ข่าวสารจุฬาฯ

 “ประติมากรรมเสียงสวรรค์” ศิลปะผสานเทคโนโลยีที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

ผู้ที่ผ่านไปมาบริเวณหน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คงจะสะดุดตากับงานประติมากรรมอันโดดเด่นงดงามของนิสิตหญิงกำลังสีซอด้วงอยู่ในศาลาหกเหลี่ยม พร้อมทั้งมีเสียงซออันไพเราะดึงดูดผู้ชมให้เข้ามาชื่นชมประติมากรรม

“ประติมากรรมเสียงสวรรค์” คือชื่อของประติมากรรมนี้ซึ่งคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดงานเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา โดยมี ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานในงาน

ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์  จุฬาฯ กล่าวถึงการสร้างประติมากรรมนี้ว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จุดเด่นของงานประติมากรรมคือเมื่อใครเดินผ่านมาในรัศมีที่กำหนด จะมี Motion Detector ที่เป็น Sensor เกิดเป็นเสียงเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” บรรเลงโดยซอด้วง นอกจากนี้เวลากลางคืนก็จะมีแสงสว่างรอบศาลาที่สวยงาม ช่วยให้พื้นที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์มีความสว่างไสว ยิ่งไปกว่านั้นทางคณะยังสร้างงานประติมากรรมนี้โดยใช้เทคโนโลยี AR เมื่อใช้กล้องจากสมาร์ทโฟนส่องด้วยโปรแกรม Artivive ก็จะเห็นศาลานี้งดงามราวศาลาสวรรค์

รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เผยถึงความหมายของงานประติมากรรมชิ้นนี้ว่า รูปหล่อนิสิตหญิงบรรเลงเครื่องดนตรีซอด้วงมีความหมายสื่อแทนการเป็นตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่ผดุงรักษาและส่งต่อรากของคณะศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักปรัชญาที่คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้วางไว้คือการดูแลสิ่งที่เป็นสมบัติเดิม ในขณะเดียวกันก็ก้าวไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่าง Generation

“ประติมากรรมเสียงสวรรค์” ออกแบบโดย อ.วิรัช สงเคราะห์ อาจารย์ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งทำงานร่วมกับ อ.อรวี บำเพ็ญเพ็ชร และ ดร.วรพจน์ ส่งเจริญ นิสิตเก่าของคณะ เพลงที่นำมาบรรเลงคือเพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ เวอร์ชันสำหรับวงดนตรีไทย ซึ่งมาจากเพลง “มหาจุฬาลงกรณ์” เพลงประจำมหาวิทยาลัยที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้งานประติมากรรมยังมีความพิเศษในเรื่องการนำเทคโนโลยี  AR มาใช้ ทำให้นิสิตเก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศสามารถเข้ามาดูประติมากรรมนี้ได้เสมือนอยู่หน้าคณะ

“ประติมากรรมนี้เป็นการผนวกงานศิลปะกับเทคโนโลยี AR ไว้ด้วยกัน ทำให้ภาพ เสียง และเรื่องราวต่างๆ คงอยู่ต่อไป ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย เป็นการปักหมุดให้ประติมากรรมนี้เป็น Landmark ที่โดดเด่นหน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รวมทั้งในโลกเสมือนจริง” รศ.ดร.พรประพิตร์ กล่าว

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า