ข่าวสารจุฬาฯ

เชิญร่วมงานเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum @ Chula มหัศจรรย์ความรู้เกี่ยวกับ “ช้าง”

          ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum @ Chula ประจำปี 2566 ใน theme “ช้าง ช้าง เวลากลางคืน Proboscidea the nocturnal life and their friends” ระหว่างวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2566 เวลา 16.00 – 22.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ และบริเวณคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โดยมีหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาฯ ร่วมจัดงาน ได้แก่ ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และพิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ

          รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่าพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนของจุฬาฯ Night at the Museum @ Chula เป็นความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมิวเซียมสยาม สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) โดยเริ่มจัดกิจกรรมดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2559 จากความสำเร็จของกิจกรรมท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum 2022 ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 30,000 คน ในปีนี้คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จะจัดงานท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน Night at the Museum @ Chula ใน theme “ช้าง ช้าง เวลากลางคืน Proboscidea the nocturnal life and their friends” ซึ่งเป็น theme ที่มิวเซียมสยามกำหนดขึ้น เนื่องจาก “ช้าง” เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย จึงตั้งใจให้ “ช้างเป็น soft power ของไทย”

          รศ.ดร.วิเชฎฐ์ เผยถึงจุดเด่นของงาน Night at the Museum @ Chula ในปีนี้ว่า “พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มีความหลากหลายขององค์ความรู้ รวมทั้งมีตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตทุกกลุ่ม รวมถึง “ช้าง” ซึ่งเป็นความพิเศษของการแสดงนิทรรศการปีนี้ การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนซึ่งมีการใช้แสงและสีเข้ามาช่วย เป็นการเปลี่ยนมุมมองการชมพิพิธภัณฑ์ ทำให้ภาพที่เห็นแตกต่างออกไปจากปกติ ผู้ชมจะได้สัมผัสความงดงามของสิ่งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในมิติที่แตกต่างจากเวลากลางวัน” ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว


ความพิเศษของ Night at the Museum @ Chula ปีนี้

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาฯ

  • พบกับเรื่องราวของช้างและสัตว์หายากที่ควรอนุรักษ์ เช่น พะยูนดงตาล โลกของสัตว์เผือก
  • ความลับของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน
  • พิพิธภัณฑ์เต่า เต่าอะไรเอ่ย? ที่มีตีนเหมือนช้าง
  • พิพิธภัณฑ์แมลง พบกับแมลง-แมงที่มีชื่อเกี่ยวกับ “ช้าง”
  • พิพิธภัณฑ์หอยทาก หอยอะไรเอ่ย? ที่เกี่ยวข้องกับช้าง

นิทรรศการพิเศษ

  • “น้องพะยูนดงตาลกับลุงเต่าทะเล” ความสัมพันธ์ต่างสายพันธุ์ การท่องเที่ยวกับการอนุรักษ์ไปด้วยกันได้หรือไม่?
  • โลกของสัตว์เผือก Albino land สัตว์เผือก-เผือกเป็นอย่างไร มาหาความรู้ได้ที่งานนี้
  • ความลับของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน-The secret of Amphibian and Reptile
  • The Menagerie of BBTech Beasts เยี่ยมชมสัตว์โลกแปลกๆ ที่จะทำให้คุณตื่นเต้นได้ตลอดเวลา

พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา

  • ส่องฟอสซิลช้างไทย เรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของช้างในอดีตที่ไม่เหมือนปัจจุบัน
  • สัมผัสหินหนังช้าง พบกับความลับที่ซ่อนอยู่
  • สำรวจหินรูปช้าง ผ่านทัวร์เสมือนกับนักธรณีวิทยา

พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์

  • พบกับมหัศจรรย์พันธุ์พืชใน Tropical Forest จากใต้น้ำสู่ทะเลทราย พืชอวกาศ คือต้นอะไร ที่ Living plant museum (เรือนเพาะชำ)
  • สวนอาหารช้าง กินอะไรตัวจึงใหญ่
  • กิจกรรม Rally คล้องช้าง

พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีเทคโนโลยีทางภาพ

  • จัดแสดงภาพถ่ายช้างป่า
  • ภาพถ่ายฟิล์มกระจกสามมิติ “พิธีคล้องช้างสมัยโบราณ” ซึ่งเป็นภาพที่หาดูยาก
  • ฟังการเสวนาเรื่องการถ่ายภาพธรรมชาติและภาพสัตว์ป่า

ภาควิชาจุลชีววิทยา

  • พบกับ “จุลินทรีย์มหัศจรรย์” (Fantastic microbe)
  • ตัวอย่างจริงของเห็ดแปลกตา ราแมลง สาหร่ายมุกหยก สาหร่ายทนร้อน (polyextremophile) จากน้ำพุร้อน, บรั่นดี ที่ได้จากงานทดลองในภาควิชาฯ
  • จุลินทรีย์หลากหลายชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดูจากกล้องจุลทรรศน์

งานเสวนา และตอบคำถามชิงรางวัล

วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566

     – พูดคุยเรื่อง “วัณโรคในช้าง” โดย ศ.ดร. ธนาภัทร ปาลกะ

     – สาธิตการทำโยเกิร์ตโฮมเมด พร้อมชวนมาดูจุลินทรีย์ที่ใช้ทำโยเกิร์ต ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดย นิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา

วันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2566

     – พูดคุยเรื่อง “ไมโครไบโอม(ในช้าง)” โดย อ.ดร.ณัฐภณ ป้อมบุบผา

     – สาธิตการทำโยเกิร์ตโฮมเมด พร้อมชวนมาดูจุลินทรีย์ฯ โดยนิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา

วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม 2566

      – พูดคุยเรื่อง “จุลินทรีย์ย่อยสลายพลาสติก และการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้จากจุลินทรีย์”  โดย รศ.ดร.วันชัย อัศวลาภสกุล และ รศ.ดร.สุชาดา จันทร์ประทีป นภาธร

     – สาธิตการทำโยเกิร์ตโฮมเมด พร้อมชวนมาดูจุลินทรีย์ฯ โดยนิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา


ภาควิชาฟิสิกส์

  • ร่วมสัมผัสประสบการณ์ดูดาวด้วยกล้องโทรทรรศน์ ได้เห็นทั้งดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และอื่นๆ           
  • เยี่ยมชมบูธดาราศาสตร์ของเราเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของดาราศาสตร์
  • ถ่ายภาพดาวผ่านกล้องโทรทรรศน์ด้วยโทรศัพท์มือถือ
  • การบรรยายเรื่อง “การถ่ายและประมวลผลภาพวัตถุอวกาศห้วงลึก (DSO)”

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

  • ความลับของหมึกดัมโบ้-หมึกน้ำลึกที่หน้าตาเหมือนช้างดัมโบ้ พร้อมชมนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับหมึกดัมโบ้ หมึกทะเลน้ำลึก และการศึกษาทางทะเล
  • ร่วมพูดคุยในการเสวนา MarineTalk ในหัวข้อการผจญภัยในมหาสมุทร
  • ทดลองผ่าศึกษาอวัยวะภายในของฉลาม
  • ซุ้มถ่ายรูป Check-in เป็นที่ระลึก

สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ

  • ความรู้เกี่ยวกับหอยงวงช้าง สัตว์โบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
  • จัดแสดงสัตว์น้ำเครือญาติใกล้ชิดกับหอยงวงช้างแบบตัวเป็นๆ
  • สัมผัสสัตว์น้ำในระบบนิเวศทะเลรอบๆ ตัว ผ่าน “Touch tank” อ่างน้ำของระบบนิเวศจำลองที่เต็มไปด้วยสัตว์น้ำที่น่าสนใจ
  • เต็มอิ่มกับความรู้ทางด้านทรัพยากรทางน้ำที่นำมาใช้ประโยชน์

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย

  • นิทรรศการ “หินและแร่ ขุมทรัพย์ธรรมชาติ” ณ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
  • นิทรรศการ “ต้ม ต้อง เมี้ยน” ณ นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ
  • กิจกรรมการแสดงดนตรีโดยวง CU Chamber ณ ลานพิพิธศิลป์ อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
  • การแสดง Line Dance โดยนิสิตเก่าจุฬาฯ

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

https://www.museum.sc.chula.ac.th/ และ https://www.facebook.com/NHMCU

หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3634-5, 0-2218-3624

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า