รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
การได้รับประสบการณ์เชิงลบ ความเครียดและการไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ทำให้สถานการณ์ด้านสุขภาวะทางจิตของเด็กประถมศึกษามีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสูงขึ้น ทั้งในด้านภาวะตึงเครียดและภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะวิกฤตได้ “ศิลปะ” เป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงเด็กประถมศึกษาได้ง่าย ทำให้เกิดสมาธิและการให้คุณค่าในการอยู่กับปัจจุบัน ศิลปะจึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการแก้ปัญหาสุขภาวะทางจิตในเด็ก
ศูนย์วิจัยนวัตสหศิลป์เพื่อสุขภาวะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ – อิมิลี่ ซากอย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักวิชาการสุขภาพจิต และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัด“โครงการบูรณาการด้านศิลปะและจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพครูในการดูแลสุขภาวะตนเองและนักเรียนระดับประถมศึกษา” เป็นการผสมผสานจิตวิทยาทางบวก เพื่อกระตุ้นให้เกิดความยืดหยุ่นและความแข็งแกร่งในจิตใจ เป้าหมายหลักของโครงการนี้มุ่งเน้นในการส่งเสริมสมรรภาพครูในการดูแลสุขภาวะตนเองและนักเรียนผ่านการจัดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ครูจำนวน 400 คน จาก 200 โรงเรียน เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาและเยียวยาจิตใจทางด้านอารมณ์ และสุขภาวะทางจิต รวมถึงเสริมสร้างพัฒนาการทางอารมณ์ผ่านทางศิลปะให้แก่นักเรียน
ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ อดีตคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาโครงการดังกล่าว ได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และส่งเสริมคุณครูในการใช้ศิลปะเพื่อบำบัดความเครียด โดยการถ่ายทอดผ่านจินตนาการออกมาในรูปธรรมเชิงประจักษ์ เป็นการใช้ศิลปะเพื่อเยียวยารักษา พัฒนาจิตใจ เสริมสร้างสมาธิ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวัน ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอารมณ์ขั้นวิกฤต
อ.ดร.นิศรา เจริญขจรกิจ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะบำบัด คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาและมองว่าศิลปะบำบัดเป็นศาสตร์และศิลป์หนึ่งของการทำจิตบำบัด (psychotherapy) ที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ โดยเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่เน้นกระบวนการและกิจกรรมทางศิลปะ ไม่ได้เน้นที่ผลงานหรือคุณค่าทางศิลปะ ตามงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ของศิลปะบำบัด นอกจากจะช่วยส่งเสริมสภาวะจิตใจ อาทิ ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียดแล้ว ยังช่วยส่งเสริมสภาวะทางร่างกาย เพื่อการจัดการกับความเจ็บปวด การประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย และเสริมสร้างทักษะทางสังคม ความสัมพันธ์ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย
“โครงการบูรณาการด้านศิลปะและจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพครูในการดูแลสุขภาวะตนเองและนักเรียนระดับประถมศึกษา” ได้รับผลตอบรับที่ดีจากครูอย่างล้นหลาม หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการกล่าวว่า “ชื่นชอบกิจกรรมที่ได้เข้าร่วมนี้เป็นอย่างมาก ทั้งการได้เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพจิตใจของตน ความเข้าใจในตัวเอง การอยู่กับปัจจุบัน รวมไปถึงความผ่อนคลายที่ได้จากกิจกรรมและบรรยากาศ นอกจากนี้ ทางวิทยากรและทีมงานยังมีความเป็นกันเอง เข้าอกเข้าใจและใส่ใจกับผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย”
“ศิลปะเป็นมากกว่าการร่างลายเส้น หรือเติมสีบนกระดาษ แต่เป็นการให้มือและหัวใจ อธิบายออกมาแทนสมอง เป็นการสื่อสารบอกเล่าเรื่องราวและตัวตนของผู้นั้นโดยไร้ตัวอักษร รวมไปถึงทำให้ผู้คนสังเกต สีสันและเห็นคุณค่าของสิ่งรอบตัว”
โครงการบูรณาการด้านศิลปะและจิตวิทยาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพครูในการดูแลสุขภาวะตนเองและนักเรียนระดับประถมศึกษา” จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อครูผู้ดูแลเด็กนักเรียนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ รวมทั้งส่งเสริมการใช้ศิลปะในการแก้ปัญหาสุขภาวะทางจิตของเด็กประถมศึกษา นอกจากนี้โครงการนี้ยังสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สหประชาชาติกำหนดขึ้นในเป้าหมายที่ 3 (SDG 3 : Good Health and Well-being) “การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี” อีกด้วย
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้