ข่าวสารจุฬาฯ

สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ  หน่วยงานอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจำปี 2566

สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากคณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย กรมศิลปากร ให้ได้รับรางวัลหน่วยงานอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจำปี 2566  เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย วันที่ 2 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลดังกล่าวมอบให้กับบุคคลและหน่วยงานที่สั่งสมการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและการอนุรักษ์มรดกไทยมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยปีนี้มีผู้ที่ได้รับรางวัลประเภทบุคคลจำนวน 26 คน และประเภทหน่วยงานเพียงแค่  1 หน่วยงานคือสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ นอกจากนี้ ศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคมสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ได้รับรางวัลผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ปี 2566 อีกด้วย     

            รศ.ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ เปิดเผยว่า สถาบันไทยศึกษาได้ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์มรดกไทยมาเป็นเวลากว่า 40 ปี โดยอาจารย์ผู้ใหญ่ในอดีตได้สร้างและสั่งสมสิ่งเหล่านี้มาเป็นเวลานานจนเป็นที่ประจักษ์ว่าสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ เป็นแหล่งข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายครบถ้วน  จวบจนปัจจุบันสถาบันฯ ได้เข้าไปทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งเป็นความโดดเด่นของสถาบันฯ ที่ไม่ได้รักษาองค์ความรู้เอาไว้เพียงอย่างเดียว แต่พยายามจะนำไปใช้ไปประโยชน์อย่างกว้างขวางมากขึ้น ปัจจุบันโครงการของสถาบันไทยศึกษาที่เห็นชัดเจนคือการสำรวจเก็บข้อมูลของวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร  โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยของสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ กับนักวิจัยของกรมศิลปากร และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อนำข้อมูลองค์ความรู้ของวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร  ในส่วนที่เป็นพื้นที่ปิดไม่ได้ให้คนภายนอกเข้าไปเห็นได้ มาเผยแพร่ให้กับคนภายนอกได้เห็นในรูปแบบของ VR ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์กับการท่องเที่ยวของบ้านเราเป็นอย่างยิ่ง

รศ.ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ

บทบาทและภารกิจของสถาบันไทยศึกษา

            สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ มีนโยบายในการพัฒนาบทบาทการทำงานของสถาบันให้ครบวงจรทั้งหมด โดยสถาบันไทยศึกษามีทุนทางวัฒนธรรมที่ดีมากทั้งในส่วนของข้อมูลและองค์ความรู้โดยเฉพาะงานด้านศิลปวัฒนธรรม นาฏยศิลป์ไทย ภาษาวัฒนธรรม วรรณคดี ประเพณี โดยต้นทุนที่มีอยู่ทั้งหมดนี้นักวิจัยของสถาบันได้ลงพื้นที่ศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม รวมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

            นอกจากนี้สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับกระทรวงต่างๆ เพื่อนำองค์ความรู้ไปวางนโยบายให้กับประเทศชาติ เช่น ความร่วมมือกับกระทรวงวัฒนธรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรมผ้าไทย และการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อให้เข้าไปอยู่ในการประเมินขององค์การยูเนสโก ในขณะเดียวกัน ทางสถาบันมีการทำงานในรูปแบบเครือข่ายนักวิจัยซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดประชุมวิชาการที่เป็นการรวมตัวกันของนักวิจัย นักวิชาการ เป็นการสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน และเกิดการช่วยเหลือกันในวงวิจัยตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีการจัดทำวารสารเผยแพร่ข่าวสารผลงานวิจัย วิชาการ ซึ่งวารสารที่ทางสถาบันจัดทำนั้นมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในส่วนของวารสารภาษาอังกฤษของสถาบันไทยศึกษานั้น นับเป็นที่เดียวในประเทศไทยที่มีวารสารไทยศึกษาเป็นภาษาอังกฤษเป็นที่รู้จักทั่วโลก

 ช่องทางในการเข้าถึงสถาบันไทยศึกษา

            รศ.ฤทธิรงค์  กล่าวว่าสถาบันไทยศึกษามี platform ให้ผู้สนใจเข้าถึงได้หลากหลายช่องทาง ประกอบด้วย

– Facebook เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เกร็ดความรู้ทางด้านไทยศึกษา รวมถึงความเคลื่อนไหวของวงการด้านไทยศึกษาเกี่ยวกับการจัดประชุมวิชาการ

– Website สามารถเข้าไปดูบทความทางวิชาการด้านไทยศึกษาได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งเนื้อหาที่เป็น  E-book หนังสือหายากทั้งหลาย

– Youtube สามารถเข้าไปรับชมการประชุมวิชาการที่ผ่านมาทั้งหมดของสถาบันไทยศึกษา

วารสารวิชาการ เป็นพื้นที่สำหรับนักวิจัยที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

แผนการดำเนินงานต่อไปในอนาคตของสถาบันไทยศึกษา

            “เราพยายามผลักดันสถาบันไทยศึกษาเข้าไปอยู่ใน platform ระดับนานาชาติให้มากขึ้น  โดยเฉพาะประเด็นทางด้านไทยศึกษาที่เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก เรากำลังก่อตั้งสมาพันธ์นักวิจัยที่อยู่ในเอเชียทั้งหมดให้มารวมกัน เพื่อสร้างตัวกลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  นอกจากนี้สถาบันกำลังจะดำเนินการจัดตั้งสมาคมพุทธศาสน์ศึกษานานาชาติ ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะทำให้สถาบันให้เข้าไปมีบทบาทในสังคมมากขึ้น โดยการเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อสื่อสารกับคนทั่วไปให้มีความเข้าใจในรูปแบบที่ง่าย รวมทั้งพยายามสร้างบทบาทให้เห็นว่าสาขาวิชาด้านไทยศึกษาสามารถนำไปเชื่อมโยงกับศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อนำไปต่อยอดองค์ความรู้เผยแพร่สู่สาธารณชนในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง” ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ กล่าวในที่สุด

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า