รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มิถุนายน 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2567 ณ วังสระปทุม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษาวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ (IceCube) ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน – แมดิสัน (University of Wisconsin – Madison) โดย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
ทั้งนี้มีสถาบันการศึกษาอื่นๆ เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในการนี้ ศ.ดร.ประณัฐ โพธิยะราช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เข้าร่วมในพิธีลงนามครั้งนี้ด้วย
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการศึกษาวิจัยนิวทริโนไอซ์คิวบ์ครั้งนี้ จะเพิ่มความเข้มแข็งของความร่วมมือทางด้านฟิสิกส์ของนิวทริโน และส่งเสริมการดำเนินงานด้านวิศวกรรมขั้วโลก ระหว่าง 4 สถาบันในประเทศไทย ร่วมกับศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์อนุภาคไอซ์คิวบ์วิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังถือเป็นก้าวสำคัญสู่ความร่วมมือระยะยาวด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ นำมาซึ่งการวิจัยที่ล้ำสมัย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และส่งเสริมการฝึกฝนบุคลากรที่มีความสามารถสูงรุ่นต่อไปในประเทศไทย ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่าง 2 ประเทศ รวมทั้งจะเป็นเครื่องมือผลักดันให้เกิดการศึกษาวิจัยขั้นสูง โดยบูรณาการองค์ความรู้จากสหสาขาวิชาในการขับเคลื่อนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมกับพัฒนาขีดความสามารถให้แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ คณาจารย์ นักวิจัย และวิศวกร ได้มีโอกาสเรียนรู้และทำงานร่วมกัน ต่อยอดขยายขอบเขตความเข้าใจและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยิ่งขึ้นไป
ที่มา : เว็บไซต์ หน่วยราชการในพระองค์
https://www.royaloffice.th/royalnews/วันเสาร์-ที่-22-มิถุนายน-2567/
เว็บไซต์ news.ch7
https://news.ch7.com/detail/735361
ทีมนิสิตจุฬาฯ ชนะรางวัลจากโครงการ ‘BASF Young Voices for a Sustainable Future’ ด้วยผลงานนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของโกโก้
แพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุม APRU Global Health Conference 2024 เพื่อความเป็นเอกภาพระหว่างสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมผ่านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
พิธีมอบทุนการศึกษาธนาคาร SMBC ประจำปี 2566 แก่นิสิตจุฬาฯ
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เจ้าภาพการประชุมนานาชาติ APSA 2024 “New Era for Asian Cities”
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขัน Siriraj x MIT Hacking Medicine เป็นตัวแทนไปแข่งขัน Hackathon ระดับโลกที่ MIT สหรัฐอเมริกา
“หุ่นฝึกการเจาะเลือดและฉีดยาสุนัขที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ในรูปแบบโต้ตอบได้เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง” ผลงานคณะสัตวแพทย์ จุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองและประกาศนียบัตรจากงาน iENA 2024 ที่เยอรมนี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้