รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 กันยายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
สำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ จัดกิจกรรมเดินทางศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน SDGs ณ Universiti Sains Malaysia ประเทศมาเลเซีย ผ่านโครงการ SDGs Integrated Project & Young Leaders Exchange Programme เมื่อวันที่ 15 – 17 สิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาต่างมหาวิทยาลัย รวมทั้งต่างประเทศ และเพื่อเป็นการเพิ่ม Global Impact ในกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางผู้นำนิสิต กิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์และยังสอดคล้องกับหลักเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ที่ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เน้นย้ำและเชื่อมโยงกับโครงการ
โครงการได้คัดเลือกนิสิตเข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน แบ่งเป็นผู้นำนิสิต สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 10 คน ผู้นำนิสิตสมาชิก Chula International Volunteer Hub จำนวน 10 คน และผู้นำนิสิตนักกิจกรรม /นิสิตที่สนใจงานด้าน SDGs จำนวน 10 คน โดยมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี ด้านการพัฒนานิสิต รศ.ดร.ปกรณ์ วรานุศุภากุล และ ผศ.ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการพัฒนานิสิต รวมทั้งผู้อำนวยการสำนักบริหารกิจการนิสิต ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานิสิต ผู้อำนวยการฝ่ายทุนการศึกษาและบริหารนิสิต หัวหน้ากลุ่มภารกิจประสานงานและเครือข่าย หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนากิจกรรมผู้นำนิสิตและกิจกรรมนานาชาติอย่างยั่งยืน หัวหน้ากลุ่มภารกิจขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนรู้รายบุคคล หัวหน้ากลุ่มภารกิจหอพักนิสิต หัวหน้ากลุ่มภารกิจทุนการศึกษาและบริการนิสิตและเจ้าหน้าที่สำนักบริหารกิจการนิสิต รวมทั้งสิ้น 42 คน
กิจกรรมหลักจะเป็นการเรียนรู้โครงการด้าน SDGs ของทั้งสองมหาวิทยาลัยผ่านกิจกรรมที่นิสิตนักศึกษาได้ดำเนินการ และการนำเสนอแนวนโยบายของผู้บริหาร หลังจากนั้นนิสิตนักศึกษาแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม หาแนวทางและการดำเนินการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยของตนเอง ผ่านการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยอื่น และประยุกต์มาใช้ในมหาวิทยาลัยของตนเอง ตัวอย่างโครงการที่ได้นำเสนอในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และหาแนวทางแก้ไข เช่น การเพิ่มเส้นทางจักรยานในมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มการใช้ขนส่งสาธารณะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเปิดศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า แฟชั่นต่างๆ สินค้ามือสอง เพื่อลดการซื้อใหม่ ลดการผลิตและการเพิ่มขยะโดยไม่จำเป็น เป็นต้น โดยโครงการ/กิจกรรมที่ได้นำเสนอในการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ทางสำนักบริหารกิจการนิสิตจะพิจารณาและอาจจะสนับสนุนการดำเนิการต่อในอนาคตต่อไป นอกจากนี้ คณะผู้บริหารยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางความร่วมมือในอนาคตอีกด้วย เพื่อให้ทั้งสองมหาวิทยาลัย มีผลงานและมีประสิทธิภาพในการสร้าง Global Impact ต่อไป
Universiti Sains Malaysia เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับด้าน Global Inpact ให้เป็นอันดับ 1 ของเอเชีย และอันดับ 4 ของโลก จาก THE Impact Rankings 2023 ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและสร้างผลกระทบสูงต่อสังคม โดยประเมินจากบทบาทของมหาวิทยาลัยทั้งในด้านงานวิจัย การบริหารหน่วยงาน งานบริการวิชาการ และการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้