รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
ทีมนิสิตหลักสูตรนานาชาติบริหารธุรกิจ (BBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติกวาดรางวัลจากเวทีการประกวดแผนธุรกิจระดับโลกกว่า 10 รางวัลในช่วงปีที่ผ่านมา ตอกย้ำความสำเร็จที่น่าชื่นชมของนิสิต BBA จุฬาฯ ที่มีศักยภาพทัดเทียมนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในระดับโลกทั้ง University of Florida, HEC Montréal, University of Alberta, Maastricht University, Nanyang University ฯลฯ
ส่วนหนึ่งของผลงานอันยอดเยี่ยมของนิสิต BBA จุฬาฯ ในปีนี้ นิสิตสามารถคว้าแชมป์โลกการแข่งขัน 23rd Indonesia Capital Market Student Studies (ICMSS) ซึ่งเป็นเวทีการแข่งขันทางการเงินเกี่ยวกับตลาดทุนที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การแข่งขันจัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
พล วนาโรจน์ ตัวแทนทีมนิสิต BBA จุฬาฯ ที่คว้าแชมป์จากรายการนี้ กล่าวว่า “การเข้าร่วมการแข่งขัน ICMSS ครั้งที่ 23 เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำ เป็นเวทีการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้โอกาสที่ดีที่สุดสำหรับพวกเราในการได้ทำวิจัยเพื่อเสนอบทวิเคราะห์หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยและเรียนรู้เกี่ยวกับตลาดทุนของประเทศอินโดนีเซีย การได้รับการสนับสนุนจากทีมอาจารย์ที่ปรึกษาและศิษย์เก่า BBA จุฬาฯ เป็นอย่างดีมีส่วนสำคัญที่ทำให้พวกเราประสบความสำเร็จในการแข่งขันครั้งนี้”
การประกวดแผนธุรกิจระดับโลกรายการ UW Global Business Case Competition (UW GBCC) ซึ่งจัดขึ้นที่ University of Washington เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ในช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา เป็นอีกเวทีหนึ่งซึ่งนิสิต BBA จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศ Short Case , Social Media Challenge และรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งประเภททีม การแข่งขันรายการนี้เป็นเวทีประกวดแผนธุรกิจที่มีประวัติยาวนานมากกว่า 20 ปี มีทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านธุรกิจจากหลายประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขัน เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ไต้หวัน ฮ่องกง ฯลฯ
ปพิชญา ศิริยนตระกาล ตัวแทนทีมนิสิต BBA จุฬาฯ ที่คว้ารางวัลชนะเลิศจากเวทีการแข่งขัน UW GBCC เผยว่า การแข่งขันครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 รอบ โดยรอบแรกเป็น 5-hr case ที่ต้องร่วมทำโจทย์กับทีมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ภายใต้โจทย์การช่วยเหลือ Tim Hortons ให้ตีตลาดประเทศจีนให้สําเร็จ ส่วนการแข่งขันรอบที่สองเป็น 24-hr case เป็นการแข่งขันจริงที่มีผลต่อลําดับและการตัดสินแพ้ชนะ โจทย์ที่ได้รับคือการวางแผนการตลาดของ CostCo Wholesale ว่าควรเข้าตลาดในประเทศใดก่อนหลังระหว่างบราซิล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และอินเดีย พร้อมเสนอแผนการตลาด
“สนุกกับการทําเคสในการแข่งขันครั้งนี้มาก ในรอบ Final ได้มีโอกาสได้นำเสนอผลงานให้กับ CEO ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ซึ่งนับเป็นเกียรติและรู้สึกภูมิใจมากที่ได้เป็นตัวแทนคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และประเทศไทยในเวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ ความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากการเตรียมตัวในการแข่งขันมาเป็นอย่างดี การมีพื้นฐานทางด้าน business ที่แข็งแรง และการคิดวิเคราะห์ที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนในหลักสูตร BBA จุฬาฯ และจาก Chulalongkorn Case Club ซึ่งช่วยบ่มเพาะทักษะที่สําคัญให้นิสิต” ปพิชญากล่าว
