รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 มกราคม 2562
ข่าวเด่น
โครงการ CU 2040 Masterplan: CU 2040 ผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 โดยสำนักบริหารระบบกายภาพ และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง(UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเวทีสาธารณะนำเสนอ “ผลลัพธ์การร่างภาพจุฬาฯ ภายใต้โครงการผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ขึ้น ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา
ผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 เกิดขึ้นภายใต้แนวคิด “ปรับ-เปลี่ยน-เปิด” คือ
จากแนวคิด ปรับ-เปลี่ยน-เปิด ดังข้างต้นนี้ก่อเกิดเป็น “5 กลยุทธ์สู่นิเวศการเรียนรู้แห่งอนาคต” คือ
ผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 นี้ได้รับการผสานแนวคิดการออกแบบของผู้เชี่ยวชาญรวมกับภาพอนาคตจากประชาคมจุฬาฯ และสาธารณชนที่ร่วมกระบวนการร่วมออกแบบวางผังกว่า 60 ครั้งตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จนนำไปสู่ผลลัพธ์การออกแบบผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 : เขตการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะเป็นการ “ฝังเข็ม” Learning commons ที่หลากหลาย ลงไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วมหาวิทยาลัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 โซน ได้แก่
ZONE 1: KNOWLEDGE QUARTER XP
ZONE 2: ONE HEALTH
ZONE 3: SOCIAL DEMO
ZONE 4: 24 HOUR SCHOOL
ZONE 5: BICENTENNIAL AXIS
ZONE 6: PUBLIC SHOWCASE
ประกอบไปด้วยพื้นที่ 3 กลุ่มคณะ กลุ่มศิลป์ (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์) กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพ (คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์) และกลุ่มสังคมศาสตร์ (คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์) ด้วยการผสมผสานกันของหลากศาสตร์ที่มีศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้เป็นอย่างดี (Engineer x Science x Design x Business)
อีกทั้งในแต่ละคณะก็มีนวัตกรรมที่แอบซ่อนอยู่ พร้อมที่จะนำมาพัฒนาและบูรณาการต่อในอนาคต รวมถึงเป็นที่ตั้งของพื้นที่และอาคารเชิงสัญลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นหอประชุมจุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว และมีจำนวนนิสิตและบุคลากรหนาแน่นที่สุดในจุฬาฯ ถึง 23,843 คน แต่กลับขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวก (Common Facilities) ที่รองรับกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากการเรียน จากปัญหาข้างต้นนี้ จึงเกิดเป็นแนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่การเป็น “Knowledge Quarter XP” คือ
ผลจากการปรับเปลี่ยนเปิดพื้นที่ดังกล่าว ทำให้เกิดการใช้พื้นที่ใหม่ๆ ได้แก่
CENTRE OF EXCELLENCE
อาคารศาลาพระเกี้ยว สู่ศูนย์รวมความเป็นเลิศด้านการวิจัยจุฬาฯ พร้อมในบริการเป็นพื้นที่ทำงานเชิงบูรณาการของกลุ่มศาสตร์ พื้นที่อเนกประสงค์ในการจัดนิทรรศการและ การแสดงผลงานให้แก่ประชาคมโลกรับรู้
DIGITAL COMMONS
ลานจักรพงศ์ สู่ห้องสมุด Digital เต็มรูปแบบอ ครบครันไปด้วยทรัพยากรที่ส่งเสริมการเรียนรู้แห่งยุคดิจิทัล
TEACHER UNION
