ข่าวสารจุฬาฯ

โครงการรักษ์ป่าน่าน สานสร้างป่า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ร่วมกับคณะทำงานโครงการรักษ์ป่าน่าน มูลนิอิออนแห่งประเทศไทย และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งศรีทอง จัดกิจกรรมปลูกป่า เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2561 เพื่อร่วมกันฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้จังหวัดน่าน และเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ณ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม บ้านทุ่งศรีทอง ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตลอดจนเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับพื้นที่จังหวัดน่าน ณ ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยมี พ.อ.ดุษิต ปุระเสาร์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38 เป็นประธานในพิธี  มีคณะทำงานโครงการรักษ์ป่าน่าน ผู้บริหารมูลนิธิอิออน หัวหน้าสำนักงานจังหวัดน่าน คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามเณร นักศึกษา นักเรียน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน พร้อมด้วยประชาชนในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน โดยร่วมกันปลูกกล้าไม้วงศ์ไม้ยาง จำนวน 13,850 ต้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ตระหนักถึงสถานการณ์การลดลงของพื้นที่ป่าและปัญหาความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ จึงได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคือ “สร้างสรรค์ องค์ความรู้และนวัตกรรม” และ “การสร้างสรรค์ สังคมไทย” โดยการให้บริการวิชาการ บริการวิจัย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อโจทย์และความต้องการของท้องถิ่น โดยได้ริเริ่มดำเนินโครงการภายใต้ชื่อ “นวัตกรรมการปลูกป่าโดยใช้ 3 เทคโนโลยี” ด้วยการใช้องค์ความรู้จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย ตลอดจนองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการปลูกป่าที่มีต้นแบบการดำเนินการในหลากหลายกรณี มาประยุกต์และผสมผสานกันเป็นนวัตกรรมการปลูกป่าของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการปลูกป่าครั้งนี้ ได้มีอาสาสมัครบุคลากรจุฬาฯ จำนวน 35 ท่าน จากหลากหลายหน่วยงาน อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ สถาบันเอเชียศึกษา สำนักบริหารการเงิน การบัญชี และพัสดุ สำนักบริหารเทคโนโลยีสารนิเทศ สำนักงานวิทยทรัพยากร สำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ ศูนย์เครื่องมือวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และศูนย์สื่อสารองค์กร ร่วมปลูกป่า และเยี่ยมชมการดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ณ พื้นที่จังหวัดน่าน พร้อมทั้งเยี่ยมชมสถานที่สำคัญด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของประชาชนชาวน่านด้วย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า