุ้นเคยกับคำว่า “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” ซึ่งหมายถึงการใช้เทคโนโลยีควอนตัม (ที่อาศัยคุณสมบัติพิเศษของการทำงานกับสิ่งของเล็กๆ อย่างอะตอมและอนุภาคเล็กๆ ที่จะสามารถนำมาสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่น่าอัศจรรย์ต่างๆได้) มาเปลี่ยนรากฐานของการประมวลผลคอมพิวเตอร์แบบดังเดิม ให้เป็นการประมวลผลแบบควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีพลังในการคำนวณที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดย บริษัท McKinsey & Company ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ให้คำปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้ระบุไว้ในงานวิจัยเรื่อง “McKinsey Technology Trends Outlook 2022” ว่าควอนตัมเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่โลกต้องจับตามอง เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดและสร้างการประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลายมากมายถึงขั้นที่บทความนี้ขอเรียกว่า “มาก จนอาจจะตาลาย” ดังนั้นในบทความนี้ ผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมที่เน้นมุมมองเชิงธรุกิจ (ไม่เน้นมุมมองเชิงเทคนิคของเทคโนโลยีนี้) ที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน และสามารถมีบทบาทสำคัญในการสร้างความผกผัน (Disrupt) ต่อธุรกิจต่าง ๆ ในโลก ร่วมทั้งหลาย ๆ ธุรกิจในไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย
เทคโนโลยีควอนตัมกับการป้องกันการเป็นโรคต่าง ๆ ล่วงหน้าในโลกยุคสังคมสูงวัย
ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และคงดีไม่น้อย ถ้าเราจะสามารถรู้หรือพยากรณ์ได้ว่าเรา“กำลัง” เผชิญต่อความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะไรใน“วินาที” (หรือในวันแรก ๆ ก็ยังดี) ที่เริ่มมีความผิดปกติอะไรกับร่างกายของเราก่อนที่โรคหรือความผิดปกตินั้น ๆ จะเกิดขึ้น แทนที่จะมารู้ (เมื่อมักจะสายไปแล้ว) เมื่อความผิดปกติในร่างกายเหล่านั้นเริ่มทำให้เรามีอาการ หรือมี “Symptoms” ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลกว่า การป้องกันโรค (หรือ Preventive Approach) ดีกว่าการตามมารักษาโรคภายหลัง (หรือ Curative Approach) ทั้งในมุมที่ผู้ป่วยจะมีโอกาสหายจากโรคมากกว่า และในมุมของค่าใช้จ่ายที่อาจจะแตกต่างกันอย่างมหาศาล นอกจากนี้ในยุคที่โลกของเราจะมีผู้สูงวัยทั่วโลกมากกว่า 2 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2050 ความสามารถในการที่จะรู้ว่าผู้สูงวัย หรือผู้ที่กำลังจะสูงวัยเหล่านั้น “กำลัง” จะเป็นโรคอะไรในช่วงแรก ๆ จะสามารถปฏิวัติหรือดิสรัป (Disrupt) วงการแพทย์ทั่วโลกได้อย่างง่ายขึ้น
หลายคนอาจไม่เคยทราบว่าเทคโนโลยีควอนตัมสามารถมีบทบาทสำคัญในการที่จะทำให้เรารู้ได้ว่าร่างกายเรากำลังจะเผชิญ หรือเข้าใกล้ความเสี่ยงของการเป็นโรค หรือง่าย ๆ คือ เรา “กำลัง” จะเป็นโรคอะไร ในช่วงแรก ๆ ของโรคนั้น ๆ โดยหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมที่เรียกว่า “ควอนตัมเซ็นซิงค์” (“Quantum Sensing”) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่อาศัยความรู้และความเข้าใจในคุณสมบัติของอนุภาคเล็ก ๆ ในการปฏิวัติเครื่องวัดแบบดังเดิม (Traditional Sensors) โดยควอนตัมเซ็นซิงค์จะอาศัยการตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในระดับ “อะตอม” ในการเพิ่มความละเอียดและความแน่นอนในการวัด ดังนั้นถ้าจะเปรียบเทียบการตรวจร่างกายแบบดังเดิมกับแบบควอนตัมเซ็นซิงค์ การตรวจร่างกายแบบดังเดิมก็จะคล้ายๆ กับคนที่สายตาไม่ค่อยดี สายตาสั้น ซึ่งจะมองเห็นภาพแบบเบลอ ๆ ไม่ค่อยละเอียด ไม่ชัดเจนและไม่ค่อยมีความแน่นอน กว่าจะเห็นว่ามีสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น ก็จะต้องเป็นสิ่งผิดปกติที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ (ซึ่งก็คือต้องผิดปกติมาก ๆ จริงๆ) ถึงจะเห็น ซึ่งมักจะสายเกินที่จะแก้ แต่ในทางกลับกันการตรวจร่างกายแบบควอนตัมเซ็นซิงค์จะสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติในระดับอะตอม ซึ่งก็คือการมีความสามารถในการตรวจพบความผิดปกติในช่วงแรก ๆ ของโรคนั้น ๆ ได้
ในปัจจุบันเทคโนโลยีควอนตัมเซ็นซิงค์ได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ้นอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยหรือศูนย์วิจัยชั้นนำของโลก ตัวอย่างเช่น สถาบันวิจัยควอนตัมคอมพิวติ้ง (Institute for Quantum Computing) ของมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู (University of Waterloo) ในประเทศแคนนาดา ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำของโลกในงานวิจัยด้านกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) มีโครงการศึกษาที่เกี่ยวกับการสร้างอุปกรณ์ที่ตรวจจับความผิดปกติของดวงตาที่ทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration) ที่เป็นสาเหตุทำให้ผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อยต้องสูญเสียการมองเห็นเพราะไม่สามารถตรวจพบและรักษาได้อย่างทันท่วงที่ (คาดว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมมากกว่า 190 ล้านคนในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกมากจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย) อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซัสเซ็ก (University of Sussex) ในประเทศอังกฤษ ได้ศึกษาการใช้เทคโนโลยีควอนตัมเซ็นซิงค์และพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถวัดคลื่นสมองที่มีความละเอียดสูง โดยอุปกรณ์นี้สามารถตรวจพบความผิดปกติทางสมองที่เป็นสัญญาณของโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) และ โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ในช่วงระยะแรก ๆ ได้
