ข่าวสารจุฬาฯ

ครบรอบ 3 ปี ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ : แบ่งปันเรียนรู้ ก้าวสู่อนาคต

เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 ณ CU Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ  ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ จัดงานฉลองครบรอบ 3 ปี “ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: แบ่งปันเรียนรู้ ก้าวสู่อนาคต”

            ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ กล่าวถึงเป้าหมายการสร้างงานวิจัยเพื่อรับใช้สังคมอย่างยั่งยืนเนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปี ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ (CU Social Innovation Hub) โดยการประมวลผลการดำเนินงานโครงการวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความสามารถทางทักษะการประกอบการนวัตกรรมทางสังคม ให้สามารถตอบโจทย์สังคมได้อย่างยั่งยืน จนนำไปสู่การตอบโจทย์สังคม ทั้งในเชิงสังคมและเชิงพาณิชย์อย่างแท้จริง

            ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ ได้นำเสนอโครงการวิจัยที่สามารถต่อยอดโครงการเดิมโดยได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก ได้แก่ โครงการวิจัย “สร้างนวัตกรรมทางสังคมด้วยศิลปะการละคร” โดย ศ.ดร.พรรัตน์ ดำรุง คณะอักษรศาสตร์ โครงการวิจัย “แอปพลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยวและเรียนรู้วัดโพธิ์” โดย อ.ดร.วิลาสินี สุขสว่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และโครงการวิจัย “การส่งออกวัฒนธรรมไทย ผ่านสื่อบันเทิง” โดย ดร.ดลยา เทียนทอง สถาบันเอเชียศึกษา

นอกจากนี้ ยังมีโครงการวิจัยที่ได้สร้างผลกระทบหรือมีการนำไปใช้ประโยชน์ทางสังคม ได้แก่ โครงการวิจัย “นวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศทางธุรกิจโกโก้น่าน” โดย ผศ.ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร โครงการวิจัย “การพัฒนาคลังคัมภีร์ใบลานดิจิทัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากโดย” โดย ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ คณะอักษรศาสตร์ และโครงการวิจัย “แพลนบางโพ: โครงการวิจัยนวัตกรรมทางสังคมเพื่อจัดทำแผนอนุรักษ์และ พัฒนาชุมชนถนนสายไม้บางโพอย่างยั่งยืน” โดย ผศ.ดร.ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมทั้งการประเมินผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจและสังคมและการขยายผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการประเมินผลกระทบทางสังคมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SROI) นำเสนอโดย รศ.ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง คณะครุศาสตร์ และ ผศ.ดร.ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ คณะครุศาสตร์

ทั้งนี้ ได้มีการนำเสนอแพลตฟอร์มสังคมยั่งยืน (Sustainable Society Platform) ที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการวิจัยให้เกิดการร่วมมือข้ามศาสตร์/สาขาวิชาภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยภายนอก เพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลการวิจัยและนำความรู้สู่ชุมชนในวงกว้าง แก้ไขความท้าทายด้านความยั่งยืนที่ซับซ้อนและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางสังคมที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง นำโดย ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (creative economy) ผศ.ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ สถาบันเอเชียศึกษา (livable society) และ ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม คณะครุศาสตร์ (inclusive society)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีคณาจารย์และนักวิจัยจากหลายส่วนงานที่ทำงานวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมในหลากหลายมิติ เพื่อตอบโจทย์สังคมสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนและนำไปสู่การสร้างทางเลือกเชิงนวัตกรรมสังคม ได้แก่ การบูรณาการนวัตกรรมนโยบายสังคมสูงวัย การออกแบบนวัตกรรมสถาปัตยกรรมเพื่อสังคม การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน และการพัฒนาศิลปกรรมดิจิทัลเพื่อสังคม จึงมีการจัดตั้ง  “ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เพื่อใช้เป็นชุมชนวิชาการในการยกระดับการปรับเปลี่ยน (Transformation) โดยการขับเคลื่อนแบบบูรณาการสหศาสตร์ (Transdisciplinary) ในบริบททางวิชาการเพื่อสร้างนวัตกรรมทางสังคมและนำไปใช้ประโยชน์ มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า