รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 มกราคม 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
รศ.ภญ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล รองคณบดีฝ่ายพันธกิจสากลและวิรัชกิจ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลอาจารย์ดีเด่น รางวัลเกียรติยศแห่งความสำเร็จ สออ. ประเทศไทย ประจำปี 2566 (ASAIHL Thailand Outstanding Achievement Award 2023) ด้านนวัตกรรม ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับบุคคลที่มีผลผลิตทางด้านนวัตกรรมที่มี Impact สูง รวมถึงสามารถสร้างบุคลากรทางด้านนวัตกรรมให้กับประเทศชาติ
รศ.ภญ.ดร.จิตติมา เปิดเผยว่า รางวัลนี้นับเป็นการต่อเติมแรงบันดาลใจและให้พลังเชิงบวกในการดำเนินงานด้านนวัตกรรม เพื่อสร้างนิสิตและผลิตบุคลากรที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติ เพื่อผลักดันประเทศให้มีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแรงขึ้นด้วยการใช้นวัตกรรมที่มาจากงานวิจัยพื้นฐาน นอกจากนี้ยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองในการสร้างนิสิตและบุคลากรด้านนวัตกรรมที่มีความรู้ความสามารถสู่สังคม
ผลงานที่ภาคภูมิใจในการส่งเสริมนวัตกรรมจุฬาฯ
รศ.ภญ.ดร.จิตติมา กล่าวถึงผลงานความสำเร็จที่ผ่านมาซึ่งเป็นความภาคภูมิใจคือสร้างกระบวนการทำงานที่สามารถผลักดันงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีศักยภาพและมีประโยชน์ เกิด Impact ได้ ซึ่งงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในการนำมาสร้างนวัตกรรมที่ได้ผลผลิต สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับประเทศและโลก ส่วนในเรื่องการสร้าง Spin – Off เป็นงานที่ทำให้เกิดแนวคิดระบบใหม่ในการสร้างนวัตกรรมจากงานวิจัยของประเทศให้สามารถจับต้องได้ และมีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ นักเรียนทุกระดับ นิสิต นักศึกษาหันมาสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความสำเร็จของ Club Chula Spin-off
ในฐานะประธานชมรม Club Chula Spin-off รศ.ภญ.ดร.จิตติมาเผยว่าClub Chula Spin-off เป็น Ecosystem หนึ่งที่เป็นการรวมตัวกันของคณาจารย์ที่มีเทคโนโลยี Deep tech ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญพื้นฐานด้านการวิจัย และมีศักยภาพที่จะต่อยอดไปยังภาคอุตสาหกรรมหรือการต่อยอดเพื่อประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
“Club Chula Spin-off เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อที่จะแชร์ประสบการณ์ร่วมกันจากการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆที่มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลก ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อนในบริบทของประเทศไทยซึ่งเป็นโมเดลที่ท้าทาย นอกจากนี้การรวมกลุ่มกันยังเกิดประโยชน์ด้านการขับเคลื่อนนโยบายทำให้เกิดกลไกเครื่องมือในการสร้างผลผลิตที่มี Impact เป็นที่ประจักษ์ ซึ่ง Club Chula Spin-off ได้ดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว โดยมีสมาชิกเพิ่มขึ้นกว่า 100 คน และยังได้ขยายผลให้เป็น One Team Thailand ด้วยการวางแผนเปิดรับสมาชิกจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อให้มาร่วมกันสร้างองค์ความรู้ ผลิตนวัตกรรมที่ตอบโจทย์และสนองความต้องการของสังคม ระดับประเทศและระดับโลกได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง”
แผนงานวิจัยที่จะทำในอนาคต
รศ.ภญ.ดร.จิตติมา กล่าวถึงแผนงานที่จะดำเนินการในอนาคตว่ามี 2 ส่วนหลัก คือการพัฒนาทั้งในส่วนของนิสิตและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นกลุ่มที่เรียกว่า Highly Skilled Human Resource ที่ส่งผลดีต่อประเทศในยุค digital distruption อีกส่วนหนึ่งเป็นโครงการที่ทำร่วมกับบริษัท Nabsolute จำกัด บริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ในการคิดค้นระบบส่งยาใหม่ที่มุ่งเป้าเพื่อให้ยามีประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาไปใช้ในการนำส่งวัคซีนในสัตว์และมนุษย์ พัฒนาและผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อให้เกิดการแข่งขันในระดับโลกได้ และจดสิทธิบัตรระดับโลกได้ เพื่อปกป้องทรัพย์สินปัญญา
หลักคิดในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ
“ในการทำงานวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมต้องเริ่มจากการตั้งเป้าหมายในการทำงานซึ่งจะทำให้งานประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น ซึ่งการมองหาเป้านั้นก็ต้องชัดเจน วัดผลได้ โดยเริ่มตั้งเป้าจากคุณค่าที่เราต้องการมีและต้องการให้กับสังคม จากนั้นค่อยมองหาวิธีการที่จะสามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จถึงเป้าหมายได้ โดยมองหาจากสิ่งที่เราชอบ resources และความเชี่ยวชาญก่อนเป็นสำคัญ ตัวเองมองว่านวัตกรไม่ควรยึดติดกับวิธีการมากเกินไป ขอให้ใช้เวลาอยู่กับเป้าหมายของตัวเองให้มากขึ้น และค่อยคิดว่าจะใช้วิธีใดเพื่อที่จะผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคไปสู่เป้าหมายได้ เชื่อว่าชาวจุฬาฯ ทุกคนมีไฟที่จะทำอะไรเพื่อสังคมอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้คิดค้นนวัตกรรมอะไรดีๆ เพื่อสังคมและประเทศชาติได้อย่างแน่นอน” รศ.ภญ.ดร.จิตติมา กล่าวทิ้งท้าย
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษครั้งที่ 7 “Human + Machine: A New Territories of Design” แลกเปลี่ยนความรู้การออกแบบในโลกดิจิทัล
PMCU เชิญร่วมงานเทศกาลอิ่มเจ อิ่มบุญ อิ่มความสุข ที่สามย่าน-บรรทัดทอง
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้