อาคารจุลจักรพงษ์ สู่สโมสรคณาจารย์ที่ครบครันไปด้วยทรัพยากรในการพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับการเรียรรูปแบบใหม่แห่งศตวรรษที่ 21
STUDENT UNION
อาคารเปรมบุรฉัตร สู่สโมสรนิสิตแห่งใหม่ ที่ประกอบไปด้วยพื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่พบปะ รูปแบบใหม่
MAKER SPACE
อาคารศิลปวัฒนธรรม สู่พื้นที่สร้างสรรค์เต็มรูปแบบ ที่พร้อมเปลี่ยนความคิดและไอเดียสู่ชิ้นงานจริง
MAHACHULA CAFE
พื้นที่ชั้น 1 อาคารมหาจุฬาฯ สู่การเป็น CAFÉ พื้นที่พบปะของนิสิตและคณะจารย์ ภายใต้บรรยากาศอันมีเสนห์ของสถาปัตกกรรม และร่มจามจุรี
ZONE 2: “ONE HEALTH”
พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยติดถนนพระราม 1 พื้นที่พาณิชยกรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศไทย ประกอบไปด้วยพื้นที่ 2 กลุ่มคณะ คือ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพฝั่งตะวันตก (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะสหเวชศาสตร์ และคณะจิตวิทยา) และกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพฝั่งตะวันออก (คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์) โดยมีนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรอยู่ที่ 7,370 คนด้วยกัน แต่ละคณะมีความโดดเด่นทั้งผลงานวิชาการ นวัตกรรมอยู่มาก แต่ถูกซ่อนอยู่ภายในคณะ ขาด”พื้นที่ร่วมเรียนรู้” ในการแลกเปลี่ยนบูรณาการ ผนวกกับกำแพงปิดกั้น ขาดการเชื่อมต่อโครงข่ายและพื้นที่การศึกษาอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม การเรียนการสอน หรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงจาก BTS ทั้งสถานีสยาม และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ จึงเกิดเป็นแนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่การเป็น “ONE HEALTH” คือ
.
SPORT SCIENCE CO-LAB
อาคารจุฬาพัฒน์ 8 สู่ SPORT SCIENCE CO-LAB พื้นที่ทดลอง ครบครันไปด้วยเครื่องมือ ทรัพยากรที่พร้อมต่การสร้างสรรค์นวัตกรรมข้ามศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น Sport Science X Business X Design เพื่อยกระดับนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์
INNOVATION HUB
พื้นที่ลานจอดรถข้างสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สู่ ศูนย์กลางนวัตกรรม หรือ INNOVATION HUB พื้นที่บ่มเพาะนวัตกรรมที่เชื่อมโยงระหว่างนิสิตเก่าที่มีความพร้อมในการพัฒนาและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและนิสิตปัจจุบันทีมีไอเดียในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
ONE HEALTH CO-WORKING SPACE
อาคาร Capsule พื้น Co-working space แห่งใหม่ของกลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์) ที่พร้อมช่วยยกระดับงานวิจัย และนวัตกรรมเชิงบูรณาการหลากศาสตร์ ตามเจตคติมหาวิทยาลัยนวัตกรรมแห่งเอเชีย
ZONE 3: “SOCIAL DEMO”
พื้นที่ระหว่างศาสตร์ของคณะนิเทศศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ 2 คณะแห่งกลุ่มสังคมศาสตร์ที่มีความโดดเด่นทั้งผลงาน และองค์ความรู้ โดยมีจำนวนนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรกว่า 6,358 คน แต่ด้วยตำแหน่งที่ตั้งทำให้ถูกตัดขาดจากคณะในกลุ่มสาขาเดียวกันด้วยรั้วและถนนพญาไท และปัญหาในการใช้พื้นที่ที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน
แนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่พื้นที่ร่วมเรียนรู้ “SOCIAL DEMO” คือ
จากแนวคิดข้างต้นทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใหม่ ได้แก่
OPEN THEATRE
ลานกิจกรรมคณะนิเทศศาสตร์สู่การเป็น พื้นที่แสดงโชว์ผลงานทั้งของนิสิต คณาจารย์ และผู้สนใจ นอกจากนี้แล้วยังเป็นพื้นที่ร่วมเรียนรู้บูรณาการต่างศาสตร์ สร้างสรรค์นวัตกรรม ที่พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน และจะเป็นพื้นที่ชิคที่สุดแห่งหนึ่งของจุฬาฯ เลยก็ว่าได้
LEARNING GARDEN
ลานจอดรถคณะครุศาสตร์ สู่การเป็นสวนธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้ ที่เหมาะสำหรับทุก ๆ คน และ ทุก ๆ กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่นั่งทำงาน พื้นที่สำหรับการเรียนเสริมพิเศษ ที่จะรายล้อมไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์
ZONE 4: “24 HOUR SCHOOL”
พื้นที่รวมแหล่งกิจกรรมนอกเหนือจากการเรียนไม่ว่าจะเป็น Sport Complex ศูนย์กีฬาในร่ม สนามกีฬาแห่งจุฬาฯ สำนักวิทยาทรัพยากรหรือ หอกลาง อาคารจามจุรี 9 และ พื้นที่พักอาศัยหอพักนิสิตจุฬาฯ ทำให้จุฬาฯ เป็นพื้นที่ถูกใช้มากกว่าแค่ช่วงกลางวัน หากแต่บางพื้นที่กลับมีการใช้งานที่เบาบาง และบางพื้นที่หนาแน่น เนื่องจากการกระจายตัวของแต่ละพื้นที่ ขาดแรงดึงดูดให้เกิดการเชื่อมต่อ รวมถึงการแยกจากพื้นที่อื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย
แนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่พื้นที่ “24 HOUR SCHOOL” คือ
STUDEN SPACE
พื้นที่รอบสนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สู่การเป็น STUDENT SPACE พื้นที่ชมรม ที่ปรับให้มีความยืดหยุ่นหลากหลาย และครบครันไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่ร่วมสร้างสรรค์ต่างชมรม
STUDENT JOB LINK
พื้นที่ส่วนอาคารใต้สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่การเป็น STUDENT JOB LINK พื้นที่เชื่อมโยงแหล่งงาน และนิสิตเข้าด้วยกัน ร่นเวลา สร้างโอกาสให้แก่นิสิตและแหล่งงานได้เจอบุคลากรและองค์กรที่เหมาะสมกัน
BLACK BOX THEATRE
อาคารสนามกีฬาในร่ม สู่การเป็น BLACK BOX TREATRE พื้นที่ SHOWCASE แห่งใหม่ของจุฬาฯ ที่เปิดเป็นสาธารณะแก่ทุก ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำไปสู่การต่อยอด สร้างสรรค์นวัตกรรม
CAFÉ & BISTRO
เรือนจุฬานฤมิตร เรือนภรตราชา สู่การเป็น CAFÉ & BISTRO แหล่งพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แหล่งพักผ่อนแห่งใหม่ ท่ามกลางแมกไม้ และความงามของสถาปัตกรรมยุคสมัยรัชการที่ 5
DORM’S COMMON GROUND
พื้นที่ใต้อาหารหอพักสู่การเป็นพื้นที่ร่วมเรียนรู้สำหรับนิสิตหอพัก ที่ครบครันไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ท่ามกลางบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
DORM’s COMMON
พื้นที่ลานหน้าอาคารอเนกประสงค์ หอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สู่การเป็นพื้นที่เติมเต็ม CAMPUS LIFE ที่สมบูรณ์ ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ครัวรวม พื้นที่นั่งทำงาน พื้นที่สร้างสรรค์ผลงานพื้นที่พักผ่อน
ZONE 5: “BICENTENNIAL AXIS”
