รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
16 มิถุนายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน 2567 เวลา 06.00 – 07.30 น. ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย จัดงานวันโยคะสากล ครั้งที่ 10 ณ สนามหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้สาธารณชนได้มีโอกาสปฏิบัติโยคะร่วมกัน เป็นการส่งเสริมสุขภาพและจิตสำนึกต่อสังคม ตามหัวข้อหลักของปีนี้คือ “Yoga for Self and Society – โยคะเพื่อตนเองและสังคม”
งานวันโยคะสากลในครั้งนี้เริ่มตั้งแต่เวลา 05.00 น. ประชาชนจำนวนมากได้ทยอยเดินทางมาถึงบริเวณสถานที่จัดงาน เวลา 06.30 น. พิธีเปิดกิจกรรมโยคะสากล ครั้งที่ 10 โดยนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายนาเกช ซิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย และ รศ.ดร. ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันจุดประทีปเปิดงาน จากนั้นนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ได้กล่าวต้อนรับผู้มาร่วมงาน นายนาเกช ซิงห์ได้กล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับที่มาของวัตถุประสงค์ของงาน ตามด้วยการแสดงสาธิตอาสนะต่าง ๆ ของโยคะ ปิดท้ายโดยนายสัญชีพ จตุรเวทีและคณะได้นำผู้ร่วมงานทุกคนปฏิบัติโยคะเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วยการควบคุมลมหายใจ (ปราณายาม) และอาสนะโยคะพื้นฐาน สิ้นสุดกิจกรรมในเวลา 07.30 น. มีผู้เดินทางมาปฏิบัติโยคะในปีนี้ประมาณ 4,200 คน
การจัดงานวันโยคะสากลมีที่มาจากในปี 2558 องค์กรสหประชาชาติลงมติให้วันที่ 21 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันโยคะสากล เพื่อระลึกถึงโอกาสดังกล่าว นานาประเทศทั่วทุกมุมโลกจะจัดกิจกรรมปฏิบัติโยคะร่วมกันภายในช่วงกลางเดือนมิถุนายน สำหรับประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย จัดกิจกรรมโยคะสากลขึ้นเป็นครั้งแรก และประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นับตั้งแต่นั้นมาจึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหลายปี จนถึงปัจจุบันนับเป็นครั้งที่ 10 แล้ว
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
เปิดมิติใหม่ความร่วมมือ จุฬาฯ และ AFP ขยายโอกาสนิสิตไทยในวงการสื่อสารระดับโลก
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้