ล่าสุดนิสิต BBA จุฬาฯ ทีม Loveréal คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันประชันไอเดียนวัตกรรมเพื่อธุรกิจระดับโลก L’Oreal Brandstorm 2024 เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา จากผู้เข้าแข่งขันกว่า 160 ทีม นิสิตทีม Loveréal ได้เป็นตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวของประเทศไทยไปแข่งขันระดับโลกในรอบ International Final ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 17 – 21 มิถุนายนนี้
บูรณี สอนเวช และอชิรญา ประนอมชัยกุล สองนิสิตหลักสูตร BBA ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากเวทีการแข่งขัน L’Oreal Brandstorm 2024 กล่าวว่า “การแข่งขันปีนี้ท้าทายมาก โจทย์ที่ได้รับคือ “Reinvent the Future of Professional Beauty Through Tech” ในการวางแผนกลยุทธ์ต้องสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของ Loreal ที่มุ่งเน้น technology, inclusivity และ sustainability รู้สึกดีใจและภูมิใจที่สามารถดึงศักยภาพที่มีออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ อยากฝากถึงทุกคนว่าอย่าจำกัดความคิดของตัวเอง ทุกคนมีศักยภาพของตัวเอง เพียงแค่ลงมือทำ ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร อย่างน้อยก็ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่คุ้มค่าแน่นอน ขอบคุณ BBA จุฬาฯ ที่เป็นพื้นที่ที่มอบความรู้และประสบการณ์อันมีค่า ทำให้สามารถนำความรู้ไปใช้กับการแข่งขัน business case ได้จริง”
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn Business School: CBS) กล่าวว่า นอกจากนิสิต BBA จุฬาฯ จะกวาดรางวัลในเวทีระดับโลกอย่างมากมายและต่อเนื่อง สร้างความภาคภูมิใจให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประเทศไทยแล้ว นิสิต BBA จุฬาฯ ยังเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจในระดับโลก “Chulalongkorn International Business Case Competition” หรือ CIBCC ระหว่างวันที่ 20 – 26 พฤษภาคม 2567 ซึ่งถือ ได้ว่าเป็นเวทีการแข่งขันประกวดแผนธุรกิจเดียวในประเทศไทยที่ใช้ Real Business Case ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละทีมได้จำลองตัวเองเป็น Consultant ให้กับบริษัทจริง การเปลี่ยนที่จัดการแข่งขันไปทุกปีทำให้ Case ในแต่ละปีมีความสดใหม่และน่าสนใจในแง่มุมทางธุรกิจที่แตกต่างกันเสมอ เรียกได้ว่าเป็น World-Class Business Case Competition เดียวที่จัดในประเทศไทย ที่ใช้ Live Case ไม่ใช่แค่ case ในกระดาษ ให้สมกับ Vision ของ CBS คือเป็น Top World-Class Business School
รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา ประธานหลักสูตร BBA จุฬาฯ เปิดเผยว่าทางหลักสูตรฯ ได้ให้การสนับสนุนในการส่งนิสิตเข้าร่วมการแข่งขันแผนธุรกิจในระดับโลกมาโดยตลอด โดยมีการจัดตั้ง Case Club และ Investment Club รวมทั้งสนับสนุนให้นิสิตเข้าร่วมในเวทีต่าง ๆ ที่ผู้จัดเป็นสถาบันการศึกษา หน่วยงานองค์กรวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ทำให้นิสิตได้นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้กับผู้รู้ตัวจริงในระดับ “Top World Class” มาประยุกต์ใช้กับโลกธุรกิจ ส่งผลให้นิสิต BBA โดดเด่นและกวาดรางวัลในเวทีระดับโลกอย่างต่อเนื่อง
จุฬาฯ Triple Champions อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทยจากสามรายการจัดอันดับที่เป็นที่ยอมรับระดับโลก
สัมมนา “จับตาโค้งสุดท้ายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: โอกาสและความท้าทายระดับโลก”
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย TOP ของประเทศ 3 ด้าน โดย THE WUR 2025
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาฯ เปิดตัวหนังสือ “การเดินทาง 50 ปี สู่สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน”
เชิญร่วมประกวดวงดนตรีและประกวดหนังสั้น เนื่องในวันเอดส์โลก ครั้งที่ 32 ประจำปี 2567
นักวิชาการศศินทร์ เผยผลวิจัยข้อเท็จจริงและโอกาสสำหรับผู้ดูแลผู้ที่มีความแตกต่างทางการรับรู้
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้