รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 พฤษภาคม 2566
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ปัญหาความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นโรงเรียนและสถานศึกษาย่อมส่งผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจของนักเรียนผู้ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงและการถูกกลั่นแกล้งข่มเหรังแก จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนซึ่งทำได้ในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของกลไกทางกฎหมายเมื่อมีเหตุความรุนแรง และการดูแลนักเรียนที่ได้รับความรุนแรงทางโลกไซเบอร์
จากงานสัมมนา Teacher Conference ในหัวข้อ “Stop Violence in Schools” เยาวชนไทยห่างไกลความรุนแรง ครั้งที่ 1 ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษาของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น ภายใต้โครงการ International Friends for Peace 2023 ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงนำมาสู่การจัดงาน Teacher Conference “Stop Violence in Schools” เยาวชนไทยห่างไกลความรุนแรง” ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ณ Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันการแก้ไขและยุติปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสถานศึกษา
ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต จุฬาฯ ประธานกล่าวเปิดงาน เปิดเผยว่า Teacher Conference ในครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารสถานศึกษา คณาจารย์ และผู้ที่รับผิดชอบงานด้านวิจัยและกิจการนิสิตได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสังคมไทย ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านกลไกทางกฎหมาย การดูแลสภาพจิตใจของผู้ถูกกระทำ รวมถึงการป้องกันการเกิดความรุนแรงในอนาคต
ในส่วนของกระบวนการทางกฎหมายในการแก้ปัญหาความรุนแรงในสังคมไทย ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ บรรยายในหัวข้อ “กลไกทางกฎหมายเมื่อมีเหตุความรุนแรง สรุปได้ว่า กลไกทางกฎหมายเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นในโรงเรียนต้องเริ่มตั้งแต่กฎหมายแม่บท ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายที่ครอบคลุมและคุ้มครองเด็กได้ดีพอสมควร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือกฎหมายลำดับรองและแนวทางปฏิบัติจริงที่เกิดขึ้นในการบังคับใช้กฎหมายยังไม่ค่อยสมบูรณ์ สิ่งที่จะต้องแก้ไขก็คือ ในโรงเรียนควรมีกลไกที่คุ้มครองผู้ที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง นักเรียนกับครู หรือกระทั่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอกที่เข้ามากระทำกับครูหรือนักเรียน ซึ่งจะต้องมีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นครู แพทย์ ตำรวจ รวมถึงกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งหากมีการบูรณาการร่วมกันก็จะช่วยคุ้มครองป้องกันความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนได้
“การรู้จักเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกันในโรงเรียนเป็นพื้นฐานที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรงในโรงเรียน ความรุนแรงเกิดขึ้นจากการขาดความเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงควรเริ่มต้นจากการป้องกันและสร้างเสริมความเข้าใจในส่วนนี้ จากนั้นต้องมีมาตรการรองรับหากเกิดเหตุความรุนแรงว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ทั้งในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการดูแลและบำบัดอย่างใร ในขณะเดียวกันก็ต้องรับมือป้องกันผู้ที่ก่อความรุนแรงไม่ให้ไปก่อเหตุความรุนแรงในอนาคต สิ่งที่อยากจะฝากไว้คือว่าเราไม่สามารถแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยการใช้ความรุนแรงได้ไม่ว่าในทางใด” ผศ.ดร.ปารีณา กล่าว
ในช่วงบ่าย ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ บรรยายในหัวข้อ “การดูแลนักเรียนที่ได้รับความรุนแรงทางโลกไซเบอร์” โดยได้เผยถึงข้อมูลเกี่ยวกับเหยื่อความรุนแรงว่ามักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายถึงมหาวิทยาลัย โดยคุณครูในโรงเรียนมีบทบาทหลักที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
ผศ.ดร.ณัฐสุดา ให้ข้อมูลว่า ในปี 2566 มีผู้พบความรุนแรงถึง 40% และมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงถึง 30% ที่น่าสนใจคือยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ออกมาบอกว่าตนตกเป็นเหยื่อ โดยช่องทางหลักของการแสดงความรุนแรงมักเป็น Social Network ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในแพลตฟอร์มที่ไม่ต้องมีการเปิดเผยตัวตน เราไม่สามารถห้ามไม่ให้เด็กใช้โซเชียลได้เพราะข่าวสารข้อมูลที่มีประโยชน์ก็อยู่บนนั้นเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรจึงจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กใช้โซเชียลมีเดียได้อย่างมีคุณภาพ
“ครูเป็นเสมือนปราการแรกของเด็กที่สามารถรับฟังอย่างเข้าใจ โรงเรียนสามารถเสริมเรื่องการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียนสามารถพูดหรือระบายได้ จากงานวิจัยพบว่าคนที่ตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตาย การป้องกันในเบื้องต้นจึงมีความสำคัญ เพื่อไม่ให้ปัญหาใหญ่เกิดขึ้นในอนาคตได้” ผศ.ดร.ณัฐสุดา กล่าวทิ้งท้าย
เสียงตอบรับจากคุณครูและนักจิตวิทยาที่เข้าร่วมงาน Teacher Conference ครั้งนี้
“ได้รับความรู้ในเรื่องความรุนแรงทั้งในแง่ของหลักกฎหมายและกระบวนการดูแลเด็ก สามารถนำไปใช้จริงได้เป็นอย่างดี”
ตรีประดับ อุทัยเศรษฐวัฒน์ นักจิตวิทยา โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
“งานนี้มีประโยชน์มาก สามารถนำแนวคิดที่ได้รับไปปรับใช้ในฐานะครูที่เป็นคนกลางประสานกับนักเรียนได้”
นัฐชาติ เรียบร้อย ครูแนะแนว โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี
“โรงเรียนชายล้วนก็มีปัญหาในเรื่องการ Bully งานในครั้งนี้เป็นการสร้าง Awareness ให้ครูเข้าใจปัญหาที่นักเรียนเจอในรูปแบบของ Cyberbullying”
อเนชพันธ์ นิธินันท์นฤมิต ครูแนะแนว โรงเรียนทวีธาภิเศก
ติดตามชมภาพภายในงานเพิ่มเติมได้ที่ https://chula-my.sharepoint.com/:f:/g/personal/natharinee_p_chula_ac_th/EpOXwA63BmdNhoc1EOHNiJEBiwmO7ZdD9j25o6UIPDqhHA?e=z90Zga
สถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรมเดิน-ปั่น-วิ่ง WALK-RIDE-RUN ย่านพระโขนง-บางนา “เดินส่องย่าน ปั่นมองเมือง วิ่งเชื่อมกรุง” และกิจกรรมเสวนาสาธารณะ
15 ก.ย. 67
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ ถนนสุขุมวิท 101/1 (ซอยวชิรธรรมสาธิต)
จุฬาฯ จัดพิธีมอบเข็มทองคำเกียรติคุณและแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุ ปี 2567
จุฬาฯ จัดโครงการ “CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 1”
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมูลนิธิเพื่อนศิลปะ สร้างแพลตฟอร์มใหม่ยกระดับศิลปะการเต้นสู่เวทีนานาชาติ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา “MANUGRIP” อุปกรณ์ฝึกออกกำลังมือ เพื่อสุขภาพผู้สูงวัย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ดีกรีพลัส ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะวิชาชีพ พัฒนานิสิตสู่ความเป็น Lifelong Leader
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้