รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 พฤศจิกายน 2561
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
“รองเท้าสุขภาพ” เพื่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยเบาหวาน ผลงานฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ปัจจุบันรองเท้าเพื่อสุขภาพเป็นที่สนใจของผู้ที่รักสุขภาพทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ รองเท้าเพื่อสุขภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนในวัยนี้ซึ่งมักประสบปัญหารองเท้าที่สวมใส่มีขนาด ไม่เหมาะกับเท้า ทำให้มีอาการเจ็บเท้าและส่งผลกระทบในเรื่องสุขภาพตามมา ยิ่งในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมีลักษณะของเท้าที่ผิดรูป จำเป็นต้องใส่รองเท้าที่ตัดขึ้นโดยเฉพาะและเหมาะกับรูปเท้าที่เปลี่ยนไป
“รองเท้าสุขภาพผู้สูงอายุ” ซึ่งพัฒนาขึ้นจากงานวิจัยของภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นรองเท้าที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับเท้าของผู้สูงอายุ โดยผสมผสานองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์และการดูแลผู้ป่วย ช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถเดินและใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
ผศ.พญ.ศิริพร จันทร์ฉาย รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงที่มาของการผลิตรองเท้าสุขภาพผู้สูงอายุว่า ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูมีการผลิตรองเท้าให้คนไข้ทุกประเภท รวมถึงผู้สูงอายุและผู้พิการ ปัญหาที่พบคือผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน รวมถึงผู้สูงอายุทั่วไปต้องใส่รองเท้าเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งหาซื้อได้ยากและมีราคาแพง ภาควิชาฯ จึงได้ศึกษาวิจัยปัญหาสุขภาพเท้าและรองเท้าสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อเก็บข้อมูลสัดส่วนเท้าของอาสาสมัครซึ่งเป็นผู้สูงอายุ สร้างเป็นหุ่นรองเท้าขนาดต่างๆ ปรับแต่งเป็นรองเท้าต้นแบบ และมีการผลิตเป็นรองเท้าที่เข้ากับลักษณะเท้าของผู้สูงอายุที่มารับการรักษา
“รองเท้าสุขภาพผู้สูงอายุที่ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟูผลิตขึ้น รองรับผู้สูงอายุที่มีลักษณะเท้าที่แบน เป็นรองเท้าหนังสีดำ หน้ากว้าง มีส่วนประกอบต่างๆ ที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีเท้าที่ผิดรูป เช่น นิ้วเท้าเก พื้นรองเท้าแข็งเพื่อกันลื่น ความสูงของส้นรองเท้าไม่เกิน 1 นิ้ว ช่วยในการเดินได้สะดวก พื้นข้างในรองเท้าจะนุ่มและโค้งเล็กน้อย รับกับอุ้งเท้า พื้นด้านในรองเท้าสามารถถอดออกเพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นใหม่ที่มีขนาดพอดีกับเท้า รองเท้ามีความแข็งแรง ตัดเย็บด้วยหนังอย่างดี มีสายคาดที่ปรับขนาดได้” ผศ.พญ.ศิริพร เผยถึงจุดเด่นของรองเท้าสุขภาพดังกล่าว
สำหรับผู้ที่สนใจรองเท้าสุขภาพผู้สูงอายุ ผศ.พญ.ศิริพร ให้ข้อมูลว่า ถ้าเป็นคนไข้ที่มีรูปเท้าผิดปกติ เช่น เท้าแบน ปวดส้นเท้า นิ้วเท้าเก ฯลฯ ต้องมาพบแพทย์ที่ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อตรวจคัดกรองปัญหาเกี่ยวกับเท้าและรับการรักษา จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการผลิตรองเท้า โดยทีมงานจะทำการหล่อขึ้นรูปเท้าและตัดรองเท้าที่มีลักษณะเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีการผลิตรองเท้าเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุทั่วไปและคนที่รักสุขภาพ ภายใต้ชื่อ WellStep มีการเพิ่มสีสันและรูปลักษณ์ที่สวยงามให้เลือกซื้อได้หลายรูปแบบ ควบคุมการผลิตโดยฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู มีจำหน่ายที่ชั้นล่าง ตึก สธ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
“รองเท้าเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุโดยฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผลิตด้วยมือ จึงผลิตได้ขนาดละไม่กี่คู่ นอกจากนี้ยังมีการผลิตรองเท้าที่ขนาดเล็กมากและใหญ่มาก ซึ่งจะเป็นที่พึ่งของผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีปัญหาการหาซื้อรองเท้ายาก อนาคตอันใกล้จะมีการผลิตรองเท้าสำหรับเด็กซึ่งมีปัญหาเท้าแบน” รองหัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
ผศ.พญ.ศิริพร ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุในเรื่องรองเท้าว่า ควรใส่รองเท้าที่มีรูปทรงเหมาะกับเท้าตนเอง มีขนาดพอดี ไม่คับเกินไป พื้นรองเท้าไม่ควรนุ่มหรือแข็งเกินไป รองเท้าผู้สูงอายุควรมีสายรัดหลัง ทำให้ไม่ลื่น ไม่พลิกล้ม สำหรับผู้ที่มีปัญหาเข่าเสื่อม ถ้าใส่รองเท้าพื้นแข็งและส้นสูงมากจะทำให้การลงน้ำหนักที่เท้าผิดไป ส่งผลให้มีอาการเกร็งและปวดกล้ามเนื้อได้ สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องเท้า สามารถมารับการตรวจกับแพทย์และสั่งตัดรองเท้าได้ที่ฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งให้บริการทั้งในเวลาราชการ และคลินิกนอกเวลา นอกจากนี้ยังมีคลินิกสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ในวันศุกร์ช่วงบ่ายอีกด้วย
สถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรมเดิน-ปั่น-วิ่ง WALK-RIDE-RUN ย่านพระโขนง-บางนา “เดินส่องย่าน ปั่นมองเมือง วิ่งเชื่อมกรุง” และกิจกรรมเสวนาสาธารณะ
15 ก.ย. 67
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ ถนนสุขุมวิท 101/1 (ซอยวชิรธรรมสาธิต)
จุฬาฯ จัดพิธีมอบเข็มทองคำเกียรติคุณและแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุ ปี 2567
จุฬาฯ จัดโครงการ “CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 1”
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมูลนิธิเพื่อนศิลปะ สร้างแพลตฟอร์มใหม่ยกระดับศิลปะการเต้นสู่เวทีนานาชาติ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา “MANUGRIP” อุปกรณ์ฝึกออกกำลังมือ เพื่อสุขภาพผู้สูงวัย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ดีกรีพลัส ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะวิชาชีพ พัฒนานิสิตสู่ความเป็น Lifelong Leader
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้