รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
ฝ่ายพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญชมนิทรรศการการวิจัยสร้างสรรค์ “พายุ” การสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยจากฮูปแต้มสองฝั่งโขงไทย-ลาว สู่การแปรเปลี่ยนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จัดแสดงระหว่างวันที่ 13 มีนาคม – 24 เมษายน 2567 ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้เข้าชมทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.30 น. และปิดให้บริการในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ พิธีเปิดนิทรรศการในวันพุธที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 17.00 น.
ผลงานนิทรรศการชุด “พายุ” ผลงานของ อนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี เกิดขึ้นจากการนำลายเส้นจากฮูปแต้มจากสิมวัดสนวนวารีพัฒนาราม รวมถึงข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และข้อมูลทางเอกสารมาพัฒนาลายเส้นขึ้นใหม่ให้เป็นแบบเฉพาะของตนซึ่งแตกต่างไปจากเดิม ฉากการสู้รบของสินไซและยักษ์กุมภัณฑ์ที่ศิลปินได้เขียนขึ้นต่อเติมภาพที่ขาดหายไป โดยจัดวางองค์ประกอบเรื่องราวใหม่ และเขียนภาพด้วยเทคนิค “จารบาติก” ซึ่งเป็นเทคนิคที่ศิลปินพัฒนามาจากภูมิปัญญาโบราณและท้องถิ่น โดยศิลปินได้สร้างพื้นผิวให้มีลักษณะผุกร่อนเสื่อมสลายเพื่อสื่อถึงลักษณะของฮูปแต้มจริงที่ได้พบเห็นและยังสื่อถึงเรื่องไตรลักษณ์อีกด้วย
ศิลปินเลือกใช้พาราฟิน (Paraffin) ลงรองพื้นเพื่อให้พื้นผิวเกิดลวดลายที่มีความแตกหัก ส่วนการเขียนภาพลายเส้นบนภาพใช้เทคนิคเดียวกันกับการจารหรือเขียนบนใบลานเพื่อให้เกิดเส้นที่คมชัด และอีกหนึ่งเทคนิคที่ใช้คือบาติก ซึ่งการผสานกันของสองเทคนิคเป็นสิ่งที่ศิลปินคิดค้นขึ้นโดยมีวิธีการเขียนลายเส้นลงบนผ้าด้วยเหล็กแหลมทำให้เกิดรูปร่างและทรง หลังจากนั้นใช้จันติ้งลงเทียนสีและนำไปมัดย้อมด้วยสีบาติกตามลำดับ ซึ่งในภาพชุดนี้เลือกใช้สีโทนสีน้ำเงิน ดำ และน้ำตาลเป็นหลัก ทำให้ภาพมีความเข้มขรึมและขลังเพื่อสื่อถึงความหนักหน่วงที่เกิดในใจของนางสุมณฑา และแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของการสู้รบระหว่างสองฝ่ายที่มีความรุนแรงราวกับพายุอีกด้วย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0-2218-3645-6, 0-2218-3624 หรือที่ Facebook: Chulamuseum
จุฬาฯ Triple Champions อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยจากสามรายการจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
สัมมนา “จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: โอกาสและความท้าทายระดับโลก”
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP ของประเทศ 3 ด้าน โดย THE WUR 2025
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ เปิดตัวหนังสือ “การเดินทาง 50 ปี สู่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”
เชิญร่วมประกวดวงดนตรีและประกวดหนังสั้น เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
นักวิชาการศศินทร์ เผยผลวิจัยข้อเท็จจริงและโอกาสสำหรับผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้