รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 เมษายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน วศินี ฤทธิ์ดี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) และภาคีวิชาการ จัดการประชุมเครือข่ายร่วมสร้างสังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคนในรูปแบบการเสวนา Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” และจัดแสดงผลงานวิจัยเกี่ยวกับประเด็นสังคมสำหรับทุกคน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 ณ TK Hall สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ โดยมี รศ.ดร.พรรณี ชีวิน ศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่ายฯ ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนด้วยการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมต่อความท้าทายทางสังคมที่ใช้แนวทางหลากหลาย มีความร่วมมือและการร่วมสร้างนวัตกรรม ตลอดจนการส่งเสริมความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรม โดยการสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยน ถือเป็นการสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือให้เกิดพื้นที่ที่สามารถแบ่งปันประสบการณ์และข้อมูลเชิงลึก ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่แนวทางการพัฒนาและแนวทางแก้ไขทางสังคมที่เป็นไปได้ รวมทั้งมีความสอดคล้องกับการดำเนินงานในทุกภาคส่วน
การเสวนา Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” เป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ได้แก่ หน่วยงานสหประชาชาติ องค์กรท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา ในการพูดคุยและเน้นย้ำประเด็นการรับฟังเพียงของ “ทุกคน” เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนโยบายและการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่
– “สร้างโอกาสและยกระดับการคุ้มครองทางสังคมสำหรับประชากรทุกช่วงวัยกับการมีส่วนร่วมสู่การเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน”
ร่วมเสวนาโดย ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการนโยบายวิจัยและนวัตกรรม จุฬาฯ คุณสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ คุณสิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA Thailand กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ผศ.ดร.วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ และคุณณฐอร อินทร์ดีศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
– “อายุ เพศสภาพ และ ความรุนแรง” การสร้างสังคมถ้วนถึงทั้งในด้านอายุ การทำงานที่มีความเสมอภาคทางเพศ และการใช้ความรุนแรงในสังคม
ร่วมเสวนาโดย รศ.ดร.ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ คุณสิริลักษณ์ เชียงว่อง หัวหน้าสำนักงาน UNFPA Thailand กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย ผศ.ดร.รักชนก คชานุบาล รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ และโครงการไทยอารี/จุฬาอารี และ รศ.ดร.สุมนทิพย์ จิตสว่าง หัวหน้าโครงการวิจัยสังคมไทยไร้ความรุนแรง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
– “แรงงาน การย้ายถิ่น และ ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ” การสร้างความความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับความหลากหลายในสังคมของกลุ่มผู้ที่อพยพย้ายถิ่นฐาน
ร่วมเสวนาโดย รศ.ดร.สุธี อนันต์สุขสมศรี รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ รศ.ดร.รัตติยา ภูละออ รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ และหน่วยปฏิบัติการวิจัยและประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาฯ (CU-COLLAR) และ ดร.เปรมใจ วังศิริไพศาล นักวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ
– “การศึกษาแบบเรียนรวมและความต้องการจำเป็นที่หลากหลายทางการศึกษา” การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งคำนึงถึงความหลากหลายของผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนทั้งผู้เรียนทั่วไปและผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้เข้าถึงการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม
ร่วมเสวนาโดย อ.ดร.ชนัญชิดา ทุมมานนท์ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการพัฒนาหลักสูตรเพื่ออบรมผู้พ้นโทษกลุ่มผู้เสพยาเสพติดไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ และ โครงการให้คำปรึกษานิสิตในบริบทของการส่งเสริมจิตสำนึกสาธารณะของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง คุณโรสซาลีนา อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ ประธานมูลนิธิ เดอะเรนโบว์รูม ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ รองหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษและการเรียนรวม คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ
– “การสร้างความเป็นธรรมที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” บอกเล่าประสบการณ์การทำงานในกระบวนการสร้างความเป็นธรรมในสังคมโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ร่วมเสวนาโดย อ.ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและเชื่อมโยงสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ คุณธนะชัย สุนทรเวช ผู้จัดการอาวุโส ด้านการพัฒนาหุ้นส่วนทางสังคมและการมีส่วนร่วม และหัวหน้าโครงการโรงเรียนตั้งต้นดี สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย คุณอรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และ ดร.ศยามล เจริญรัตน์ ศูนย์ความเชี่ยวชาญความมั่นคงของมนุษย์ และความเท่าเทียม (HuSE) สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
นอกจากนี้ในงานมีการจัดแสดงผลงานวิจัย นำเสนอข้อค้นพบจากงานวิจัยและโครงการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมถ้วนถึง อาทิ งานวิจัยและโครงการที่ทำสำรวจภูมิทัศน์เกี่ยวกับการสร้างสังคมไม่แบ่งแยกหรือสังคมถ้วนถึง แนวโน้มของงานวิจัยในด้านการศึกษา ความเท่าเทียมทางเพศ และความยุติธรรมทางสังคม ทิศทางงานวิจัยด้านสังคมถ้วนถึงในอนาคต เป็นต้น และการจัดแสดงผลงานโครงการ DB Asok วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก นำโดยครูอณุภา คงปราโมทย์ หัวหน้าโครงการ และทีมงาน
การเสวนา Roundtable: What is inclusive society platform? “The Unheard Voices” จัดโดย Inclusive Society Platform จากศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ ซึ่งมี ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม จากคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานคณะทำงานในการสร้างเครือข่ายนักวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้นำไปสู่การพัฒนาและการแก้ปัญหาที่ครอบคลุมต่อความท้าทายทางสังคมโดยใช้แนวทางแก้ไขที่หลากหลายผ่านความร่วมมือ นวัตกรรม และการบูรณาการเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม ประธานหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาพิเศษและการเรียนรวม คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ เปิดเผยว่า การประชุมเครือข่ายร่วมสร้างสังคมถ้วนถึงสำหรับทุกคนในครั้งนี้จุฬาฯ ทำหน้าที่เป็นเหมือนเจ้าภาพที่รวมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมมือกันดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ที่ผ่านมาจุฬาฯ มีผลงานด้านการวิจัยในเรื่องของสังคมเป็นจำนวนมาก ทั้งในเรื่องของกลุ่มเปราะบาง ผู้ต้องขัง กลุ่มเด็กพิเศษ กลุ่มคนพิการซึ่งเป็นที่มาของการจัดงานในครั้งนี้เพื่อฟัง “เสียงที่ไม่ได้ยิน” ของคนกลุ่มนี้ที่อาจจะไม่เคยพูดที่ไหนมาก่อน เพื่อต้องการบอกอะไรบางอย่างให้สังคมรับรู้ ซึ่งสื่อมวลชนมีบทบาทอย่างยิ่งในการช่วยสื่อสารเรื่องราวเหล่านี้ออกไป การเสวนาครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงคนที่ทำงานด้านนี้เข้าด้วยกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเชื่อมต่องานในทุกจุดเพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมสำหรับทุกคน (Inclusive Society) หลังจากนี้จะมีเวทีต่อไปที่จะขยายผลจากเวทีนี้ ในลักษณะของการนำเสนอผลงานของคณาจารย์จุฬาฯ รวมทั้งงานในภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยลักษณะของงานวิจัยจะเป็นรูปแบบของ Platform มากกว่าวิจัยเชิง Project ของแต่ละคน ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังขับเคลื่อนในเรื่องนี้
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้