รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 ตุลาคม 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมจุฬาฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2565 เป็นวันที่สาม โดยมี ศ.กิตติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี เฝ้าฯ รับเสด็จ
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ในวันที่สาม มีผู้สำเร็จการศึกษาเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จำนวนทั้งสิ้น 1,524 คน ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์ 425 คน คณะสัตวแพทยศาสตร์ 152 คน คณะรัฐศาสตร์ 394 คน บัณฑิตวิทยาลัย 343 คน คณะพยาบาลศาสตร์ 51 คน สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ 81 คน วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ 78 คน ผู้แทนขึ้นรับพระราชทานอนุปริญญาบัตร ผู้รับเหรียญรางวัลในหลักสูตรปริญญาบัณฑิต 129 คน ผู้รับพระราชทานเงินรางวัลและทุนการศึกษาในเงินทุนภูมิพล 25 คน รวมผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรทั้งสามวัน 9,620 คน ภายหลังพิธีพระราชทานปริญญาบัตร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานพระราโชวาทแก่บัณฑิตจุฬาฯสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปยังห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ศ.กิตติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภามหาวิทยาลัยเข้าเฝ้าฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียนแพและกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสครบ 50 ปีที่ทรงเป็นชาวจุฬาฯ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธปฏิมาที่ระลึก ในโอกาสครบ 50 ปีที่ทรงเป็นชาวจุฬาฯ โดยทรงเข้าศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 2516 จากนั้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำรัส
พระพุทธปฏิมาองค์นี้จัดสร้างขึ้นจากแก้วรัตนชาติ พระเศียรประดับด้วยพระเกตุทองคำ รัศมีรูปเปลวไฟลงยาราชาวดี ขนาดหน้าตักสามนิ้ว คล้องสังวาลประดับอัญมณีทับทิมสีชมพู ประดิษฐานบนฐานหินอ่อนสีขาว
จุฬาฯ ต้อนรับคณะครูและนักเรียนจาก YAAE สาธารณรัฐประชาชนจีน เยี่ยมชม รับฟังข้อมูลหลักสูตรศึกษาต่อจุฬาฯ
จุฬาฯ ร่วมกับ ททท.เชิญร่วมงาน “อะ’ลอง Uttaradit” นำเสนอมุมมองใหม่ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk : Generative AI หนึ่งปีที่ผ่านมามีอะไรเปลี่ยนไปบ้างนะ
19 ก.ย. 67 เวลา 12.00 น.
บางโพลีฟวิ่งแลป สถาปัตย์ จุฬาฯ เป็นตัวอย่างระดับนานาชาติด้านความยั่งยืนของ ISCN report 2024
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย “จุฬาฯ ร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม”
สัมมนา “From Startups to Scale-Ups: Swedish Perspective” CUTIP จุฬาฯ ร่วมส่งเสริมความสำเร็จสตาร์ทอัพไทยในระดับสากลสู่สวีเดน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้