เทคโนโลยีควอนตัมกับการปฏิวัติโลกการสื่อสาร
อีกหนึ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมที่หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่ก็เป็นการประยุกต์ใช้ที่มีโอกาสดิสรัป (Disrupt) หลายธรุกิจในโลกคือการสื่อสารเชิงควอนตัม (Quantum Communication) โดยหัวใจของการสื่อสารเชิงควอนตัมคือการใช้องค์ความรู้ทางควอนตัมทำให้เกิดการสื่อสารที่มีความปลอดภัยสูงมาก ๆ โดยการสื่อสารเชิงควอนตัมจะอาศัยหลักการที่เรียกว่า “Superposition” หรือ “การซ้อนทับของควอนตัม” ที่สามารถทำให้อนุภาคขนาดเล็ก ๆ (ที่เราจะใช้ในการส่งข้อมูล หรืออาจจะเป็นการส่งกุญแจที่จะต้องใช้ในการเปิดข้อมูล) อยู่ในสถานะ “พิเศษ” โดยความพิเศษนั้นมีอยู่ว่าถ้าเมื่อไหร่มีผู้ไม่หวังดีมา “แอบดู” หรือ “มาแฮก (Hack)” ข้อมูลที่เคยอยู่ในสถานะพิเศษนี้ (สถานะ Superposition) ความพิเศษนี้จะหายไปทันที และทิ้งร่องรอยของการถูกแอบดูเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หลายคนกล่าวว่าในอนาคต “ข้อมูลจะมีค่ามากกว่าน้ำมันหรือแม้แต่มากกว่าทองคำ” หากเราเชื่อในคำกล่าวนี้ ในอนาคตการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจะมีมูลค่าและมีความสำคัญอย่างมหาศาลเช่นกัน ในทุก ๆ วันเราทุกคนมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยในการรับส่งอยู่หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงิน ข้อมูลการจับจ่ายใช้ส่อยผ่านอีคอมเมิร์ซ ข้อมูลจากกล้องวงจรปิด ข้อมูลการประชุมผ่านเว็บแคม ข้อมูลการยืนยันตัวตนกับหน่วยงานราชการ หรือแม้แต่การรับส่งข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร นอกจากนี้ในอนาคตเราทุกคนมีแนวโน้มที่จะมีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยในการรับส่งมากขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) ที่เราทุกคนจะมีจำนวนอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมและรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้นไปเรื่อย ๆ รวมทั้งการใช้งาน Cloud Computing หรือการใช้บริการการประมวลผลผ่านเครือข่ายทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กรที่จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกมาก ดังนั้นธุรกิจทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (ซึ่งอาจจะหมายถึงทุกประเภทธุรกิจเลยก็ว่าได้) สามารถถูกดิสรัป (Disrupt) จากเทคโนโลยีการสื่อสารเชิงควอนตัมที่จะสามารถให้ความปลอดภัยของการรับส่งข้อมูลด้วยวิธีการที่ใหม่และดีกว่า
กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยีควอนตัมถือเป็นนวัตกรรมที่สำคัญที่สามารถจะดิสรัป (Disrupt) และสร้างการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยใช้ประโยชน์จากหลักการของกลศาสตร์ควอนตัม อาทิเช่น มีศักยภาพในการปฏิวัติการดูแลสุขภาพผ่านการตรวจจับด้วยควอนตัม ทำให้สามารถตรวจพบโรคได้เร็วขึ้นและส่งผลในด้านการป้องกันแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมผู้สูงวัย นอกจากนี้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีควอนตัมในการสื่อสารสามารถนำไปสู่ระบบที่มีความปลอดภัยสูงเป็นพิเศษ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ขณะที่เทคโนโลยีควอนตัมได้รับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากงานวิจัยและพัฒนาดังกล่าวที่แผ่กว้างออกไปนั้นมีศักยภาพในการกำหนดอนาคตที่ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับทุกคน ดังนั้นควอนตัม (Quantum) เทคโนโลยีเป็นนวัตกรรมดี ๆ ที่หลายคนคงเริ่มมองเห็น (ประโยชน์) มากขึ้นแล้ว
อ้างอิง
Sanchez, Angelica (2023, March 29). Using quantum technologies to make precise early-stage diagnosis. Waterloo News. https://uwaterloo.ca/news/university-relations/using-quantum-technologies-make-precise-early-stage
University of Sussex. “Quantum brain sensors could be crucial in spotting dementia after scientists find they can track brain waves.” ScienceDaily. ScienceDaily, 18 November 2021. <www.sciencedaily.com/releases/2021/11/211118203739.htm>.
Wong WL, Su X, Li X, Cheung CM, Klein R, Cheng CY, Wong TY. Global prevalence of age-related macular degeneration and disease burden projection for 2020 and 2040: a systematic review and meta-analysis. Lancet Glob Health. 2014 Feb;2(2):e106-16. doi: 10.1016/S2214-109X(13)70145-1. Epub 2014 Jan 3. PMID: 25104651.
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้