รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 เมษายน 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
ปัญหาความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นโรงเรียนและสถานศึกษา ยังคงเป็นปัญหาที่มีความสำคัญในสังคมไทยซึ่งส่งผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจของนักเรียนผู้ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงและการถูกกลั่นแกล้งข่มเหงรังแก ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนลดลง
จากงานสัมมนา Teacher Conference ในหัวข้อ “Stop Violence in Schools” เยาวชนไทยห่างไกลความรุนแรง ครั้งที่ 1 ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น ภายใต้โครงการ International Friends for Peace 2023 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ณ Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันการแก้ไขและยุติปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสถานศึกษา ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ ประธานกล่าวเปิดงาน เปิดเผยว่า Teacher Conference ในครั้งนี้ไม่เพียงเปิดโอกาสให้ผู้บริหารสถานศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่รับผิดชอบงานด้านวิจัยและกิจการนิสิตได้มีส่วนร่วมในงานนี้ แต่ยังเป็นการเพิ่มองค์ความรู้และทักษะในการร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสังคมไทย ซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มุ่งสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Innovations for Society
“การจัดงานในครั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 3 เรื่องของจุฬาฯ คือ Future Leaders การสร้างผู้นำในอนาคตโดยส่งเสริมความเป็นผู้นำให้แก่นิสิตและเยาวชน มีคุณธรรมและความคิดสร้างสรรค์ Impactful Research การสร้างผลงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคม และเรื่อง Sustainability หรือการสร้างความยั่งยืนแก่สังคมไทย” ผศ.ดร.ชัยพรกล่าว
รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัย “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวในหัวข้อ “แผนงานวิจัยท้าทายไทย : สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยได้รับโจทย์ในการวิจัยหาแนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงของสังคมไทย ศึกษาหาสาเหตุ ผลกระทบของความรุนแรง รวมถึงแนวทางต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง
ความรุนแรงในสังคมไทยในสถานการณ์โลก แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ความรุนแรงต่อตนเอง ความรุนแรงระหว่างบุคคล และความรุนแรงระหว่างกลุ่ม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่การวิจัยเพื่อหาแนวทางต้นแบบในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย และเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันและลดความรุนแรงในสังคม
รศ.ดร.สุมนทิพย์ เน้นย้ำในเรื่องของการร่วมมือกันระหว่างองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม รวมถึงภาคประชาสังคม สื่อมวลชน ภาคเอกชน และสถาบันครอบครัวซึ่งมีความสำคัญ ลำดับต้นๆ และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความรุนแรงได้
“จากการศึกษาวิจัยในปีที่ 2 ได้ต่อยอดแผน Road Map สังคมไทยไร้ความรุนแรง ออกเป็น 5 ส่วนได้แก่ นโยบาย (Policy) ป้องกัน (Prevention) คุ้มครอง (Protection) ดำเนินคดี (Prosecution) และความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) โดยแผนงานดังกล่าวได้มีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งมอบองค์ความรู้ให้หน่วยงานต่างๆ นำไปต่อยอดในการดูแลและป้องกันการเกิดความรุนแรงอย่างเป็นรูปธรรม” รศ.ดร.สุมนทิพย์ กล่าวในที่สุด
ทั้งนี้ภายในงานยังมีการบรรยายหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้
งาน Teacher Conference จะมีการจัดสัมมนาขึ้นอีกสองครั้งคือในวันที่ 25 พฤษภาคม ในเรื่องแนวทางการป้องกันและอบรมด้านกฎหมายและจิตวิทยา และในวันที่ 22 มิถุนายน ในเรื่องการใช้ศิลปะบำบัด
พิธีเปิดกิจกรรม Enrichment Program for CU รุ่นที่ 2 และกิจกรรมประเมินความสุข (CU Happiness)
มีนาคม - กรกฎาคม 2568
PMCU เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยประกวดออกแบบพื้นที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ ให้เป็นสวนแห่งความสุข ภายใต้แนวคิด CHULA FOR ALL
จุฬาฯ จับมือธนาคารออมสิน เปิดตัวโครงการ “GSB CED 2568” หนุนชุมชนท้องถิ่นพัฒนาสู่ความยั่งยืน
จุฬาฯ จัดการประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่สมาชิก กบข. สิทธิประโยชน์ที่ควรรู้
เชิญร่วมสัมมนาออนไลน์ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ มาตรฐาน CEFR
3 เม.ย. 68
โปรแกรม Zoom
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 34 สาขา จัดอันดับโดย QS University Rankings by Subject 2025
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้