ข่าวสารจุฬาฯ

อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศ United Nations Public Service Awards (UNPSA) สาขานวัตกรรมการบริหารงานภาครัฐ ประจำปี 2024

อ.ดร.จตุวัฒน์ แสงสานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมวิจัย ได้รับรางวัลชนะเลิศ United Nations Public Service Awards (UNPSA) สาขานวัตกรรมการบริหารงานภาครัฐ (Innovation in Public Institutions) ประจำปี 2024 ในงาน United Nations Public Service Forum and Awards Ceremony ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2567 ณ ประเทศเกาหลีใต้ จากผลงานนวัตกรรม “การนำความรู้เชิงวิชาการสู่การปฏิบัติเพื่อการตอบสนองต่อการระบาด” (Academic Insight into Action for Pandemic Response)

              “การนำความรู้เชิงวิชาการสู่การปฏิบัติเพื่อการตอบสนองต่อการระบาด” เป็นนวัตกรรมจากความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภาครัฐ ในการติดตามการระบาดของโรคผ่านการตรวจน้ำเสียซึ่งจะมีส่วนในการรับมือกับโรคโควิด-19 คณะผู้วิจัยได้พัฒนากระบวนการระบาดวิทยาน้ำเสียที่ใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามการระบาด และช่วยในการศึกษาข้อมูลการเจ็บป่วยของประชากร รวมถึงผู้ติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการ กระบวนการนี้มีศักยภาพในการป้องกันล่วงหน้า และจัดสรรทรัพยากรในการป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลงานนี้แสดงให้เห็นถึงการนำความรู้จากภาคการศึกษามาประยุกต์ ใช้จริงให้เกิดประโยชน์กับชุมชน

             นวัตกรรมนี้เป็นการนำความรู้จากงานวิจัยมาใช้ร่วมกับมาตรการทางสาธารณสุขในการทำความเข้าใจการระบาดของโรค สามารถให้ข้อมูลในการติดตามการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสนับสนุนการป้องกันการระบาดของโรค องค์ความรู้นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโรคติดเชื้ออื่น ๆ ในระดับชาติและนานาชาติ และมีส่วนสำคัญในการช่วยปรับกระบวนการติดตามการระบาดของโรคจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยมาสู่การใช้งานได้จริง

             รางวัล UNPSA จัดตั้งขึ้นโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN Economic and Social Council) เป็นรางวัลระดับนานาชาติสำหรับความเป็นเลิศในการบริการสาธารณะ โดยมุ่งเน้นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างคุณประโยชน์บริการสาธารณะ นำไปสู่การบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองประชาชนได้ดีขึ้นทั่วโลก สอดคล้องกับวาระและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเลิศของงานวิจัยและนวัตกรรมจากประเทศไทย ที่สามารถแข่งขันบนเวทีระดับโลกได้อย่างทัดเทียม

       ความสำเร็จในครั้งนี้เป็นผลลัพธ์จากความทุ่มเท ความมุ่งมั่น และความร่วมมือของ อ.ดร.จตุวัฒน์ แสงสานนท์ และคณะวิจัยจากหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย อ. ดร.พญ.ณศมน วรรณลภากร และ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ขวัญรวี สิริกาญจน น.ส.มนทกานต์ ศรีสังข์ และ ศ.เกียรติคุณ ดร. ศกรณ์ มงคลสุข สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ผศ.ดร.สุรพงษ์ รัตนกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผศ.ดร.ประเสริฐ มากแก้ว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผศ.นพดล ปรีชา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย เป็นแรงบันดาลใจให้นักวิจัยรุ่นใหม่ มุ่งมั่นพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมต่อไป

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัล UNPSA ได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=3cGuzxlGdY8

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานของอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ

https://publicadministration.un.org/unpsa/database/Winners/2024-winners/Academic-Insight-into-Action-for-Pandemic-Response

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า