รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ดีกรีพลัส จำกัด จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรสุขภาพระยะสั้นสำหรับผู้บริหารองค์กรด้านสุขภาพและการแพทย์ หลักสูตร “Vitality Enhancement and Longevity Academy (VELA)” รุ่นที่ 2 สำหรับผู้ประกอบการ หรือบุคลากรในระดับบริหารขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและบริการด้านสุขภาพ โดยได้จัดงานปาฐกถาเกียรติยศเวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2567 ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช ประธานอำนวยการหลักสูตรเวฬา เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยได้รับเกียรติจากคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Healthy, Well-being, and Longevity: From Local to Global Wisdom” เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์ มุมมองแนวความคิดจากบุคคลชั้นนำของประเทศ สร้างความตระหนักรู้สู่สังคมให้มีความเข้าใจและรับทราบถึงวิทยาการล้ำสมัยด้านสุขภาพ และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการนำวิทยาการความก้าวหน้าด้านต่าง ๆ มาใช้ในประเทศต่อไป
หลักสูตรเวฬา “Vitality Enhancement and Longevity Academy (VELA)” รุ่นที่ 2 มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมจำนวน 99 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ผู้ประกอบการ หรือบุคลากรในระดับบริหารขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและบริการด้านสุขภาพของประเทศไทย กำหนดจัดการอบรมทุกวันพุธ ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567 เป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยผู้เข้าอบรมหลักสูตรเวฬาจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศาสตร์สมัยใหม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพและการแพทย์จากวิทยากรทั้งในประเทศและต่างประเทศในมิติต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไทยในการเป็น Medical Hub อย่างยั่งยืน
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสุขภาพและการแพทย์ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญยิ่งต่อประชาชน จึงได้ร่วมมือกันจัดหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หลักสูตรเวฬา ผู้เข้าอบรมซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีหน้าที่รับผิดชอบขับเคลื่อนองคาพยพต่างๆ ของประเทศจะได้รับประโยชน์ 3 ประการ ได้แก่ การช่วยยกระดับมาตรฐานวิชาชีพบุคลากรทางการแพทย์ของประเทศไทย ช่วยระดมสมองพัฒนาส่งเสริมนวัตกรรมทางการแพทย์และการสาธารณสุข และช่วยเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและเวชศาสตร์ชะลอวัยให้กว้างขวางสู่สังคม เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เพียงพอในการดูแลสุขภาพ และสุขภาวะของตนเองในเบื้องต้นได้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและชะลอความเสี่ยงจากการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันด้าน Medical Tourism ในเวทีโลกได้
ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช ประธานอำนวยการหลักสูตรเวฬา กล่าวว่า หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์และสุขภาพ หลักสูตรเวฬา เน้นเรื่อง Longevity แก่ช้า อายุยืนอย่างมีคุณภาพ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 โดยความร่วมมือของบัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ดีกรีพลัส จำกัด โดยหลักสูตรจะเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ 6 รูปแบบ ได้แก่ การอัปเดตเทรนด์ล่าสุดด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมด้านการแพทย์ เสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองด้านสุขภาพ นโยบายและเทคโนโลยี การจัดแสดงนวัตกรรมสุขภาพจากบริษัทชั้นนำของประเทศ การศึกษาดูงานวิจัย สินค้าและบริการจากมหาวิทยาลัยและบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ การทำโครงการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ตลอดหลักสูตรให้ออกมาเป็นรูปธรรม และการสร้างเครือข่ายผู้นำด้านการแพทย์และสุขภาพเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ Medical Hub ของโลก หลักสูตรเวฬาได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้