พื้นที่บริเวณแกนสำคัญของจุฬาฯ จุดเริ่มปฐมศตวรรษสู่ศตวรรษ บริเวณอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ อาคารมหาวชิราวุธ หอประชุมจุฬาฯ พื้นที่สำนักงานจุฬาฯ จนถึงอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ที่โดดเด่นท่ามกลางต้นจามจุรีและไม้น้อยใหญ่ นำไปสู่ภาพอนาคตศตวรรษที่ 2 ที่พัฒนาปรับปรุงด้วยยุทธวิธี “ฝังเข็ม” ผ่านแนวคิด “ปรับ เปลี่ยน เปิด” ที่เน้นการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อเฟื้อสำหรับทุก ๆ คน และส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมตามวิสัยทัศน์ของจุฬาศตวรรษที่ 2
แนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาภูมิทัศน์“BICENTENNIAL AXIS” คือ
TRADITIONAL LANDSCAPE
ตัวอย่างการปรับปรุงภูมิทัศน์และพื้นที่บริเวณ ลานพระบรมรูปสองรัชกาลและบริเวณ หอประชุมจุฬาฯ สู่การเป็นภูมิทัศน์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สนับสนุนกิจกรรม และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ที่เป็นพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ของการก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 2 ให้เกิดความหลากหลาย
ECOLOGICAL LANDSCAPE
ตัวอย่างการปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่โดยรอบแกนสีเขียวของจุฬาฯ สู่การเป็นภูมิทัศน์เชิงนิเวศน์ ที่แฝงเสน่ห์และความหลากหลายของธรรมชาติ ก่อให้เกิดระบบนิเวศน์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้ หลากหลายของระบบนิเวศน์
ZONE 6: “PUBLIC SHOWCASE”
หากเปรียบจุฬาฯ เป็นบ้านแล้ว ถนนพญาไทและถนนอังรีดูนังต์ ก็เปรียบได้ว่าเป็นหน้าบ้าน ข้อดีของการมีหน้าบ้านที่เป็นถนนสำคัญที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ต่าง ๆ ของเมืองคือการเข้าถึงที่สะดวกสบาย ความเป็นสาธารณะที่ต้อนรับทุก ๆ คนเข้ามายังพื้นที่มหาวิทยาลัย แต่จุฬาฯ มีรั้วที่เป็นตัวกั้นระหว่างพื้นที่ภายในและพื้นที่ภายนอก รวมถึงกิจกรรมที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เก็บของ และหลังอาคาร จึงทำให้เป็นหน้าบ้านที่ไม่น่าภิรมย์และเชื้อเชิญเท่าที่ควร นำไปสู่การพัฒนาผ่านยุทธศาสตร์ “การฝังเข็ม” ด้วยแนวคิด “ปรับ เปลี่ยน เปิด” เพื่อขับเน้นข้อดี สู่การเปิดพื้นที่แสดงองค์ความรู้ ผลงาน นวัตกรรมนิสิต คณาจารย์แก่สาธารณะ
แนวคิดและแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่สู่ “PUBLIC SHOWCASE” คือ
INDUSTRIAL DESIGN GALLERY
พื้นที่ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สู่การเป็น “ต้นแบบ” ให้การเปิดพื้นที่ คว้านรั้ว เพื่อการส่งเสริมการแสดงผลงานนิสิต รวมถึงพัฒนาความปลอดภัยในเวลากลางคืน
SCIENCE GALLERY
คณะวิทยาศาสตร์เป็นคณะที่มีพิพิธภัณฑ์อยู่ค่อนข้างมาก แต่ขาดการเชื่อมโยง เชื่อมต่อ จึงทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่เต็มศักยภาพมากนัก จึงนำมาสู่การฝังเข็ม โดยแนวคิด ปรับ เปลี่ยน เปิด นำมาสู่พื้นที่แสดงผลงาน นวัตกรรม ที่สามรถใช้งานได้ เชื่อมโยงกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งต่อยอดในการพัฒนานวัตกรรมจากผลงานของนิสิต และคณาจารย์
ARCHITECTURE GALLERY
พื้นที่ด้านหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สู่การเป็น “ต้นแบบ” ในการ “ปรับ เปลี่ยน เปิด” อาคารที่เป็นมิตรกับสาธารณะให้ได้เห็นวิธีการเรียนการสอน การแสดงผลงาน ที่สนับสนุนให้เกิดการต่อยอด การแลกเปลี่ยนความคิดข้ามศาสตร์ อันเป็นหัวใจหลักในการสร้างนวัตกรรม ซึ่งสามารถปรับประยุกต์ใช้ได้กับทุก ๆ อาคารของจุฬาฯ ได้เช่นกัน
