รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 ตุลาคม 2561
ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยโครงการ Chula Zero Waste พร้อมภาคีความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมบริษัท คิดคิด จำกัด เปิดตัวแอปพลิเคชัน “ECOLIFE แอปเพื่อโลก” โดย ผศ.ดร.วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกายภาพและการพัสดุงานกายภาพ ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม ผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste พร้อมด้วยคุณนุ่น ศิรพันธ์ วัฒนจินดา และคุณท็อป พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร ผู้สร้างสรรค์แอปพลิเคชัน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม 2561 ณ PLEARN Space พื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่สำหรับชาวจุฬาฯ ชั้น 1 อาคารเปรมบุรฉัตร
ภายในงานมีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ คุณนุ่น ศิรพันธ์ วัฒนจินดา และคุณท็อป พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร เล่าถึงที่มาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นในการลดพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง จุดเริ่มต้นเกิดจากปัญหาวิกฤตการณ์ขยะโลก เมื่อพลาสติกได้รับการจัดการที่ไม่ถูกต้อง โมเลกุลพลาสติกจะกระจายอยู่ในท้องทะเล เมื่อสัตว์ทะเลรับพลาสติกเข้าสู่ร่างกาย สุดท้ายแล้วมันจะกลับมาทำลายห่วงโซ่อาหาร และพวกเรา ‘มนุษย์’ คือผู้ได้รับผลกระทบในที่สุด จึงมีการสร้างแอปพลิเคชันนี้เพื่อสร้างจิตสำนึกใหม่ตามนโยบายตามหลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle)
ขอเชิญชวนนิสิต คณาจารย์ บุคลากรและผู้ที่สนใจดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ECOLIFE ในรูปแบบเกมมือถือ เมื่อผู้เล่นใช้บริการตามร้านอาหาร ร้านน้ำ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปฏิเสธไม่รับพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ผู้ใช้งานสามารถสแกน QR code ที่ติดอยู่ตามร้านต่างๆ เพื่อสะสมคะแนนและรับสิทธิประโยชน์มากมายโดยเป้าหมายร่วมลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งผ่านแอปพลิเคชัน ECOLIFE จำนวน 1 ล้านชิ้นให้ได้ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงสิ้นปี 2561 เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการของส่งต่อเจตนารมณ์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล”และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้