รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 กันยายน 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนดจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565 ในวันพฤหัสบดีที่ 5 วันศุกร์ที่ 6 และวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยจะมีการเปิด-ปิดประตูจุฬาฯ และการจัดการจราจรในวันดังกล่าว ดังนี้
– ปิดประตูหน้ามหาวิทยาลัยฝั่งหอประชุมจุฬาฯ ด้านถนนพญาไททั้งทางเข้าและทางออก โดยกำหนดเป็นเส้นทางเสด็จฯ เท่านั้น พร้อมจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำคอยควบคุม
– ปิดประตูคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยเปิดประตูทางเท้าฝั่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เวลา 05.00 – 22.00 น.
– ตั้งจุดคัดกรองที่ประตูคณะวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้ผ่านเฉพาะรถขององคมนตรี คณะผู้บริหาร และรถที่มีบัตรเชิญพิเศษผ่านเข้า-ออกได้ สำหรับประตูทางเท้า เปิดเวลา 03.00 – 22.00 น.
– ปิดการจราจรแยกหอนาฬิกา หน้าหอประวัติจุฬาฯ ห้ามรถที่ไม่เกี่ยวข้องผ่านเข้ามาบริเวณ วงเวียนเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่จะอนุญาตเฉพาะรถที่มีบัตรอนุญาตพิเศษ
– ปิดการจราจรแยกพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้ามรถที่ไม่เกี่ยวข้องเลี้ยวขวาเข้ามาบริเวณ วงเวียนเสาธงหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุญาตเฉพาะรถที่มีบัตรอนุญาตพิเศษ
– ปิดประตูคณะอักษรศาสตร์ตลอดเวลา สำหรับประตูทางเท้าให้เปิดไว้ถึงเวลา 22.00 น. ส่วนประตูทางเข้าอาคารจอดรถ 2 ให้เข้าเฉพาะรถยนต์ที่จะขึ้นจอดบนอาคารเท่านั้น ไม่อนุญาตให้รถยนต์ผ่านเข้ามาในมหาวิทยาลัย
– เปิดประตูคณะรัฐศาสตร์ เวลา 05.00 – 22.00 น. รถยนต์ทั่วไปสามารถผ่านเข้า-ออกและ ขึ้นจอดรถที่อาคารจอดรถ 3 ได้
– ปิดการจราจรที่แยกหน้าอาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ตรวจสอบรถ อนุญาตเฉพาะรถที่มีตราติดรถยนต์ของมหาวิทยาลัย และรถที่มีบัตรอนุญาตพิเศษผ่านเข้า-ออกได้ กรณีรถจักรยานยนต์อนุญาตเฉพาะรถของบุคลากรและผู้ที่ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยหรือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเท่านั้น
– ปิดการจราจรที่แยกลานจักรพงษ์ ตรวจสอบรถ อนุญาตเฉพาะรถที่มีบัตรอนุญาตพิเศษ กรณีรถยนต์ของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ แนะนำให้นำรถยนต์เข้า-ออกด้านภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ใกล้ร้านกาแฟทรู)
– ปิดประตูคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ส่วนประตูทางเท้าเปิดตลอดเวลา
– ประตูทางเท้าด้านจามจุรีสแควร์เปิดเวลา 05.00 – 22.00 น.
– ประตูคณะเภสัชศาสตร์ เปิดตามเวลาปกติ เวลา 05.00 – 22.00 น. วันเสาร์ปิดเวลา 19.00 น.
– ประตูด้านอาคารวิศวกรรมสถาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปิดตลอดเวลา โดยให้ตั้งป้ายห้ามจอดรถขวางหน้าประตู เตรียมเป็นทางสำรอง
– ประตูสำนักงานมหาวิทยาลัย เปิดเวลา 05.00 – 22.00 น. วันเสาร์ปิดเวลา 19.00 น.
– ประตูคณะนิเทศศาสตร์ เปิดเวลา 05.00 – 22.00 น. วันเสาร์ปิดเวลา 19.00 น.
– ประตูสถาบันศศินทร์ เปิดเวลา 05.00 – 24.00 น.
– ประตูสนามกีฬาจุฬาฯ เปิดเวลา 05.00 – 22.00 น. วันเสาร์ปิดเวลา 19.00 น.
– ประตูธรรมสถาน เปิดตลอดเวลา
– ประตูข้างอาคารจามจุรี 9 เปิดตามเวลาปกติ เวลา 05.00 – 22.00 น.
หมายเหตุ
– งดให้บริการรถสกู๊ดเตอร์ไฟฟ้า และรถจักรยานฝั่งหอประชุมจุฬาฯ
– รถสามล้อ MuvMi จะไม่เข้ามหาวิทยาลัย ส่วนที่ประตูรัฐศาสตร์ รถสามล้อ MuvMi จะผ่านเข้าถึงหน้าอาคารเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์เท่านั้น
– ในวันถ่ายภาพหมู่บัณฑิตและพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จะมีร้านน้ำเปิดให้บริการตามจุดต่างๆ สำหรับผู้นำแก้วมาเอง จะจ่ายแค่ค่าน้ำ ไม่คิดค่าแก้วและน้ำแข็ง ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sa.chula.ac.th/announcement/waterdrinkgraduate/ หรือสแกน QR Code
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้