ข่าวสารจุฬาฯ

กองทุน C2F เสริมพลังจุฬาฯ ขับเคลื่อนงานวิจัย พัฒนาองค์ความรู้สู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อสังคมชั้นนำระดับโลก

            ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายและทิศทาง กองทุนสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่สอง (C2F) ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของคณะกรรมการ C2F ในวาระของผู้บริหารปัจจุบันที่จะหมดวาระในวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 โดยมีรองอธิการบดีกำกับดูแลการวิจัย (ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์) และรองอธิการบดีกำกับดูแลด้านวิชาการ (ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์) พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมการประชุมครั้งนี้

            กองทุนเสริมสร้างพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่สอง (The Second Century Fund: C2F) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกิจการการศึกษาการพัฒนาวิชาการ การวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้จริงในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน 4 แผนงาน ได้แก่ สนับสนุนการพัฒนากำลังคน การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสนับสนุนงานวิชาการเชิงลึก ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และให้การสนับสนุนโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลต่อสังคม ประเทศ และการแก้ไขปัญหาในระดับโลก

            ที่ประชุมได้สรุปผลการดำเนินงานของกองทุน C2F ซึ่งตอบสนองแผนงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแห่งชาติระดับโลก ประกอบด้วย การสร้างผู้นำอนาคต การวิจัยสร้างสรรค์และนวัตกรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้

            – การสนับสนุนทุนแก่อาจารย์ นักวิจัย และนิสิตระดับต่างๆ รวม 2,697 ทุน เป็นทุนที่จัดสรรให้นิสิตและนักวิจัยต่างชาติ 1,815 ทุน มีงานวิจัยคุณภาพสูง 1,386 เรื่อง แพลตฟอร์มสร้างงานวิจัยแนวหน้าและแสวงหาทุนวิจัยต่อเนื่อง 11 แพลตฟอร์ม โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก 273 ล้านบาท และมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแนวหน้าระดับโลก 150 แห่ง

            – แพลตฟอร์มสร้างงานวิจัยระดับแนวหน้าได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่คณาจารย์ นักวิจัยและนิสิตอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย วิชาการต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย มีดังนี้

            ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เช่น โครงการฟิสิกส์รากฐานของเอกภพ (CUniverse) การดักจับ CO2 เพื่อการใช้ประโยชน์ (CrystalLyte) หน่วยธุรกิจพัฒนานวัตกรรมพื้นผิววัสดุ (Nexurf) โครงการแผ่นสักไมโครนีดเดิ้ล (Mineed) ฯลฯ

            ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น นวัตกรรมยีนบำบัดรักษามะเร็ง (CAR T-Cell) ไหมไทยสู่ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (EngineLife) โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาลด้วย Virtual Reality (ER-VIPE) ฯลฯ

            ด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ เช่น โครงการจุฬาอารีเพื่อผู้สูงวัย โครงการการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม (D4S) โครงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โครงการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) ศูนย์จิตวิทยาพัฒนาการ (Life-Di) ศูนย์เนลสันแมนเดลาเพื่อสันติภาพ ฯลฯ

              – การพัฒนานักวิจัยเพื่อสนับสนุนหน่วยวิสาหกิจเพื่อวิจัยนวัตกรรม (Talent for Enterprise, T4Ent) เพื่อขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีสู่พาณิชยกรรม (Innovation Driven Enterprise) โดยร่วมมือกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ในการสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาโทและหลังปริญญาเอก เพื่อนำนวัตกรรมสู่การใช้จริง โดย บพค.ได้ร่วมสนับสนุนจำนวน 16 ล้านบาทในการพัฒนาหลักสูตรด้านกำลังคนนวัตกรรม และ C2F ให้การสนับสนุนทุนในหลักสูตรปริญญาโท (Research for Enterprise , R4Ent) เพื่อสนับสนุนการวิจัยของบริษัทนวัตกรรมจำนวน 40 ทุน  

            – การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 กองทุน C2F ได้จัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 562 ล้านบาท และในปี 2567 ได้จัดสรรงบประมาณแล้ว 398 ล้านบาท

            ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการนำเสนอผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง (High Impact Program, HIP) ที่ดำเนินการแล้วเสร็จรวม 7 โครงการ โดย ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำเสนอโครงการ Design for Society (D4S) และ ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ อดีตคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นำเสนอโครงการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “เงินกองทุน C2F ของจุฬาฯ ไม่ได้ใช้สำหรับแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแต่กองทุนนี้เปรียบเป็นวิตามินที่ช่วยสร้างเสริมพลังให้ชาวจุฬาฯ สร้างผลงานการวิจัย การสอน และการพัฒนาองค์ความรู้ที่ทันสมัย ตลอดจนผลงานต่างๆ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน กองทุน C2F ของจุฬาฯ แสดงให้เห็นผลลัพธ์เชิงประจักษ์จำนวนมากที่เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับสากล สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจุฬาฯ ในการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมชั้นนำและมีผลงานวิจัยในระดับโลก”

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า