รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 กรกฎาคม 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “วิจัยไทยก้าวไกล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน”
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษ เจาะข่าวเล่าเรื่อง “ก้าวสู่ปีที่ 18 : มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 เดินหน้าเชื่อมโยงงานวิจัยไทยให้ก้าวไกล” เวทีนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติที่นำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่พร้อมใช้ประโยชน์ เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และกระจายโอกาสในการเข้าถึงความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างองค์กรและเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารรี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดงานในวันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม 2566
ภายในงานแถลงข่าวได้นำเสนอผลงานวิจัยบางส่วน และช่วงเสวนาขนาดย่อม ได้แก่ เวที “Thailand Research Expo Talk: เวทีรวมพลังวิจัยไทยก้าวไกล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน” โดย ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รศ.ดร.สุดเขตต์ นาคะเสถียร ประธานเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย (RUN) รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ดร.เชาวลิต สิมสวย ประธานผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศและผู้แทนประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ และนายภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ช่วง “ Platinum Award Talk: เสริมพลังประชาคมวิจัยด้วยรางวัลแห่งเกียรติยศ” ได้รับเกียรติจากผู้ได้รับรางวัล Platinum Award ประจำปี 2565 ได้แก่ ศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ ที่ปรึกษาด้านการวิจัย และกรรมการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ รศ.มาลิณี จุโฑปะมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ นอกจากนี้ได้มีการเปิดตัวทูตวิจัย มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566‘คุณท็อป’ พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร ตัวแทนพลังคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 นำเสนอผลงานวิจัยจากเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน ใน 6 ประเด็นหลัก ได้แก่
ทั้งนี้ นอกจากการนำเสนอผลงานวิจัยในนิทรรศการ ยังมีการประชุม-สัมมนามากกว่า 100 หัวข้อ ทั้งหัวข้อสำหรับการบริหารจัดการงานวิจัยและปัญหาสำคัญของประเทศ หัวข้อที่อยู่ในความสนใจของสังคม การประชุมนำเสนอบทความผลงานวิจัย เช่น ทิศทางการลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน CEO Forum for Net Zero รวมไปถึงกิจกรรมการประกวดนวัตกรรมสายอุดมศึกษา
มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 ระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 ณ ชั้น 22 และ 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมงาน (ไม่มีค่าใช้จ่าย) ได้ที่ https://www.researchexporegis.com
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้