รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 พฤศจิกายน 2561
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานลอยกระทง “CU Full Moon 2018” ในวันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ตั้งแต่เวลา 17.00 – 21.00 น. ณ บริเวณสระน้ำจุฬาฯ และสนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล ภายใต้ชื่องาน “CU Full Moon 2018 : รักษ์ มันส์ ลอย”
“วันลอยกระทง” ในคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบสองของทุกปี ถือเป็นประเพณีสำคัญของไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในสถานที่จัดงานลอยกระทงที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ไฮไลต์สำคัญของงานลอยกระทงที่จุฬาฯ คือการลอยกระทงเทียน ซึ่งจุฬาฯ ริเริ่มเป็นครั้งแรกในงานลอยกระทง เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดขยะหรือมลพิษ นอกจากงานลอยกระทงแล้ว ในงานยังมีกิจกรรมมากมายเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น ขบวนแห่นางนพมาศ การแสดงของนิสิตจากชมรมต่างๆ ทางด้านศิลปวัฒนธรรม การออกร้านขายอาหารและของที่ระลึกต่างๆในบรรยากาศย้อนยุค
บรรยากาศความสนุกสนานในงานลอยกระทงที่สระน้ำจุฬาฯ มีมากว่า 54 ปีแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดงานลอยกระทงที่สระน้ำจุฬาฯครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2507 จัดโดยชุมนุมประเพณี สโมสรนิสิตจุฬาฯ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2507 โดยมี พล.อ.ประภาส จารุเสถียร เป็นอธิการบดี มี รศ.ประณต นันทิยะกุล เป็นประธานชุมนุมฯ ในครั้งนั้นจุฬาฯ มีนิสิต 7 คณะร่วมการจัดงาน ในงานมีการประกวดกระทง ประกวดขบวนแห่กระทง และการประกวดนางนพมาศ ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นนางนพมาศจะทำหน้าที่เป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในการแข่งขันฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์
อ.รศนาภรณ์ วีรวรรณ ที่ปรึกษาด้านกิจการนิสิต จุฬาฯ กล่าวว่า งานลอยกระทงเป็นกิจกรรมที่ฝึกให้นิสิตมีทักษะในการบริหารจัดการ ทักษะการสื่อสาร การทำงานร่วมกับผู้อื่น นิสิตปี 1 จะร่วมกันประดิษฐ์กระทง และนำเสนอแนวคิดในการจัดขบวนแห่ของนิสิตแต่ละคณะ
“สมัยก่อนสถานที่จัดงานลอยกระทงยังมีไม่มากเหมือนทุกวันนี้ ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศจึงมาร่วมงานลอยกระทงที่จุฬาฯ นอกจากการประกวดกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติแล้ว ยังมีการประกวดขบวนแห่นางนพมาศ การแสดงของวงดนตรี C.U. Band และวงดนตรีของนิสิตคณะต่างๆอีกด้วย แม้ปัจจุบันจะมีสถานที่จัดงานลอยกระทงมากขึ้น แต่งานลอยกระทงที่จุฬาฯ ก็ยังคงเอกลักษณ์ที่สร้างความประทับใจให้ผู้มาร่วมงานได้แสมอ” อ.รศนาภรณ์ เล่าย้อนความทรงจำที่ได้ร่วมงานลอยกระทง ที่จุฬาฯ
กุลธิดา ยอดหาญ นิสิตปี 4 คณะครุศาสตร์ ประธานฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม และ ดำรงศักดิ์ หลวงไกร นิสิตปี 4 คณะอักษรศาสตร์ ประธานฝ่ายพัฒนาสังคมและบำเพ็ญประโยชน์ เปิดเผยว่า งานลอยกระทงที่จุฬาฯปีนี้จัดขึ้น ภายใต้ชื่องาน “CU Full Moon 2018 : รักษ์ มันส์ ลอย” ซึ่งสื่อความหมายถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย และความสนุกสนานในกิจกรรมต่างๆ ในงานลอยกระทง ขอเชิญชวนผู้สนใจมาร่วมงานลอยกระทงจุฬาฯ กิจกรรมสำคัญที่พวกเรานิสิตจุฬาฯพร้อมใจกันจัดขึ้นปีละครั้งเพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ในปีนี้บรรยากาศแห่งความรื่นเริงใต้พระจันทร์วันเพ็ญในงานลอยกระทงที่จุฬาฯ จะมีอะไรให้ตื่นตาตื่นใจบ้าง มาพิสูจน์กันได้กับงานลอยกระทงที่จุฬาฯ “CU Full Moon 2018 : รักษ์ มันส์ ลอย”
ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวประชาสัมพันธ์การจัดงานได้ทาง facebook : งานลอยกระทงจุฬาฯ
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษครั้งที่ 7 “Human + Machine: A New Territories of Design” แลกเปลี่ยนความรู้การออกแบบในโลกดิจิทัล
PMCU เชิญร่วมงานเทศกาลอิ่มเจ อิ่มบุญ อิ่มความสุข ที่สามย่าน-บรรทัดทอง
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้