รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง “รู้จัก…เข้าใจ…แก้ไข Cyberbullying” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้อเนกประสงค์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อเผยแพร่ผลการสำรวจและบทวิเคราะห์จากโครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” ซึ่งคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินโครงการ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ และ ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะให้ข้อมูล ความรู้ ที่จะเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตของคนไทยอย่างสม่ำเสมอเรื่อยมา ปัญหาของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ เป็นปัญหาที่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจต่อบุคคลได้อย่างมาก ทั้งผู้ถูกกระทำ ผู้กระทำ รวมไปถึงผู้เห็นเหตุการณ์ด้วย คณะจิตวิทยาได้ศึกษาวิจัยโดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสังคมไทย และยังเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มุ่งเป็นผู้นำการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกด้วย ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการเสวนาครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์และความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเต็มที่ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม รองผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยว่า ยินดีอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมการเสวนาวิชาการที่จัดโดยคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โครงการนี้ได้มีการจัดทำคลิปวิดีโอให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Cyberbullying และการเสวนาวิชาการออนไลน์ รวมถึงการศึกษาวิจัยความชุกของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์และผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อในประเทศไทย การเสวนาครั้งนี้เป็นบทสรุปของการวิจัยดังกล่าวที่จะเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบและสร้างความตระหนักรู้ในสังคม ผมเชื่อมั่นว่าผู้เข้าร่วมทุกท่านจะได้รับข้อมูลและแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหา Cyberbullying อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมออนไลน์ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์
ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ หัวหน้าโครงการฯ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ กล่าวว่า การเสวนาในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จัก เข้าใจ Cyberbullying” ที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการสำรวจความชุกของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ และผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อในประเทศไทย เพื่อผลิตผลงานสื่อให้ความรู้และสื่อสร้างสรรค์ในเรื่องการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์หรือ Cyberbullying รวมถึงส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และแนวทางในการรับมือ Cyberbullying ในมิติของการดูแลสุขภาพจิต การเสวนานี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในเรื่อง Cyberbullying และข้อคิดเห็นต่างๆ ให้บุคคลในสังคมได้เกิดความตระหนักรู้ รวมทั้งให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับแนวทางการดูแลจิตใจหลังจากถูกกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพจิตสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อไป
ในงานมีการเสวนาโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ ร่วมแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางในการรับมือกับปัญหา Cyberbullying ประกอบด้วย
ดำเนินรายการโดย คุณรวีโรจน์ เลิศพิภพเมธา DJ คลื่น Eazy fm102.5
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ดำเนินโครงการ “Smarter Life by Psychology รู้จักเข้าใจ Cyberbullying” โดยมี ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการ และ ผศ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ รองคณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ เป็นรองหัวหน้าโครงการฯ จุดมุ่งหมายของโครงการมุ่งสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ในกลุ่มประชากรไทยที่ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในทุกกลุ่มอายุ เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการป้องกันปัญหาดังกล่าวในสังคมไทย โครงการนี้จะทำการสำรวจพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ และนำผลการสำรวจมาวิเคราะห์ในมุมมองของนักจิตวิทยา เพื่อนำเสนอผลการวิจัยสู่สาธารณะในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ และงานเสวนา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงปัญหานี้และสามารถหยุดพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง รวมทั้งยังให้ข้อมูลและแนวทางการดูแลจิตใจของเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความชุกของพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying) และผลกระทบทางจิตใจของเหยื่อในประเทศไทย ได้ที่ https://bit.ly/45UxJ4F
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือทางวิชาการกับ Tallinn University จัดกิจกรรม “Arts Talk”
จุฬาฯ จัดพิธีอธิการปติประทานการ เนื่องในโอกาสที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร เป็นอธิการบดีจุฬาฯ
นิสิตแพทย์จุฬาฯ ได้รับพระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ประจำปี 2567
จุฬาฯ เปิดยุทธการดับเบาหวาน ชูแพลตฟอร์ม “หวานน้อย” ช่วยคนไทยรอดเบาหวาน
“CU Blood: Dare to Give กล้าที่จะให้” ได้รับบริจาคโลหิตกว่า 900 ถุง บรรเทาปัญหาวิกฤตเลือดขาดแคลน
Chula Digital War Room เครือข่ายจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ ศูนย์กลางให้ข้อมูลเตือนภัยและสนับสนุนการจัดการอุทกภัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้