ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในการสร้างงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงต่อสังคม

ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงาน C2F จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้ช่วยคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เรื่องความร่วมมือในการสร้างงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงต่อสังคม ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมี ศ.ดร.กรกนก อิงคนินันท์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร อ.ดร.ยุทธพงษ์ ทองพบ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม อ.ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา  ผู้ช่วยอธิการบดีด้านกิจการนิสิต คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้การต้อนรับ  เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566  ณ ห้องประชุมเทาแสด ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) มหาวิทยาลัยนเรศวร  จ.พิษณุโลก

วัตถุประสงค์ของพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนและสนับสนุนด้านการวิจัยและวิชาการ  การผลิตผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงต่อสังคม และร่วมกันเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ด้านการวิจัยและด้านวิชาการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการวิจัย และส่งเสริมกิจกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่

ในโอกาสนี้ คุณทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก  คุณปริษา ปานพรหม ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพิษณุโลก คุณนิภาวรรณ กาญจนพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก  พร้อมด้วยทีมบริหาร คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของทั้งสองสถาบัน ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ 

   

พร้อมกันนี้ ได้จัดให้มีการเสวนาวิชาการ ในหัวข้อ “ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับเมืองเพื่อการรับมือความท้าทายใหม่” โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมบรรยาย 4 ท่าน จาก 4 มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น ไต้หวัน และประเทศไทย ได้แก่

           

– “A Strategic Alliance of Business, Government, and Universities for Regional Growth: The Case of Fukuoka Development Council in Japan” โดย Prof.Dr.Takefumi Kurose, Division Director, Department of Architecture and Urban Design, Faculty of HumanEnvironment Studies, Kyushu University, Japan

– “Role of Tourism and Hospitality Research in Providing State-of-Art Expertise to Benefit Academic and Industry” โดย Prof.Dr.Pearl Lin, President of Kainan University, Taiwan

– “People in The City of Becoming: ผู้คน การใช้ชีวิต และอนาคตของการขับเคลื่อนสังคมผู้ประกอบการ สู่โอกาสของการพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน” โดย อ.ดร.จารุวรรณ แดงบุบผา ผู้ช่วยอธิการบดีด้านกิจการนิสิต และผู้อํานวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านการจัดการการท่องเที่ยว คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

– “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาเมืองพิษณุโลก” บนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้ช่วยคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และรองผู้อํานวยการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ โครงการวิจัย “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาเมืองพิษณุโลก” จะเป็นโครงการวิจัยนำร่องโครงการแรกหลังจากพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้ ซึ่งจะเป็นการทำงานร่วมกันของนักวิจัยจากทั้งสองมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นสร้างนวัตกรรมการพัฒนามหาวิทยาลัยเพื่อเมือง และเมืองเพื่อมหาวิทยาลัย โดยใช้เมืองพิษณุโลกเป็นกรณีศึกษา เพื่อให้เป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองมหาวิทยาลัยในพื้นที่อื่นต่อไป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า