ข่าวสารจุฬาฯ

การประชุมจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบ สร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดบุหรี่ไฟฟ้า ภาคกลางตอนบน ประจำปี 2567

ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ และแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยจัดการประชุมจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบ สร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดบุหรี่ไฟฟ้า ภาคกลางตอนบน ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 1 – 2 เมษายน 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์แผน การงบประมาณและสุขภาวะ จุฬาฯ กล่าวต้อนรับและแสดงวิสัยทัศน์ “การสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ สถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบ”

ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์แผน การงบประมาณและสุขภาวะ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกชนิดร่วมไปถึงบุหรี่เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งหากมองในแง่เศรษฐกิจแล้วเป็นเรื่องของการเสียโอกาส เพราะเด็กและเยาวชนคือผู้ที่จะเติบโตขึ้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ซึ่งในขณะนี้มีนักเรียน นักศึกษาเยาวชน และประชาชน ติดบุหรี่จำนวนมาก และที่น่าเป็นห่วง คือบุหรี่เป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมาย หาซื้อได้ง่าย การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ การแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ ยังคงต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานในทุกภาคส่วนในการเผยแพร่ความรู้เรื่องโทษ ผลกระทบจากการสูบบุหรี่ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งช่วยกันรณรงค์ให้กลุ่มเด็กและเยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ นำไปสู่การเกิดจิตสำนึกที่จะเลิกสูบบุหรี่ได้ด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

ศ.นพ.ดร.นรินทร์กล่าวว่าการจัดการประชุมในครั้งนี้เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการนำองค์ความรู้มาเป็นแนวทางในการช่วยเสริมศักยภาพเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดการแก้ปัญหาการสูบบุหรี่อย่างจริงจัง และเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เชื่อมั่นว่าความเข็มแข็งของเครือข่ายจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบต่อไป

การประชุมในครั้งนี้มีการบรรยายและเสวนาที่น่าสนใจในหลากหลายประเด็น ประกอบด้วยการบรรยาย “การเชิญชวนนักสูบหน้าเก่า ในสถาบันอุดมศึกษาให้เลิกผลิตภัณฑ์ยาสูบและป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในสถาบันอุดมศึกษา โดย นพ.วันชัย ศุภจตุรัศ รองประธานโครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบฯ  การบรรยายเรื่อง “เกณฑ์คู่มือมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ เพื่อสุขภาวะ 7 มาตรฐาน” โดย รศ.ดร.ผ่องศรี ศรีมรกต เลขาธิการโครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบฯ นอกจากนี้ยังมีการบรรยายเรื่อง “การบังคับใช้กฎหมายควบคุมยาสูบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบและบุหรี่ไฟฟ้า โดยกรมควบคุมโรค “ชวนให้เลิก ชวนให้เริ่ม เลิกบุหรี่ให้สำเร็จกับสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600” โดย รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ

นอกจากนี้ยังมีเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ทำอย่างไรให้ GEN Z ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า โดย ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินกุล คณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิ์พันธุ์ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ และ น.ส.ธนพร คูชัยยานนท์ นายกองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจสรุปได้ว่า จากการศึกษาพบว่าคนที่สูบบุหรี่ธรรมดาใน 30 วัน รวมถึงเคยสูบบุหรี่ธรรมดามีโอกาสที่จะสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากกว่าคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ธรรมดาเลย รวมทั้งคนที่ต้องการให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายส่วนมากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของบุหรี่ไฟฟ้า และมีแนวโน้มของการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้นในผู้ที่มีรายรับมาก

ทั้งนี้ภายในงานยังมีการนำเสนอ Best Practice เพื่อการขับเคลื่อนสถาบันอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ การระดมสมองกลุ่มผู้บริหารเพื่อจัดทำแผนพัฒนาการดำเนินการสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาปลอดผลิตภัณฑ์ยาสูบ การประชุมในครั้งนี้ได้รับการตอบรับและความสนใจจากนิสิตและเครือข่ายต่าง ๆ จำนวนมาก

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า