ข่าวสารจุฬาฯ

ผลงานวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัล “การประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2561”

ผลงานวิจัยจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์วิทยาศาสตร์ ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2561 ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2561 (Thailand Research Expo 2018)  ระหว่างวันที่ 9 – 13 สิงหาคม 2561 ณ ห้อง World Ballroom ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์  การประกวดผลงานนวัตกรรมในครั้งนี้มีผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมการประกวดทั้งสิ้น 116 ผลงานจาก 5 สาขา พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา

ผลงานวิจัยจากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์วิทยาศาสตร์ ฮาลาล จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลดังกล่าวประกอบด้วย

  • รางวัลข้อเสนอโครงการผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2561

      กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ รางวัลระดับดีเด่น ผลงานวิจัย “เคลียร์เวน: อุปกรณ์ช่วยระบุตำแหน่งหลอดเลือด”  ผลงานของนายภูริทัต แก้วอาสา นายปรินทร แจ้งทวี  โดยมี  ผศ.ดร.วนิดา  หลายวัฒนไพศาล  และ ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  นอกจากนี้ผลงานวิจัยเรื่องนี้ยังได้รับรางวัลผลงานนวัตกรรมนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2561 ระดับเหรียญทองแดง กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์

  • รางวัลผลงานนวัตกรรมนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2561 กลุ่มอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ  รางวัลระดับดี และระดับเหรียญทอง ผลงานวิจัย “เนยเทียมรสหวานสูตรสมดุลอัตราส่วนไขมันโอเมก้า” ผลงานของ น.ส.วริญญ์รภัส ฐิติรัตน์โภคิน น.ส.ชุติมณฑน์ เอี่ยมศรีทรัพย์  นายมติชน โลกคำลือ  โดยมี อ.ดร.สุกฤต ศิริขวัญพงศ์ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

  • รางวัลผลงานนวัตกรรมนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2561 กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ระดับเหรียญทองแดง ผลงานวิจัย “ครีมกันแดด​ผสมดินขาว (คาโอลิ​น) ​และน้ำมันเมล็ด​เทียน​ดำ” ผลงานของ น.ส.บัดดารีหย๊ะ โส๊ะสันสะ น.ส.นัสรินทร์ พละมี  น.ส.ซัมซัม อัรอูร  โดยมี  อ.ดร.สุกฤต ศิริขวัญพงศ์  รศ. ดร.วินัย  ดะห์ลัน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

นอกจากนี้ ยังมีผลงานวิจัยจากจุฬาฯ ได้รับรางวัลต่างๆ จากการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2561 ดังนี้

รางวัลข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2561

  • กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีทางการเกษตร ระดับดีมาก ผลงานวิจัย “การสร้างฟิล์มทองคำไม่ชอบน้ำอย่างยิ่งยวดบนพอลิเมอร์ซับสเตรต เพื่อใช้เป็นตัวตรวจวัดสารกำจัดวัชพืชในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร” ผลงานของ น.ส.ศิริวรรณ บุญมีวิริยะ โดยมี ผศ.ดร.คเณศ วงษ์ระวี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
  • กลุ่มเทคโนโลยี เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ ความมั่นคง สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ระดับดีเด่น ผลงานวิจัย “กระบวนการผลิตซิลเวอร์อะซิเตทเชิงพาณิชย์ที่มีประสิทธิภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่ปลดปล่อยของเสีย” ผลงานของ น.ส.มณิสร สุขสวัสดิ์ น.ส.ภรภัค สุริยะ โดยมี ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
  • กลุ่มสร้างสรรค์วัฒนธรรม การศึกษาและสังคม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับดีมาก ผลงานวิจัย “นวัตกรรมการออกแบบเครื่องประดับเคลื่อนไหวจากทุนวัฒนธรรมไทยประเภทหุ่นละครไทย” ผลงานของนายพสุ เรืองปัญญาโรจน์ โดยมี รศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

 

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า