รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 พฤษภาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) เปิดฉากจัดการแข่งขัน Bangkok Business Challenge 2024 โดยมี บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ซึ่งการแข่งขัน Bangkok Business Challenge เป็นเวทีแข่งขันแผนธุรกิจสตาร์ตอัประดับโลกภาคภาษาอังกฤษ สำหรับนิสิตและนักศึกษาที่จัดขึ้นมายาวนานที่สุดในเอเชีย โดยในปีนี้การแข่งขันได้ใช้แนวคิด “Growing Impactful Ventures” หรือการขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ซึ่งจะทำการแข่งขันในวันที่ 20 – 22 มิถุนายน 2567 ณ สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ โดยจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024 (SasinIEW)
นายดิเบียนดู โบส (Mr.Dibyendu Bose) รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและการพัฒนาของ สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ กล่าวว่า “Bangkok Business Challenge เป็นกลไกในการผลักดันผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นให้ลงมือแก้ไขปัญหาระดับโลกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น”
นายนิวัฒน์ อธิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการเทคโนโลยี SCGC เผย “SCGC มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ โดยมุ่งพัฒนานวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMER™ พร้อมนำเสนอกรีนโซลูชันตามแนวทาง Low Waste, Low Carbon เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งนอกเหนือจากการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนแล้ว SCGC ยังเล็งเห็นว่าการผลักดันและสนับสนุนผู้ประกอบการ Startup ในระดับอุดมศึกษาผ่านการประกวดแผนธุรกิจ Bangkok Business Challenge ยังเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในวงกว้าง ซึ่งนับเป็นปีที่ 9 แล้วที่ SCGC ได้ร่วมกับศศินทร์เพื่อพัฒนา Startup ของประเทศไทยให้สามารถอัปสเกลก้าวไกลสู่ระดับโลก ซึ่งนอกจากจะส่งเสริมให้เกิด Startup Ecosystem ที่มีเครือข่ายทั่วโลกแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในการพัฒนาธุรกิจที่ส่งผลกระทบเชิงบวกเพื่อขับเคลื่อนสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดียิ่งขึ้นและสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรมและโซลูชันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Innovation & Solutions) มาสร้างสรรค์ธุรกิจเพื่อร่วมกันสู่สังคมคาร์บอนต่ำต่อไป”
การแข่งขัน Bangkok Business Challenge 2024 มีทีมจากทั่วโลกสมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 276 ทีม เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 60% โดยมาจาก 62 สถาบันอุดมศึกษา ใน 19 ประเทศ ครอบคลุม 5 ทวีป และมีทีมที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศทั้งสิ้น 20 ทีม ทั้งนี้การแข่งขันมีเกณฑ์การประเมินที่ให้น้ำหนักในด้านความยั่งยืนและผลกระทบเชิงบวกกว่า 20% โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิมากประสบการณ์จากหลากหลายภาคส่วน อาทิ คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด มาร่วมเป็นกรรมการตัดสิน เพื่อเฟ้นหาสุดยอดทีมที่ดีที่สุดและคู่ควรกับรางวัลเกียรติคุณพระราชทาน HM The King’s Award จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรางวัลเกียรติคุณพระราชทาน HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Sustainability Award จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมรับรางวัลเงินสดรวมมูลค่ามากกว่า 42,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,500,000 บาท
สำหรับ 20 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ ได้แก่
สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง https://bbc.sasin.edu/2024 และร่วมเป็นกำลังใจให้ทีมที่ร่วมแข่งขันผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งบนแพลตฟอร์ม Facebook: Bangkok Business Challenge (www.facebook.com/bangkokbusinesschallenge)
โครงการ Dogcoola กิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์โดยนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ เชิญชวนบริจาคโลหิตช่วยชีวิตคนและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ 24 Public Health 360: From Policy to Practice
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้