รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 กรกฎาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และพันธมิตรผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม แถลงการดำเนินโครงการ “จัดระเบียบสายสื่อสาร พื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง” ภายใต้แนวคิด “CU POWER OF TOGETHERNESS” เพิ่มเสถียรภาพการสื่อสาร ความปลอดภัย และส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยทัศนียภาพสวยงามให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ.ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน ผู้รักษาการรองอธิการบดี กล่าวถึงภาพรวมของโครงการ รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงนโยบายและความสำคัญของการจัดระเบียบสานสื่อสารในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง Samyan Smart City อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร ผู้รักษาการอธิการบดี จุฬาฯ เปิดเผยว่า ปัญหาสายสื่อสารรกรุงรังในพื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งด้านความสวยงามและความปลอดภัย สายสื่อสารที่ไม่เป็นระเบียบไม่เพียงแต่ทำให้ทัศนียภาพของพื้นที่ดูไม่น่ามองแล้ว แต่ยังสร้างความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุและอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ และส่งผลต่อเสถียรภาพของการใช้บริการอินเตอร์เน็ตภายในพื้นที่อีกด้วย ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเห็นความสําคัญของโครงการนี้ และได้เข้ามาดําเนินการ ภายใต้แนวคิด “CU POWER OF TOGETHERNESS” ซึ่งเป็นหลักการสําคัญที่เรายึดถือในการพัฒนามหาวิทยาลัยและพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ PMCU เรามีความตั้งใจที่จะสร้างความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ โครงการนี้เป็นก้าวแรกที่สําคัญในการพัฒนาย่านนี้ให้เป็น Thailand’s Street Food Representative แหล่งท่องเที่ยวระดับโลกที่ทุกคนต้องไม่พลาด
ศ. ดร.วิเลิศ กล่าวเพิ่มเติมว่าโครงการ“จัดระเบียบสายสื่อสาร พื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง” ในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มในการสร้างความสุขให้ชาวกรุงเทพมหานคร โครงการนี้ไม่เพียงแต่ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความสวยงามมากขึ้น เป็น Smart Happyness of Bangkok โครงการนี้ยังเป็นพลังในการสร้าง Soft Power ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยมีจุดเริ่มที่บรรทัดทอง สวนหลวง สามย่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานเขตปทุมวัน และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารที่พาดบนเสาไฟฟ้า บริเวณพื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง ครอบคลุมพื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง กว่า 600 ไร่ รองรับการใช้งานพื้นที่สามย่านสมาร์ทซิตี้ โดยจะดำเนินการตัดและรื้อถอนสายสื่อสารที่ไม่ใช้งานออกทั้งหมดโดย PMCU ได้เตรียมการมากกว่า 1 ปี ในการสร้างโครงข่ายใยแก้วนำแสงใหม่ โดยได้บริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างดำเนินการ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย และปัจจุบันการติดตั้งโครงข่ายใยแก้วนำแสงเสร็จสมบูรณ์พร้อมให้บริการแล้ว ซึ่ง PMCU ได้ให้สิทธิ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารจัดการการใช้โครงข่ายเป็นเวลา 10 ปี
นอกจากนี้ PMCU ยังได้เตรียมการที่จะร่วมกับกรุงเทพมหานครในการปรับปรุงงานกายภาพ สาธารณูปโภคอื่น ๆ ในพื้นที่สามย่าน-บรรทัดทอง-สวนหลวง อย่างต่อเนื่อง อาทิ ทางเดินเท้า ไฟส่องสว่าง การจัดการขยะเศษอาหาร จุดรับส่งอาหาร การบำบัดน้ำทิ้งน้ำเสียในคลองสวนหลวง เพื่อส่งเสริมให้พื้นที่บรรทัดทองมีทัศนียภาพที่ดีสวยงามสะอาดตาและเป็นจุดหมายที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกจะต้องปักหมุดเช็คอินอีกที่หนึ่งในฐานะแลนด์มาร์คแห่งการท่องเที่ยวสำคัญกลางกรุงเทพฯที่ต้องมาเยือน
ในโอกาสนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมาร่วมงานตัดสายสื่อสารบริเวณถนนบรรทัดทองด้วย กล่าวว่า โครงการนี้ต้องขอขอบคุณ PMCU ที่ให้ความสำคัญกับงานกายภาพและระบบสาธารณูปโภคที่มีการปรับปรุง และร่วมพัฒนาย่านเศรษฐกิจที่สำคัญ และสิ่งสำคัญคือ คำนึงถึงผู้มาใช้บริการ รวมถึงผู้อยู่อาศัยในชุมชนแห่งนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีและมีความยั่งยืน ถนนบรรทัดทองเป็นถนนสายสำคัญของกรุงเทพมหานครเป็นย่านเศรษฐกิจการค้าที่มีนักท่องเที่ยวและมีผู้ใช้บริการมาเยี่ยมเยือนจำนวนมากในแต่ละวัน กทม. ยินดีสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมย่านนี้ให้ดียิ่งขึ้น ให้เป็นย่านที่เดินได้ เดินดี มีความปลอดภัย แสงสว่างเพียงพอ และมีทัศนียภาพที่สวยงาม โดยถนนบรรทัดทอง กทม. มีนโยบายปรับปรุงทางเท้าอยู่แล้ว จึงถือโอกาสบูรณาการร่วมกันในจัดระเบียบสายสื่อสารด้วย
โครงการจัดระเบียบสายสื่อสาร เป็นหนึ่งในนโยบายของท่านผู้ว่าฯ ที่ กทม. ให้ความสำคัญและได้ผลักดัน โดยในปี 2567 นี้ กฟน. และหน่วยงานภาคี มีแผนนำสายสื่อสารลงใต้ดิน จำนวน 27 เส้นทาง ระยะทางรวมกว่า 54.6 กิโลเมตร และยังจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย จำนวน 122 เส้นทาง รวมระยะทางกว่า 269.6 กิโลเมตร
ปัจจัยผลกระทบต่อรายได้และการเติบโต ธุรกิจ Education Technology (EdTech) ในประเทศไทย
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย อดีตอาจารย์คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ “Friend of Thai Science 2024”
เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เจ้าภาพจัดงานประชุมระดับโลก AASLE 2024 ครั้งแรกในไทย รวมนักเศรษฐศาสตร์แรงงานจากทั่วโลกร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนอผลงานวิจัย
สัมมนาเรื่อง EDCs สารเคมีที่ส่งผลต่อสุขภาพและระบบนิเวศ
“Nifty Elderly: ของเล่นของแต่งบ้านเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์เด็กเล็กและผู้สูงวัย”ผลงานอาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองการประกวดนวัตกรรมที่ฮ่องกง
อาจารย์คณะครุศาสตร์ – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ และนักเรียนสาธิตจุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองจากการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ KIDE 2024 ที่ไต้หวัน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้