รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 มิถุนายน 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ชาติสยาม หม่อมแก้ว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค และภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัวโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเพาะเลี้ยงกบนา เสริมรายได้–สร้างอาชีพ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้จากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยสู่ท้องถิ่นจังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกบนาให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืนและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 ณ สำนักปฏิบัติธรรมวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร สาขาหนองเจริญ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
โครงการนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนในจังหวัดน่านเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเลี้ยงกบนานั้นมีประโยชน์หลากหลาย ไม่เพียงแค่เป็นแหล่งอาหารเสริมโปรตีน แต่ยังใช้ในการศึกษาวิจัยทางชีววิทยาและการแพทย์ รวมถึงสามารถสร้างเสริมรายได้และอาชีพใหม่ให้กับผู้ที่สนใจ โดยมีเกษตรกรจากบ้านหนองเจริญเข้าร่วมจำนวน 28 คน และบุคลากรศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค 10 คน รวมทั้งสิ้น 38 คน
กิจกรรมภายในโครงการประกอบด้วย
– การบรรยายเรื่องการเลี้ยงกบนา: การสืบพันธุ์และการผสมพันธุ์ของกบนา
– การฉายวีดิทัศน์ “แรงจูงใจในการเลี้ยงกบนา”
– ปฏิบัติการการผสมพันธุ์กบนาและการติดตามผลการเจริญของลูกอ๊อด
โครงการนี้มุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงกบนา เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างรายได้และอาชีพให้กับตนเอง ครอบครัว และชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564 – 2567 ด้าน “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน (Sustainability)” ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 1 การขจัดความยากจน และเป้าหมายที่ 15 การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทรศัพท์: 0-2218-0087
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทรศัพท์: 0-2218-5375
พิธีเปิดกิจกรรม Enrichment Program for CU รุ่นที่ 2 และกิจกรรมประเมินความสุข (CU Happiness)
มีนาคม - กรกฎาคม 2568
PMCU เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยประกวดออกแบบพื้นที่อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ ให้เป็นสวนแห่งความสุข ภายใต้แนวคิด CHULA FOR ALL
จุฬาฯ จับมือธนาคารออมสิน เปิดตัวโครงการ “GSB CED 2568” หนุนชุมชนท้องถิ่นพัฒนาสู่ความยั่งยืน
จุฬาฯ จัดการประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่สมาชิก กบข. สิทธิประโยชน์ที่ควรรู้
เชิญร่วมสัมมนาออนไลน์ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ มาตรฐาน CEFR
3 เม.ย. 68
โปรแกรม Zoom
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย Top ของประเทศ 34 สาขา จัดอันดับโดย QS University Rankings by Subject 2025
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้