รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 มกราคม 2562
ข่าวเด่น
คณาจารย์จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2562 จำนวนทั้งสิ้น 30 รางวัล ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่น 3 ท่าน และคว้ารางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จำนวน 27 รางวัล พิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันนักประดิษฐ์ วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
คณาจารย์จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลต่างๆ มีดังนี้
– สาขาเศรษฐศาสตร์ ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
– สาขาปรัชญา รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
– สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ศ.น.สพ.ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
– ผลงานวิจัยเรื่อง “โครงสร้างระดับนาโนเมตรที่ซับซ้อนและการประยุกต์ใช้งานด้านพลังและเซนเซอร์” โดย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
– ผลงานวิจัยเรื่อง “ศักยภาพของจุลสาหร่ายเพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ” โดย ศ.ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ คณะวิทยาศาสตร์
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
– ผลงานวิจัยเรื่อง “เส้นทางสู่ประชาธิปไตยที่ไม่ย้อนกลับ : ปัจจัยเชิงสถาบันการเมืองกับประชาธิปไตยที่ตั้งมั่น เปรียบเทียบการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในเกาหลีใต้ อินโดนิเซีย ชิลี อาร์เจนตินา ตูนิเซีย ไนจีเรีย ยูเครน และโปแลนด์” โดย รศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์
– ผลงานวิจัยเรื่อง “ความหนืดเชียร์ใน โฮโลกราฟีและทฤษฎียังผลของการขนส่งในระบบที่ไม่มีสมมาตรการเคลื่อนที่” โดย รศ.ดร.ปิยบุตร บุรีคำ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
– ผลงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาระบาดวิทยา ชีววิทยาเชิงโมเลกุล และภาวะโรคตับที่เกี่ยวข้องไวรัสตับอักเสบซี เพื่อนำไปสู่การรักษาและขจัดไวรัสตับอักเสบซีให้หมดไปจากประเทศไทย” โดย ดร.รุจิพัชร์ วสิษฐ์ธัญเกษม คณะแพทยศาสตร์ และคณะ
– ผลงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/ซิงก์ออกไซด์เพื่องานด้านการตรวจวัด” โดย รศ.ดร.นิศานาถ ไตรผล คณะวิทยาศาสตร์
– ผลงานวิจัยเรื่อง “การใช้ฟังก์ชันนัลโคพอลิเมอร์บรัชสำหรีบประยุกต์ทางการตรวจวัดทางชีวภาพและชีวการแพทย์” โดย รศ.ดร.วรวีร์ โฮเว่น คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
– ผลงานวิจัยเรื่อง “การผลิตเอทานอลและบิวทานอลด้วยคลอสทริเดียมจากแหล่งคาร์บอนที่แตกต่างทั่วไป” โดย รศ.ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ
– ผลงานวิจัยเรื่อง “การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในเชิงสุขภาพหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดย รศ.ดร.สพ.ญ.รุ่งทิพย์ ชวนชื่น คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะ
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
– ผลงานวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจัดการภัยพิบัติแผ่นดินไหว” โดย ผศ.ดร.พนม คลี่ฉายา คณะนิเทศศาสตร์
– วิทยานิพนธ์เรื่อง“ระบาดวิทยาเชิงโมเลกุลและวิวัฒนาการของเชื้อไวรัส ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอและบี” โดย ดร.นิภาพร เทวาวงศ์ คณะแพทยศาสตร์
สาขาปรัชญา
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “จามเทวีบูชา : การผลิตซ้ำตำนานและการสร้างพิธีบวงสรวงในสังคมไทยร่วมสมัย” โดย ดร.วริศรา อนันตโท คณะอักษรศาสตร์
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาคุณสมบัติการเปลี่ยนผ่านของสภาวะโลหะ-ฉนวน ในฟิล์มบางวาเนเดียมไดออกไซด์” โดย ดร.สลิลพร กิตติวัฒนากูล คณะวิทยาศาสตร์
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “วิธีเตรียมภาวะเลี้ยงเซลล์สาหรับวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูกอ่อน : โดยอิทธิพลของสมบัติชีววัสดุจากรังไหมและก๊าซออกซิเจนปริมาณต่ำ” โดย ดร.สุพรรษา ยอดเมือง คณะแพทยศาสตร์
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “เอนไซม์วิทยาในชีวสังเคราะห์ของกรดเทโทรนิค” โดย ดร.ชมพูนิกข์ กาญจนพังคะ คณะวิทยาศาสตร์
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “ผลของการเคลือบผิวด้วยไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและอายุการเก็บรักษาผลมะม่วงน้ำดอกไม้” โดย ดร.พรจันทร์ จงศรี คณะวิทยาศาสตร์ .
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “ลักษณะสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนรีลิชจากกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon” โดย ดร.สุวัฒนา วิเศษนันท์ คณะวิทยาศาสตร์
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “วัตถุมงคลทางดนตรีไทยในสังคมไทยร่วมสมัย: การสร้างความหมายและบทบาท” โดย ดร.ไอยเรศ บุญฤทธิ์ คณะอักษรศาสตร์
สาขาการศึกษา
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาโปรแกรมการเปิดรับประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล : การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างแบบส่งผ่านพหุระดับ” โดย ดร.กาญจณี พันธุ์ไพโรจน์ คณะครุศาสตร์
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกในการอยู่ร่วมกัน” โดย ดร.สริตา เจือศรีกุล คณะครุศาสตร์
– วิทยานิพนธ์เรื่อง “ตัวบ่งชี้และกลยุทธ์การเสริมสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ผ่านหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนิสิตนักศึกษา : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์สายโซ่วิธีการ-เป้าหมายและการวิเคราะห์กลุ่มแฝง” โดย ดร.ชัยยุทธ กลีบบัว คณะครุศาสตร์
– ผลงานเรื่อง “กล้องจุลทรรศน์สมาร์ตโฟน : ห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่บนสมาร์ทโฟน” โดย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ
– ผลงานเรื่อง “ภาชนะพลาสติกชีวภาพทนร้อนเย็นย่อยสลายได้” โดย ศ.ดร.รัตนวรรณ มกรพันธ์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
– ผลงานเรื่อง ”อิมมูโนเซ็นเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าสำหรับการตรวจวัดโปรตีนที่ตอบสนองต่อการอักเสบ” โดย ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ
– ผลงานเรื่อง “เซ็นเซอร์กระดาษอัจฉริยะสำหรับตรวจวินิจฉัยดีเอ็นเอของโรคติดต่อ” โดย ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
– ผลงานเรื่อง “มิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะที่วัดได้สี่สิบแปดวงจร สื่อสารตามมาตรฐาน IEEE1888 ส่งข้อมูลผ่านสาย UTP หรือไร้สายแบบ LoRaWAN กินพลังงานต่ำมาก” โดย ผศ.ดร.วันเฉลิม โปรา คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะ
– ผลงานเรื่อง “การ์ลิคอัพ กระเทียมไร้กลิ่นที่มีปริมาณอัลลิอินสูง” โดย ศ.ดร.นงนุช เหมืองสิน คณะวิทยาศาสตร์ และคณะ
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้