ข่าวสารจุฬาฯ

แถลงข่าว “ครบรอบ 5 ทศวรรษ การประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี “STT50”

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานแถลงข่าว “ครบรอบ 5 ทศวรรษ การประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางเทคโนโลยี “STT50” ประเทศไทยพร้อมต้อนรับผู้แทนและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกและทั่วประเทศเข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (The 50th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation :STT50) ระหว่างวันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

            งานแถลงข่าวครั้งนี้มี รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ ศ. (เชี่ยวชาญพิเศษ) ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมในงาน ดำเนินรายการโดย อ.ดร.ธิติ สุทธิยุทธ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 ณ ห้องบานเย็น ชั้น 15 อาคารมหาวชิรุณหิศ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 

            การประชุมวิชาการ “STT50”  จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อผสานความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกในการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ ด้วยการผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับนวัตกรรม ภายใต้แนวความคิด “Science x Creativity : Crafting the World” การประชุมนานาชาติครั้งนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือและการขับเคลื่อนด้านนวัตกรรม ภายในงานจะมีการแสดงปาฐกถาพิเศษ โดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก ตลอดจนการนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า และโปสเตอร์ใน 5 สาขาวิชาหลัก ได้แก่ 1) ฟิสิกส์ 2)วิทยาศาสตร์ชีวภาพ 3) เคมี 4) คณิตศาสตร์ 5) พลังงานและสิ่งแวดล้อม และ 6) อาหารและวิทยาศาสตร์การเกษตร นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมยังสามารถเข้าร่วมการประชุมย่อย ซึ่งจะได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการรับมือกับความท้าทายระดับโลก และการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดยจะครอบคลุมหัวข้อที่สำคัญต่างๆ มากมาย ตั้งแต่การใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ข้อมูลและดิจิทัล รวมถึง Generative AI ตลอดจนความท้าทายและโอกาสในด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ เพื่อการฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติ รังสีคอสมิก และความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์และการแพทย์ เป็นต้น

            ผู้สนใจสามารถส่งบทคัดย่อและบทความฉบับเต็มเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ได้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 และสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตั้งแต่บัดนี้ – 30 กันยายน 2567 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมได้ที่เว็บไซต์ http://stt50.scisoc.or.th

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า