รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 ตุลาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโครงการปลอดปรสิต ครั้งที่ 9 นำคณาจารย์และนิสิตลงพื้นที่เผยแพร่ความรู้และให้บริการตรวจวินิจฉัยปรสิตแก่เด็กที่สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด จ.นนทบุรี ระยะเวลาการปฏิบัติงาน เมื่อเดือนเมษายน – มิถุนายนที่ผ่านมา
รศ.ดร.ดวงดาว ปาละสุวรรณ ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ประสานงานหลักโครงการปลอดปรสิต ครั้งที่ 9 เปิดเผยว่า ทางภาควิชาฯ มีพันธกิจในการสอนนิสิตเทคนิคการแพทย์ซึ่งจะต้องเรียนเกี่ยวกับการตรวจเชื้อปรสิต ซึ่งการเรียนอยู่ในแค่ห้องเรียนเป็นการเรียนในเชิงทฤษฎี ไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ทางภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิกและหลักสูตรเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ มีความมุ่งหมายให้นิสิตนำองค์ความรู้ที่ได้เรียนในวิชาชีพไปช่วยเหลือผู้อื่นและดูแลสังคม จึงเกิดโครงการปลอดปรสิตขึ้น
เหตุผลที่ตรวจเชื้อปรสิตที่สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด นนทบุรี
ปัจจุบันปัญหาเรื่องพยาธินั้นสามารถพบได้ทุกที่ เหตุผลที่เลือกสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด เนื่องจากเด็กผู้ชายในสถานสงเคราะห์มีอายุตั้งแต่ 3 – 18 ปี ซึ่งอยู่ในวัยซุกซนและมีการคลุกคลีกันมาก ทำให้มีโอกาสเกิดพยาธิได้ง่าย อีกทั้งสถานสงเคราะห์ยังขาดการดูแลเรื่องการตรวจพยาธิ จึงเป็นที่มาของโครงการนี้ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 9
อันตรายของเชื้อปรสิต และวิธีการรักษา
เชื้อปรสิตมีอันตรายต่อสุขภาพเด็ก ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก ทำให้เกิดอาการท้องเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศและสภาพสิ่งแวดล้อมที่ทำให้พยาธิเจริญเติบโตได้ดี เมื่อพยาธิเข้าไปในร่างกาย จะไปอยู่ในลำไส้ เข้าไปแย่งอาหาร ขัดขวางการเจริญเติบโตของเด็ก อาจทำให้เด็กนอนไม่หลับเนื่องจากอาการคัน เช่น พยาธิเข็มหมุดที่ออกมาทางทวารหนัก พยาธิปากขอจะดูดเลือดในลำไส้ ทำให้โลหิตจางได้ โดยสถานสงเคราะห์ฯ จะมีแพทย์ประจำ ซึ่งจะนำผลการตรวจของภาควิชาฯ ไปจ่ายยาให้เด็กโดยเฉพาะตามชนิดของพยาธิ
ขั้นตอนการให้บริการตรวจหาเชื้อปรสิต
เริ่มจากการนำกระปุกเก็บอุจจาระไปให้เจ้าหน้าที่สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด และเดินทางไปเก็บตัวอย่างอุจจาระในเด็กที่สถานสงเคราะห์จำนวน 96 คน จากนั้นจึงนำตัวอย่างอุจจาระมาตรวจที่ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ โดยนิสิตเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 3 จะดำเนินการตรวจตัวอย่างสิ่งส่งตรวจภายใต้การควบคุมดูแลจากคณาจารย์ และส่งผลกลับไปยังสถานสงเคราะห์เพื่อจ่ายยาตามผลการตรวจ จากการตรวจตัวอย่างอุจจาระของเด็กจำนวน 96 ราย พบว่ามีผู้ติดเชื้อปรสิตจำนวน 20 ราย เชื้อปรสิตที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ พยาธิโปรโตซัว พยาธิปากขอ
ความสำเร็จและประโยชน์ของโครงการนี้
โครงการปลอดปรสิต ครั้งที่ 9 ประสบความสำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการและได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี น้องๆ ในสถานสงเคราะห์ให้ความร่วมมือในการเก็บอุจจาระมาตรวจหาพยาธิ นอกจากนี้นิสิตเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้ฝึกวิชาชีพในการทำประโยชน์เพื่อสังคม ได้ลงมือปฏิบัติจริงซึ่งแตกต่างจากการเรียนในห้องเรียน
หน่วยงานที่สนใจจะสนับสนุนโครงการปลอดปรสิตของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ สามารถติดต่อได้ที่ รศ.ดร.ดวงดาว ปาละสุวรรณ ภาควิชาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2218-1541
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษครั้งที่ 7 “Human + Machine: A New Territories of Design” แลกเปลี่ยนความรู้การออกแบบในโลกดิจิทัล
PMCU เชิญร่วมงานเทศกาลอิ่มเจ อิ่มบุญ อิ่มความสุข ที่สามย่าน-บรรทัดทอง
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และ PMCU รับมอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนที่ประสบอุทกภัยจังหวัดน่าน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้