ข่าวสารจุฬาฯ

“แผ่นแปะฉีดวัคซีนด้วยเข็มขนาดจิ๋ว” นวัตกรรมจากอาจารย์วิศวฯ จุฬาฯ ราคาถูก ปลอดภัย ใช้งานง่าย ไม่เจ็บ

ปัจจุบันการฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกายไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคกลัวเข็มฉีดยา เมื่ออาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ศึกษาวิจัยพัฒนานวัตกรรมแผ่นแปะฉีดวัคซีนในรูปแบบเข็มขนาดจิ๋วสำหรับกดลงบนผิวหนัง มีต้นทุนการผลิตต่ำ มีความปลอดภัย ที่สำคัญคือไม่ทำให้เจ็บเวลาฉีดวัคซีน และสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง

ผศ.ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  ผู้พัฒนานวัตกรรมแผ่นแปะฉีดวัคซีนขนาดจิ๋ว เปิดเผยถึงที่มาของนวัตกรรมดังกล่าวว่า แผ่นแปะฉีดวัคซีนเป็นนวัตกรรมที่มีการผลิตในต่างประเทศ ซึ่งเป็นแผ่นแปะเข็มฉีดยาที่ทำมาจากโพลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ สำหรับแผ่นแปะฉีดวัคซีนด้วยเข็มขนาดจิ๋วที่อาจารย์พัฒนาขึ้นนั้นได้เริ่มต้นศึกษาวิจัยมา 3 – 4 ปีแล้ว  ซึ่งมีข้อดีที่แตกต่างจากแผ่นแปะฉีดวัคซีนของต่างประเทศคือใช้วัสดุที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เนื่องจากทำมาจากสารละลายน้ำตาล สามารถขึ้นรูปในอุณหภูมิต่ำ เช่น อุณหภูมิห้อง น้ำตาลที่ใช้เป็นน้ำตาลมอลโตสที่หาได้ทั่วไป นอกจากนี้ยังสามารถละลายได้เร็ว มีความปลอดภัย และราคาถูก บุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องให้แพทย์ พยาบาลเป็นผู้ฉีดวัคซีน นอกจากนี้ยังลดปริมาณของวัคซีนที่ใช้กว่า 30%

“จากการสำรวจพบว่าคนทั่วไปเป็นโรคกลัวเข็มฉีดยา 10 – 20 %  โดยเฉพาะในเด็กจะกลัวเข็มฉีดยามากกว่า 50 %  แผ่นแปะฉีดวัคซีนที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นแผ่นเข็มขนาดไมครอน จุดเด่นคือเวลาใช้จะไม่เจ็บ เพราะเป็นเข็มขนาดไม่ถึง 1 มิลลิเมตร    จึงไม่โดนเส้นประสาทรับความเจ็บปวด นอกจากนี้ยังใช้งานได้ง่าย เพียงแปะเข้าไปบริเวณผิวหนังแล้วกดไว้ประมาณ 5 นาที ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ในต่างประเทศต้องกดค้างไว้นานกว่า 20 นาทีเพื่อให้โพลิเมอร์ละลาย แผ่นแปะฉีดวัคซีนดังกล่าวยังสามารถใช้ได้กับวัคซีนทุกชนิด  ปัจจุบันนวัตกรรมดังกล่าวได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรโดยสถาบันทรัพย์สินทางปัญญา จุฬาฯ นอกจากแผ่นแปะเข็มขนาดจิ๋วในรูปแบบนี้แล้ว ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์การฉีดวัคซีนในลักษณะต่างๆ  เช่น แบบกลวง แบบเข็ม    ฉีดยา เป็นต้น” ผศ.วีระยุทธ กล่าว

ในการต่อยอดผลงานวิจัยนี้ไปสู่การงานในด้านอื่นๆนั้น  ผศ.ดร.วีระยุทธ ให้ข้อมูลว่า สามารถนำงานวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ทางด้านการแพทย์ได้หลากหลาย  เช่น ใช้ฉีดยาชาสำหรับผู้ที่มีอาการนิ้วล็อก ก่อนที่แพทย์จะฉีดยารักษาโรคนิ้วล็อก รวมทั้งการพัฒนาตัวนำส่งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้อยู่ในรูปแผ่นแปะขนาดจิ๋วเพื่อลดความเจ็บจากการฉีดยา ทั้งนี้ยังได้ร่วมมือทำงานวิจัยในลักษณะสหสาขาวิชากับอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ อีกด้วย

“นอกเหนือจากงานวิจัยเรื่องนี้แล้ว ที่ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยังมีผลงานวิจัยจำนวนมากที่เป็นการทำงานวิจัยในระดับไมโครซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  อาทิ  Needle Guide สำหรับนำทางเข็มในการใช้งานกับเครื่องอัลตราซาวด์  ท่อตาขนาดไมครอนเพื่อระบายน้ำในตา สำหรับผู้ที่เป็นโรคต้อหิน เป็นต้น ผศ.ดร.วีระยุทธ กล่าวทิ้งท้าย

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า