รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 มิถุนายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “How to Write a Winning Proposal” เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน บพข. เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 ณ ห้อง Chatrium Ballroom 1 โรงแรมชาเทรียม แกรนด์ กรุงเทพฯ
ศ.ดร.บัญชา พูลโภคา ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดีด้านงานพัฒนาวิจัย จุฬาฯ กล่าวว่า “การเขียนขอทุน บพข. มีการผสมผสานระหว่างงานวิชาการและการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยนักวิจัยจำเป็นต้องเรียนรู้การคำนวณมูลค่าทางการตลาดควบคู่ไปกับการทำงานวิจัย การอบรมในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักวิจัยรุ่นใหม่ และหวังว่านักวิจัยของเราจะเป็นกำลังสำคัญให้กับภาคเอกชนที่ต้องการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจ สามารถนำงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด”
ในช่วงแรกของกิจกรรม ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ที่ปรึกษาอาวุโสของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) อบรมเชิงปฏิบัติการในการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร ร่วมกับ รศ.ดร.ดวงหทัย เพ็ญตระกูล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ บนฐานข้อมูล Patentscope-WIPO และ Lens patent
ผศ.ดร.พงศกร พิชยดนย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บรรยายในหัวข้อ “Market Analysis and Feasibility” การวางแผนการตลาดในงานวิจัย โดยใช้เครื่องมือ TAM SAM SOM Analysis (Total Addressable Market, Serviceable Addressable Market, Serviceable Obtainable Market) เพื่อกำหนดทิศทางงานวิจัยให้สอดคล้องกับความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “How to Write a Winning Proposal” เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยให้จัดทำข้อเสนอโครงการที่ตรงกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สามารถต่อยอดไปสู่การขอรับการจัดสรรทุนประเภท Strategic Fund รวมถึงมีความรู้ความเข้าใจในการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.research.chula.ac.th/2024/06/how-to-write-a-winning-proposal-2/
ศศินทร์ เสริมทักษะนักลงทุนให้นิสิตด้วย TradingView
เชิญชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “แผนที่ประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ 2515”
23 กันยายน - 8 พฤศจิกายน 2567
ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิต โครงการ “MDCU Give Blood for All”
30 ก.ย. - 4 ต.ค. 67
ลานอเนกประสงค์ อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
นิสิต BBA จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลกจากการแข่งขัน ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมการประชุมมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย 2024: วิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน
SHECU จัดประชุมเครือข่ายความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 ชูแนวคิด Digital Transformation เพื่อยกระดับความปลอดภัยระดับประเทศ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้