ข่าวสารจุฬาฯ

ศศินทร์อุ่นเครื่องรับสัปดาห์ผู้ประกอบการ “Sasin IEW” ชูเวทีแข่งขันและการประชุมสุดยอดระดับโลกครั้งแรกในเอเชีย                                     

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ  ศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดแถลงข่าวสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024: Sasin IEW ระหว่างวันที่ 19-23 มิถุนายน 2567 พร้อมเวทีแสดงวิสัยทัศน์จาก 4 ผู้เชี่ยวชาญ ชูกิจกรรมหลักระดับโลกในงาน ทั้งเวทีแข่งขันด้านธุรกิจระดับนิสิตนักศึกษา เสวนา และการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการเป็นผู้ประกอบการ GCEC “New Frontier: Bangkok Summit 2024” ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นครั้งแรกในทวีปเอเชีย

ในงานแถลงข่าวครั้งนี้นายดิเบียนดู โบส (Dibyendu Bose) รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและการพัฒนาของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ กล่าวว่า “Sasin IEW เป็นการรวมตัวกันของผู้ประกอบการ นักลงทุน นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย และประชาชนทั่วไปที่ต้องการผลักดันนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน” ด้านนายลาร์ส สเวนสัน (Lars Svensson) ผู้บริหารศูนย์จัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการแห่งศศินทร์ฯ กล่าวเสริมว่า “เป้าหมายของ Sasin IEW คือการจุดประกายการหารือพหุภาคีว่าด้วยบทบาทของผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวก ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ผสานกิจกรรมหลัก 3 อย่างในด้านการเป็นผู้ประกอบการเข้าไว้ด้วยกันภายใต้ปรัชญาของความยั่งยืน”นอกจากนี้ยังมีการประกาศความร่วมมือระหว่างศศินทร์กับ The Global Consortium of Entrepreneurship Centers (GCEC) และมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ

คุณดิเบียนดู โบส (Dibyendu Bose)
รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและการพัฒนาของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ

ในงานแถลงข่าวมีการเสวนาอุ่นเครื่องรับสัปดาห์ Sasin IEW โดยผู้เชี่ยวชาญ 4 ท่านในหัวข้อ “Thailand Showcase” ประกอบด้วย นายลาร์ส สเวนสัน  จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ  รศ.ภญ. ดร.จิตติมา ลัคนากุล ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิรัชกิจ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสุกิจ อุทินทุ ผู้อำนวยการคนแรกขององค์กรรัฐมนตรีศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน (SEAMEO SEPS) และคอลัมนิสต์ด้านความยั่งยืนของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ และนายวสุ ศรีวิภา หัวหน้าหน่วยวิเคราะห์ผลกระทบของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ และรองประธาน UN PRME Chapter ASEAN+ Chapter

คุณลาร์ส สเวนสัน  
จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ

        กิจกรรมหลักในสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024: SasinIEW ประกอบด้วย 

          1) การประชุม GCEC ครั้งแรกในทวีปเอเชีย ในหัวข้อNew Frontier: Bangkok Summit 2024” สะท้อนแนวคิด “Inclusive Entrepreneurship Driving Impact” 

          2) การแข่งขัน Bangkok Business Challenge 2024 (BBC 2024) ซึ่งเป็นการแข่งขันสตาร์ทอัพระดับนิสิตนักศึกษาระดับโลกที่จัดโดยสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ และเป็นการแข่งขันโครงการธุรกิจที่จัดต่อเนื่องกันยาวนานที่สุดในเอเชีย  

          3) การแข่งขัน Family Enterprise Case Competition – Asia Pacific 2024 (FECC-AP 2024) เพื่อเฟ้นหากลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ตีโจทย์ธุรกิจครอบครัวได้ยอดเยี่ยมและวิเคราะห์กลยุทธ์ได้ดีที่สุด  ผู้ชนะจะได้เข้าร่วมการแข่งขันแผนธุรกิจระดับโลก ที่สหรัฐอเมริกา ในเดือนมกราคมปีหน้า โดยศศินทร์ซึ่งครองตำแหน่งแชมป์โลกในปัจจุบันได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนี้เป็นครั้งแรกในเอเชีย

คุณมีชัย วีระไวทยะ จากมูลนิธิมีชัย วีระไวทยะ
บรรยากาศงานเสวนา

นอกจากนี้ ยังมีการจัดเสวนาอีก 3  หัวข้อ ประกอบด้วย

– “Driving Inclusive Entrepreneurship Ecosystems for Impact: Journey to Success”  เป็นการสำรวจกลยุทธ์ความร่วมมือและความก้าวหน้าล่าสุดเกี่ยวกับระบบนิเวศนวัตกรรมสำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการทั้งในประเทศไทยและภูมิภาค ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยตัวแทนจาก Knowledge Exchange for Innovation (KX) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,  CMU STeP  จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ CU Innovation Hub  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วยสมาคมธุรกิจเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสถาบัน Aspen Network of Development Entrepreneurs (ANDE)

– “Navigating the Startup Path to Success: Insights from Investors and Enablers for Impact Entrepreneurs” เจาะลึกความท้าทายและจุดประกายแนวทางระดมทุนสำหรับสตาร์ทอัพและวิสาหกิจเพื่อสังคม เปิดพื้นที่ในการสร้างเครือข่ายให้กับสตาร์ทอัพน้องใหม่ พบปะนักลงทุน ร่วมฟังความเห็นของผู้ร่วมเสวนาจากหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการด้านสังคมและการเกษตร  โค้ชธุรกิจ  สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย  ศูนย์ Yunus Center AIT นักลงทุนอิสระ (angel investor) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)

“Redefining Values for Impact Entrepreneurship with the Sufficiency Economy Philosophy (SEP)” ดำเนินรายการโดยนายวสุ ศรีวิภา หัวหน้าหน่วยวิเคราะห์ผลกระทบแห่งสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ และรองประธาน UN PRME Chapter ASEAN+ Chapter ร่วมเสวนาโดยนายสุกิจ อุทินทุ อดีตผู้อำนวยการ SEAMEO SEPS และคอลัมนิสต์ของเดลินิวส์ และ มร.สตีฟ ยัง ประธานร่วมกิตติมศักดิ์ของศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการแห่งศศินทร์ การอภิปรายจะว่าด้วยแนวทางบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการอย่างสมดุลและครอบคลุม และสร้างผลกระทบเชิงบวกให้มากขึ้น

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024 (Sasin IEW) สามารถติดต่อขอลงทะเบียนร่วมงานและเข้าชมกิจกรรมหลักทั้งการแข่งขันแผนธุรกิจสตาร์ทอัป Bangkok Business Challenge: BBC การแข่งขันแก้ปัญหากรณีศึกษาธุรกิจครอบครัว  Family Enterprise Case Competition – Asia Pacific 2024: FECC และการประชุมสุดยอด GCEC New Frontier: Bangkok Summit 2024 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ     ศศินทร์ฯ โทร. 0-22218-4078 E-mail: sasinsec@sasin.edu

สามารถติดตามกิจกรรมที่น่าสนใจต่าง ๆ ได้ที่   www.facebook.com/sasinschoolofmanagement

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า