รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 กันยายน 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนดจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565 ในวันพฤหัสบดีที่ 5 วันศุกร์ที่ 6 และวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยจะมีการเปิด-ปิดประตูจุฬาฯ และการจัดการจราจรในวันดังกล่าว ดังนี้
– ปิดประตูหน้ามหาวิทยาลัยฝั่งหอประชุมจุฬาฯ ด้านถนนพญาไททั้งทางเข้าและทางออก โดยกำหนดเป็นเส้นทางเสด็จฯ เท่านั้น พร้อมจัดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำคอยควบคุม
– ปิดประตูคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยเปิดประตูทางเท้าฝั่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เวลา 05.00 – 22.00 น.
– ตั้งจุดคัดกรองที่ประตูคณะวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้ผ่านเฉพาะรถขององคมนตรี คณะผู้บริหาร และรถที่มีบัตรเชิญพิเศษผ่านเข้า-ออกได้ สำหรับประตูทางเท้า เปิดเวลา 03.00 – 22.00 น.
– ปิดการจราจรแยกหอนาฬิกา หน้าหอประวัติจุฬาฯ ห้ามรถที่ไม่เกี่ยวข้องผ่านเข้ามาบริเวณ วงเวียนเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่จะอนุญาตเฉพาะรถที่มีบัตรอนุญาตพิเศษ
– ปิดการจราจรแยกพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้ามรถที่ไม่เกี่ยวข้องเลี้ยวขวาเข้ามาบริเวณ วงเวียนเสาธงหน้าหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุญาตเฉพาะรถที่มีบัตรอนุญาตพิเศษ
– ปิดประตูคณะอักษรศาสตร์ตลอดเวลา สำหรับประตูทางเท้าให้เปิดไว้ถึงเวลา 22.00 น. ส่วนประตูทางเข้าอาคารจอดรถ 2 ให้เข้าเฉพาะรถยนต์ที่จะขึ้นจอดบนอาคารเท่านั้น ไม่อนุญาตให้รถยนต์ผ่านเข้ามาในมหาวิทยาลัย
– เปิดประตูคณะรัฐศาสตร์ เวลา 05.00 – 22.00 น. รถยนต์ทั่วไปสามารถผ่านเข้า-ออกและ ขึ้นจอดรถที่อาคารจอดรถ 3 ได้
– ปิดการจราจรที่แยกหน้าอาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ ตรวจสอบรถ อนุญาตเฉพาะรถที่มีตราติดรถยนต์ของมหาวิทยาลัย และรถที่มีบัตรอนุญาตพิเศษผ่านเข้า-ออกได้ กรณีรถจักรยานยนต์อนุญาตเฉพาะรถของบุคลากรและผู้ที่ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยหรือบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเท่านั้น
– ปิดการจราจรที่แยกลานจักรพงษ์ ตรวจสอบรถ อนุญาตเฉพาะรถที่มีบัตรอนุญาตพิเศษ กรณีรถยนต์ของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ แนะนำให้นำรถยนต์เข้า-ออกด้านภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า (ใกล้ร้านกาแฟทรู)
– ปิดประตูคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ส่วนประตูทางเท้าเปิดตลอดเวลา
– ประตูทางเท้าด้านจามจุรีสแควร์เปิดเวลา 05.00 – 22.00 น.
– ประตูคณะเภสัชศาสตร์ เปิดตามเวลาปกติ เวลา 05.00 – 22.00 น. วันเสาร์ปิดเวลา 19.00 น.
– ประตูด้านอาคารวิศวกรรมสถาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปิดตลอดเวลา โดยให้ตั้งป้ายห้ามจอดรถขวางหน้าประตู เตรียมเป็นทางสำรอง
– ประตูสำนักงานมหาวิทยาลัย เปิดเวลา 05.00 – 22.00 น. วันเสาร์ปิดเวลา 19.00 น.
– ประตูคณะนิเทศศาสตร์ เปิดเวลา 05.00 – 22.00 น. วันเสาร์ปิดเวลา 19.00 น.
– ประตูสถาบันศศินทร์ เปิดเวลา 05.00 – 24.00 น.
– ประตูสนามกีฬาจุฬาฯ เปิดเวลา 05.00 – 22.00 น. วันเสาร์ปิดเวลา 19.00 น.
– ประตูธรรมสถาน เปิดตลอดเวลา
– ประตูข้างอาคารจามจุรี 9 เปิดตามเวลาปกติ เวลา 05.00 – 22.00 น.
หมายเหตุ
– งดให้บริการรถสกู๊ดเตอร์ไฟฟ้า และรถจักรยานฝั่งหอประชุมจุฬาฯ
– รถสามล้อ MuvMi จะไม่เข้ามหาวิทยาลัย ส่วนที่ประตูรัฐศาสตร์ รถสามล้อ MuvMi จะผ่านเข้าถึงหน้าอาคารเกษมอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์เท่านั้น
– ในวันถ่ายภาพหมู่บัณฑิตและพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จะมีร้านน้ำเปิดให้บริการตามจุดต่างๆ สำหรับผู้นำแก้วมาเอง จะจ่ายแค่ค่าน้ำ ไม่คิดค่าแก้วและน้ำแข็ง ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sa.chula.ac.th/announcement/waterdrinkgraduate/ หรือสแกน QR Code
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล” วัฒนธรรมเห่เรือในวรรณคดีและศิลปกรรมไทย และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้