ข่าวสารจุฬาฯ
22 มกราคม 2019
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ, งานวิจัยและนวัตกรรม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการ Early Nutrition e-learning Academy South East Asia (ENeASEA) ซึ่งเป็นโครงการสร้างขีดความสามารถของ Erasmus+ (Erasmus+ Capacity-Building Project) ร่วมกับสถาบันชั้นนำอีก 6 แห่ง ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ อันได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล Ludwig-Maximilians University ประเทศเยอรมนี University of Southampton ประเทศอังกฤษ Universitatea Politehnica ประเทศโรมาเนีย University of Malaya และ University of Kebangsaan ประเทศมาเลเซีย ร่วมมือกันพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการช่วงแรกแห่งชีวิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น กุมารแพทย์ สูตินรีแพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ นักโภชนาการ และนักกำหนดอาหารโภชนาการช่วงแรกแห่งชีวิต และวิถีการดำเนินชีวิตในระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงในวัยทารกและเด็กเล็ก (1,000 วันแรกของชีวิตหลังตั้งครรภ์) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพในระยะยาว และความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้ทางโภชนาการ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหา เรื่องภาวะทุพโภชนาการทั้งสองขั้ว (double burden of malnutrition)
ผู้สนใจสามารถเข้ามาศึกษาบทเรียนภาษาอังกฤษสำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย รวมถึงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ศึกษาผ่านระบบการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ที่ www.enea-sea.eu โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณนัยนา หนูจันทร์แก้ว โทร. 0-2256-4000 ต่อ 3555
สัมมนาเรื่อง “ทิศทางที่ท้าทายประเทศไทย : การบูรณาการความรู้เพื่อกำกับดูแลอนาคต”
บุคลากรวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการประกวดภาพถ่ายผู้สูงอายุ
“จุฬาอารี” ห่วงใยผู้สูงวัยห่างไกลโควิด-19
อบรมหลักสูตรการเตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นนักพฤฒาวิทยาและการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ
ประกาศ สำนักงานการทะเบียน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการถอนรายวิชาทางออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19
เชิญฟังการบรรยาย Logistics Special Talk ครั้งที่ 2 เรื่อง “Ever Given Aftermath: Back to the normal or new normal?”
19 เม.ย. 64 เวลา 18.30-19.30 น.
Facebook Live
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย