ข่าวสารจุฬาฯ

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ กับงานวิจัยที่ตอบโจทย์ทางสังคมและการเมืองการปกครอง

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์


ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร

              ศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นที่สนใจทำงานวิจัยว่า ตนเป็นคนชอบคิดชอบเขียนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานวิชาการ กึ่งวิชาการ หรืองานที่ไม่เป็นวิชาการ ความสำเร็จในการทำงานวิจัยจึงเกิดจากความชอบ และความขยันหมั่นเพียร

              สำหรับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ จะพิจารณาจากงานวิจัยในภาพรวมตั้งแต่งานชิ้นแรกจนถึงล่าสุด  ส่วนผลงานที่คัดสรรมาเป็นพิเศษจากงานวิจัยทั้งหมด ได้แก่

  • Postmodern: ชะตากรรมโพสต์โมเดิร์นในอุ้งมือนักปรัชญาการเมืองโบราณ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Openbooks, 2550.
  • ข้อวิพากษ์ทฤษฎีการเมืองกระแสหลักของ คลิฟฟอร์ด เกียทซ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Openbooks, 2551.
  • นิธิ เอียวศรีวงศ์ใน/กับวิกฤตการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ, 2557. ได้รับรางวัลวิจัย ระดับดี สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • จอน เอลสเตอร์กับทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Way of Book, 2557.
  • ประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข: บทวิเคราะห์มาตรา 7 จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (จากมุมมองทางรัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2560. ได้รับรางวัลงานวิจัย ระดับดี สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี 2560 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • ปิยกษัตริย์: เส้นทางสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเดนมาร์ก, 1849. กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์คบไฟ, 2561.

              แนวทางการทำงานวิจัยสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ของ ศ.ดร.ไชยันต์ เป็นการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางและระเบียบวิธิวิจัยที่เป็นแบบอย่างของการศึกษาตีความตัวบทเชิงวิพากษ์ แนวทางการศึกษาบริบททางความคิด ซึ่งจะสามารถสร้างการรับรู้ทางทฤษฎีจากมุมมองที่เปิดกว้าง หลากหลาย ไม่ยึดติดกับ ‘กรอบ’ หรือ ‘วิธีวิจัย’ แบบใดแบบหนึ่งในการวิเคราะห์และตีความข้อมูล ซึ่งข้อเท็จจริงจากกรอบหรือ ‘อคติ’ ทางวิชาการ จะเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยเพื่อตอบโจทย์ให้กับปัญหาทางสังคมและการเมืองการปกครองไทยอย่างแท้จริง

              ผลงานวิจัยเรื่อง “ผลจากการศึกษาหลักว่าด้วยสัมพันธภาพทางอำนาจสำหรับจัดการปกครองและหลักนิติรัฐ-นิติธรรม โดยเฉพาะต่อกรณีปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง อันเนื่องมาจากประเด็นเรื่องรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและสถาบันพระมหากษัตริย์” เป็นงานวิจัยที่สะท้อนถึงลักษณะเฉพาะของการปกครองแบบ Constitutional Monarchy ที่มีพัฒนาการแตกต่างกันตามเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละสังคม ซึ่งทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อบทบาทและความสำคัญของสถาบันพระกษัตริย์ในฐานะที่เป็นสถาบันหลักของสังคมไทยบนหลักการและเหตุผลอย่างแท้จริง เป็นการลดความขัดแย้งของคนในสังคมที่มีสาเหตุมาจากการขาดความเข้าใจหรือไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการมีอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์

              สำหรับประโยชน์ของงานวิจัยในทางสังคม ศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวว่าการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางปรัชญาการเมืองจะทำให้คนและสังคมมีเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์และทำความรู้จักตัวตนของตนเอง ที่สำคัญยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำให้เกิดกระบวนการคิดและเรียนรู้เชิงวิพากษ์และค้นหาประเด็นที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิตอันเกี่ยวข้องกับความรู้ ความดี ความยุติธรรม รูปแบบการเมืองการปกครอง ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้กับสังคมได้มีสติไตร่ตรองเรื่องราวต่างๆ อย่างเท่าทันและรอบคอบ

              ศ.ดร.ไชยันต์ ได้วางแผนการทำงานวิจัยในอนาคตว่า จะศึกษาวิจัยพัฒนาการของระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับพัฒนาการระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย ศึกษาการเมืองไทยในประวัติศาสตร์จากเอกสารหลักฐานชั้นต้น และศึกษาในมิติที่ยังไม่เคยมีใครทำวิจัยมาก่อน

              สุดท้าย ศ.ดร.ไชยันต์ ได้ฝากข้อคิดสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ในการทำงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จว่า “ต้องมีใจรัก มีอุตสาหะ ขยัน มีวินัย ซื่อสัตย์และไม่ย่อท้อ”


ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า