BIZ CUBE
พื้นที่ลานคณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี สู่การเป็น BIZ CUBE ศูนย์พัฒนาธุรกิจสำหรับนิสิตและคนทั่วไปที่พร้อมจะเริ่มต้นธุรกิจให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง ที่เชื่อมโยงกับห้องเรียนบริษัทจำลองและห้องเรียนตลาดหลักทรัพย์จำลอง เพื่อพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ที่สามารถปรับประยุกต์ได้จริงในโลกความจริง รวมถึงการเปิดรั้วจุฬาฯ เพื่อเชื่อมประสานกับสาธารณะ
FINE AND APPLIED ART GALLERY
พื้นที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ อีกหนึ่งตัวอย่างได้รับการ “ฝังเข็ม” ผ่านแนวคิด “ปรับ เปลี่ยน เปิด” จนนำมาสู่การเปิดพื้นที่ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอน การแสดงผลงาน ให้สามารถเข้าถึงผ่านการมองเห็นได้ นำไปสู่การต่อยอดการพัฒนาผลงานนิสิต
SMALL ANIMAL HOSPITAL
พื้นที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่มีประชาชนมาใช้สอยอย่างคับคั่ง หากแต่เข้าถึงยาก จึงนำไปสู่การปรับปรุงการเข้าถึง และการพื้นที่ลานจอดรถสู่การเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อให้บริการกับชุมชน
HERB PATCHES
พื้นที่คณะเภสัชศาสตร์ สู่การเป็นพื้นที่สนับสนุนการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร ต่อยอดองค์ความรู้สู่นวัตกรรมสร้างสรรค์ เพื่อบริการสังคมต่อไป
ท่านสามารถรับชมที่มาของโครงการ และแนวคิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการศึกษา จุฬาฯ ได้ที่ https://bit.ly/2CBDqIC หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ของโครงการได้ที่ https://www.facebook.com/cu2040masterplan/
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่
ฝ่ายสื่อสารองค์กร ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)
388 อามิโก้ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถ.สี่พระยา
แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
โทรศัพท์ 02 234 0293, 090 972 7087 โทรสาร 02 234 0294
E-mail chayakorn.k@uddc.net
Website www.uddc.net
สัมมนา “From Startups to Scale-Ups: Swedish Perspective” CUTIP จุฬาฯ ร่วมส่งเสริมความสำเร็จสตาร์ทอัพไทยในระดับสากลสู่สวีเดน
เชิญร่วมอบรม “CFP 1-0-1 Workshop 1 วัน ลงมือทำจริง” เรียนรู้ขั้นตอนการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์
14 พ.ย. 67
โรงแรมชาเทรียม แกรนด์ กรุงเทพ
สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ จุฬาฯ อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน
จุฬาฯ ร่วมมือกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย “โครงการฟื้นฟูชุมชน บรรเทาทุกข์ บำรุงสุขให้ยั่งยืน” ช่วยเหลือโรงเรียนในจังหวัดน่านที่ประสบอุทกภัย
งานแสดงมุทิตาจิตแด่บุคลากรจุฬาฯ ในสำนักงานมหาวิทยาลัย ที่เกษียณอายุ ปี 2567
สถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรมเดิน-ปั่น-วิ่ง WALK-RIDE-RUN ย่านพระโขนง-บางนา “เดินส่องย่าน ปั่นมองเมือง วิ่งเชื่อมกรุง” และกิจกรรมเสวนาสาธารณะ
15 ก.ย. 67
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ ถนนสุขุมวิท 101/1 (ซอยวชิรธรรมสาธิต)
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้