รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 กรกฎาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความสำคัญกับการศึกษาแบบ Action Learning ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำกรณีศึกษา เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในการทำงาน มีกระบวนการคิดหาวิธีในการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน เช่นเดียวกับวิชา Pricing Strategy โดย ผศ.ดร.ยุพิน ภัทรพงศ์สันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ ได้นำนิสิต MBA ในชั้นเรียนลงพื้นที่ทัศนศึกษาชุมชนบางลำภูล่าง (คลองสาน) เพื่อศึกษาเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ผ่าน Sasin Action Learning หลักสูตรนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวทางการศึกษาความคิดเกี่ยวกับคุณค่าในงานบริการ ผลิตภัณฑ์ และประสบการณ์ในการเรียนรู้นวัตกรรมแนวทางใหม่อย่างมีกลยุทธ์ การทัศนศึกษาช่วยให้นิสิตได้ซึมซับวิถีความเป็นอยู่ของชุมชน และมีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนนี้ในการเติบโตทั้งทางการตลาดและการพัฒนาพื้นที่ในหลากหลายมิติ เช่น การอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม อาหารของคนในพื้นที่ วิถีความเป็นอยู่ดั้งเดิมที่มีความน่าสนใจ โดยนำนวัตกรรมทางความคิดในรูปแบบใหม่เข้ามานำเสนอให้กับชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และเป็นโอกาสในการเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ ทำให้นิสิตสามารถคิดวิเคราะห์สถานการณ์จริงและนำการเรียนรู้ไปใช้ได้จริง
การนำนิสิตในชั้นเรียนลงพื้นที่ศึกษาชุมชนบางลำภูล่าง ทำให้นิสิตมีความเข้าใจประสบการณ์จริงในระหว่างการทัศนศึกษา และได้รับแรงบันดาลใจให้ดึงข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์ และนำมาอภิปรายในห้องเรียน เมื่อลงพื้นที่สำรวจชุมชน นิสิตจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น เรื่องของตลาดเช้าชุมชนอายุ 200 ปี ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รู้จักอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นและลักษณะเฉพาะของชุมชน และการแสดงศิลปะโบราณกระตั้วแทงเสือ สมัยกรุงศรีอยุธยาที่เป็นมรดกตกทอดดั้งเดิมของคนในพื้นที่บางลำภูล่าง ซึ่งอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้เห็นถึงวิธีการเพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชน
นอกจากนี้ นิสิตยังได้ลงพื้นที่สำรวจวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งตามกำแพงข้างทางเต็มไปด้วยศิลปะสมัยใหม่ตามแนวคิดการพัฒนาชุมชนของคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ ในขณะเดียวกันนิสิตได้เจาะลึกถึงรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น และยังได้รับข้อมูลเชิงลึกอันเกี่ยวกับเศรษฐกิจระดับรากหญ้า จุดประกายความคิดนิสิตในการสร้างรายได้ของชุมชนทั้งจากการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ ในขณะเดียวกันยังคงรักษามรดกทางศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่างยั่งยืน เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างแนวคิดทางธุรกิจที่สร้างสรรค์เป็นรูปเป็นร่าง
กระบวนการเรียนรู้นี้มีส่วนในการส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้า ในขณะเดียวกันก็ตอบสนองความต้องการของสังคม ช่วยให้นิสิตได้สำรวจแง่มุมที่ซ่อนอยู่ของชุมชนบางลำภูล่างที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก กระตุ้นให้พวกเขาวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และกำหนดแนวทางแก้ไขที่ปลดล็อกศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้ พร้อมตอบสนองความต้องการเร่งด่วนของชุมชนท้องถิ่นและเศรษฐกิจโดยรวมของชุมชน
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดสัมมนาผู้บริหาร ระดมความคิดเห็นเชิงนโยบาย เพื่อทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย ปี 2568
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Australian Academic Institutions เยี่ยมชมจุฬาฯ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
ขอเชิญร่วมงาน CU x MU Sustainability Fest 2025
23 มี.ค. 2568 เวลา 15.00 - 21.00 น.
อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เปิดรับสมัครหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและการจัดการ
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ International Education & Development Fieldwork ให้นักศึกษา Tohoku University และ Tsinghua University
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกิจกรรมทางศิลปะ ณ ประเทศสิงคโปร์ ภายใต้ความร่วมมือกับ Nanyang Polytechnic โครงการปฏิบัติการด้านการออกแบบอย่างยั่งยืน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้